ทำไมข่าวร้ายเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
ทำให้เราตกอยู่ใน “ป.ส.ด. โหมด” ด้วยเล่า?โดย ‘นิว’ แดง ใบเล่
นั่นน่ะซี ทำไมล่ะ? ทำไมข่าวร้ายเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจทำให้เราตกอยู่ใน “ป.ส.ด.โหมด” ด้วยเล่า? ทั้ง ๆ ที่พวกเราหลาย ๆ คนโดยเฉพาะบรรดาท่านผู้อ่านนิตยสารเอ็มบีเอทั้งหลาย ถ้าจะว่ากันจริง ๆ ก็ยากจนกันซะเมื่อไหร่...
ก่อนอื่น เรื่องนี้เห็นทีจะต้องกลับไปปรึกษาท่านอาจารย์ใหญ่ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ ซึ่งหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจเล่มหนึ่งชื่อ “เล่าเรื่องเศรษฐกิจภาพรวม-เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์” ฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุดคือการพิมพ์ครั้งที่สี่ หน้า144-153 ในประเด็นที่ว่าด้วยเรื่อง Liquidity Preference หรือความต้องการสภาพคล่องของคนเรา หรือพูดภาษาที่สามัญมนุษย์ฟังรู้เรื่องว่า “ความต้องการถือเงินสด” หนังสือเล่มนั้นเล่าไว้ว่าตามแนวคิดเศรษฐกิจของเคนส์แล้ว ท่านชี้ประเด็นความต้องการถือเงินสดไว้สามประการคือ ประการที่ 1. คนถือเงินไว้เพื่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประการที่ 2. เพื่อเหตุไม่คาดฝัน ประการที่ 3. เพื่อเสี่ยงโชคและเก็งกำไร
ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยที่ในเบื้องลึกแห่งความคิดความอ่าน เคนส์ได้ตีกรรเชียงความเห็นเกี่ยวกับเงิน เบนห่างออกจากความคิดเศรษฐศาสตร์คลาสสิค(--พูดให้เท่ห์...แต่ที่จริงก็หมายความเพียงว่า ความคิดเห็นรุ่นก่อนหน้าเคนส์) ที่เคยเห็นกันก่อนหน้านั้นว่าเงินไม่ได้มีบทบาทอะไรมากไปกว่าการทำหน้าที่สื่อกลางแห่งการแลกเปลี่ยนให้แก่มนุษย์และสังคมมนุษย์ แต่เคนส์ได้ตีจากความเห็นดังกล่าวออกมา เพราะท่านีเห็นว่า เงินมีฤทธิ์เดช-ที่เราสามารถปฏิบัติจัดการเสกเป่ากับมันได้ เพื่อประโยชน์ในการก่อให้เกิดการว่าจ้างขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจที่กำลังประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งนี้เพราะว่าการ “กระตุ้น” เศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมจริง ๆ ก็คือการหากิจกรรมให้คนทำ เพราะเศรษฐกิจจะดีขึ้นก็ต่อเมื่อคนทั้งหลายในระบบเศรษฐกิจ มีกิจกรรมทำกันโดยถ้วนหน้าและมีรายได้จากกิจกรรมทั้งหลายเหล่านั้น
ทำให้เราตกอยู่ใน “ป.ส.ด. โหมด” ด้วยเล่า?โดย ‘นิว’ แดง ใบเล่
นั่นน่ะซี ทำไมล่ะ? ทำไมข่าวร้ายเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจทำให้เราตกอยู่ใน “ป.ส.ด.โหมด” ด้วยเล่า? ทั้ง ๆ ที่พวกเราหลาย ๆ คนโดยเฉพาะบรรดาท่านผู้อ่านนิตยสารเอ็มบีเอทั้งหลาย ถ้าจะว่ากันจริง ๆ ก็ยากจนกันซะเมื่อไหร่...
ก่อนอื่น เรื่องนี้เห็นทีจะต้องกลับไปปรึกษาท่านอาจารย์ใหญ่ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ ซึ่งหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจเล่มหนึ่งชื่อ “เล่าเรื่องเศรษฐกิจภาพรวม-เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์” ฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุดคือการพิมพ์ครั้งที่สี่ หน้า144-153 ในประเด็นที่ว่าด้วยเรื่อง Liquidity Preference หรือความต้องการสภาพคล่องของคนเรา หรือพูดภาษาที่สามัญมนุษย์ฟังรู้เรื่องว่า “ความต้องการถือเงินสด” หนังสือเล่มนั้นเล่าไว้ว่าตามแนวคิดเศรษฐกิจของเคนส์แล้ว ท่านชี้ประเด็นความต้องการถือเงินสดไว้สามประการคือ ประการที่ 1. คนถือเงินไว้เพื่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประการที่ 2. เพื่อเหตุไม่คาดฝัน ประการที่ 3. เพื่อเสี่ยงโชคและเก็งกำไร
ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยที่ในเบื้องลึกแห่งความคิดความอ่าน เคนส์ได้ตีกรรเชียงความเห็นเกี่ยวกับเงิน เบนห่างออกจากความคิดเศรษฐศาสตร์คลาสสิค(--พูดให้เท่ห์...แต่ที่จริงก็หมายความเพียงว่า ความคิดเห็นรุ่นก่อนหน้าเคนส์) ที่เคยเห็นกันก่อนหน้านั้นว่าเงินไม่ได้มีบทบาทอะไรมากไปกว่าการทำหน้าที่สื่อกลางแห่งการแลกเปลี่ยนให้แก่มนุษย์และสังคมมนุษย์ แต่เคนส์ได้ตีจากความเห็นดังกล่าวออกมา เพราะท่านีเห็นว่า เงินมีฤทธิ์เดช-ที่เราสามารถปฏิบัติจัดการเสกเป่ากับมันได้ เพื่อประโยชน์ในการก่อให้เกิดการว่าจ้างขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจที่กำลังประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งนี้เพราะว่าการ “กระตุ้น” เศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมจริง ๆ ก็คือการหากิจกรรมให้คนทำ เพราะเศรษฐกิจจะดีขึ้นก็ต่อเมื่อคนทั้งหลายในระบบเศรษฐกิจ มีกิจกรรมทำกันโดยถ้วนหน้าและมีรายได้จากกิจกรรมทั้งหลายเหล่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น