ปัญหาของปัญญาชนคนมีการศึกษา ไม่ได้อยู่ที่ว่าเรายังรู้ไม่บริบูรณ์
แต่อยู่ที่ว่า สิ่งที่เรารู้อยู่นั้นมันใช่อย่างนั้นที่ไหนกันโดย ‘นิว’แดง ใบเล่
เป็นงง!
ชื่อบทความนี้ เขียนเองแล้วก็งงเอง...
ใช้ชื่อเสียยืดยาวถ้าเรียกสั้น ๆ ได้ความรู้สึกตรง ๆ ว่าบทความชื่อ “เป็นงง!” ก็น่าจะเย็นสุด ๆ (cool)แล้ว ทำไมลำบากลำบนทำตัวเองให้ยาก และทำให้ท่านผู้อ่านเสียสายตาอ่านยาวเฟื้อยตั้งขนาดนั้น แต่จะอย่างไรก็ดี ผู้เขียนก็ไม่วายรู้สึกนึกอิจฉาท่านผู้อ่าน ที่ท่านไม่ต้องนั่งลงเขียนบทความที่มีชื่อเยิ่นเย้อเรี่ยราดเรื่องนี้ด้วยตัวของท่านเอง ทว่ากลับมีคนเขียนให้อ่านแทนอยู่ในนิตยสารเอ็มบีเอ ช่างน่าอิจฉาริษยาตาร้อนอะไรเช่นนั้น
genius invents…
wisdom recalls…ท่านว่าไว้อย่างนั้น
เราลองทบทวนและช่วยกันคิดอย่างอิสระพิจารณาหาเหตุผลว่า ทั้ง ๆ ที่มันใช่อย่างนั้นที่ไหนกัน แต่เหตุใดพวกเขา(ซึ่งที่จริงก็คือพวกเรา)เชื่องมงายกับสิ่งที่เชื่อไปนั้น? เราเชื่อกันด้วยเหตุผลกลใด? ปริศนาของสฟิงซ์ปริศนานี้เหนี่ยวนำคำตอบแตกอยู่ในรูปคำถามสองคำถามว่า “ก็เรื่องมันแบบว่าโคดโดนอ่ะ มันเย็นสุด ๆ (cool)น่าหลงลมอ่ะ เป็นเช่นนั้นหรือเปล่า?” และอีกคำถามหนึ่งว่า “พ่อแม่รังแกฉัน ไม่สอนให้ฉันมีจิตอิสระรู้จักคิดพิจารณา เป็นเช่นนั้นหรือเปล่า?” จิตอิสระรู้จักคิดพิจารณา ผู้เขียนแปลอย่างลำลองมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า l’esprit critique หรือภาษาอังกฤษว่า critical thinking ซึ่งทั้งปรัชญาตะวันตกและตะวันออกถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนมีปัญญา อันที่จริงนั้นตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีอยู่ทุกอาณาปริมณฑลของสิ่งที่เรารู้ ตั้งแต่เรื่องกามารมณ์ถึงการเมือง แต่ผู้เขียนจะลองยกตัวอย่างในบริบทร่วมสมัยเกี่ยวกับ “สิ่งที่เรารู้อยู่นั้นมันใช่อย่างนั้นที่ไหนกัน” สักสองสามกรณีพอเป็นอุทาหรณ์
แต่อยู่ที่ว่า สิ่งที่เรารู้อยู่นั้นมันใช่อย่างนั้นที่ไหนกันโดย ‘นิว’แดง ใบเล่
เป็นงง!
ชื่อบทความนี้ เขียนเองแล้วก็งงเอง...
ใช้ชื่อเสียยืดยาวถ้าเรียกสั้น ๆ ได้ความรู้สึกตรง ๆ ว่าบทความชื่อ “เป็นงง!” ก็น่าจะเย็นสุด ๆ (cool)แล้ว ทำไมลำบากลำบนทำตัวเองให้ยาก และทำให้ท่านผู้อ่านเสียสายตาอ่านยาวเฟื้อยตั้งขนาดนั้น แต่จะอย่างไรก็ดี ผู้เขียนก็ไม่วายรู้สึกนึกอิจฉาท่านผู้อ่าน ที่ท่านไม่ต้องนั่งลงเขียนบทความที่มีชื่อเยิ่นเย้อเรี่ยราดเรื่องนี้ด้วยตัวของท่านเอง ทว่ากลับมีคนเขียนให้อ่านแทนอยู่ในนิตยสารเอ็มบีเอ ช่างน่าอิจฉาริษยาตาร้อนอะไรเช่นนั้น
genius invents…
wisdom recalls…ท่านว่าไว้อย่างนั้น
เราลองทบทวนและช่วยกันคิดอย่างอิสระพิจารณาหาเหตุผลว่า ทั้ง ๆ ที่มันใช่อย่างนั้นที่ไหนกัน แต่เหตุใดพวกเขา(ซึ่งที่จริงก็คือพวกเรา)เชื่องมงายกับสิ่งที่เชื่อไปนั้น? เราเชื่อกันด้วยเหตุผลกลใด? ปริศนาของสฟิงซ์ปริศนานี้เหนี่ยวนำคำตอบแตกอยู่ในรูปคำถามสองคำถามว่า “ก็เรื่องมันแบบว่าโคดโดนอ่ะ มันเย็นสุด ๆ (cool)น่าหลงลมอ่ะ เป็นเช่นนั้นหรือเปล่า?” และอีกคำถามหนึ่งว่า “พ่อแม่รังแกฉัน ไม่สอนให้ฉันมีจิตอิสระรู้จักคิดพิจารณา เป็นเช่นนั้นหรือเปล่า?” จิตอิสระรู้จักคิดพิจารณา ผู้เขียนแปลอย่างลำลองมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า l’esprit critique หรือภาษาอังกฤษว่า critical thinking ซึ่งทั้งปรัชญาตะวันตกและตะวันออกถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนมีปัญญา อันที่จริงนั้นตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีอยู่ทุกอาณาปริมณฑลของสิ่งที่เรารู้ ตั้งแต่เรื่องกามารมณ์ถึงการเมือง แต่ผู้เขียนจะลองยกตัวอย่างในบริบทร่วมสมัยเกี่ยวกับ “สิ่งที่เรารู้อยู่นั้นมันใช่อย่างนั้นที่ไหนกัน” สักสองสามกรณีพอเป็นอุทาหรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น