"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ลอบสังหาร นักการเมืองสตรีเอเชีย-นางสาว จันทริกา กุมาระตุงคะ The murder of woman politicians in Asia (จันทริกาตอน 2/2)

ลอบสังหาร นักการเมืองสตรีเอเชีย-จันทริกา กุมาระตุงคะ อดีตประธานาธิบดี ศรีลังกา
The murder of woman politicians in Asia (ตอน 2/2)
โดนระเบิดพลีชีพ แบบเรียลลิตี้ ทีวี รอดตาย แต่เสียตาข้างขวา

ณ บัดนี้ เราตระหนักแล้วว่า ถ้ามองจากฝ่ายคนสิงหลข้างเดียว ไม่ยอมรับรู้ความเป็นมาของปัญหา ด้านคนทมิฬเสียเลย ทำให้เราตอบคำถามไม่ได้ว่า ทำไมจันทริกาถูกปองร้ายถึงชีวิต

แนะนำทมิฬ สองสามคำ

การมองทมิฬ เราก็ต้องเดินถนนพระราม และว่ายน้ำข้ามฟากจากเกาะลังกา ไปมองมาจากประเทศอินเดีย คนทมิฬมีพื้นเพอยู่ทางใต้ของอินเดีย คือ ตั้งแต่เมืองมัทราส หรือเชนไน ลงมา ผู้คนในพื้นที่นี้เคลื่อนไหวยืนยันเอกลักษณ์ของตนเอง มาตั้งแต่อินเดียยังอยู่ใต้อำนาจอังกฤษ เมื่ออินเดียเป็นอิสระแล้ว คนทมิฬก็ได้รณรงค์ขอตั้ง รัฐ “ทมิฬ นาดู” แปลว่า ดินแดนทมิฬ หรือ เมืองทมิฬ ขึ้นเป็นผลสำเร็จเมื่อพ.ศ. 2512 มีพื้นที่ประมาณภาคอีสาน หักด้วยจังหวัดนครราชสีมา คือ 130,000 ตารางกิโลเมตร

วันเสาร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ชะตากรรมนักการเมืองสตรีเอเชีย ที่ถูกลอบสังหาร -นางสาว จันทริกา กุมาระตุงคะ (จันทริกาตอน 1/2) The murder of Asian women politicians: case of Jandarika

นางสาว จันทริกา กุมาระตุงคะ
อดีตประธานาธิบดีศรีลังกา รอดตาย แต่เสียตาข้างขวา

“ซิ อ็อง โป” ที่ปารีส สถาบันศึกษาการเมือง มีชื่อของฝรั่งเศส กับเวลาหลายปีที่นั่น ทำให้ จันทริกา กุมาระตุงคะ คล่องแคล่วทั้งภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ และสิงหล เธอเป็นนักศึกษาต่างชาติผู้หนึ่ง ที่มีประสบการณ์จริงจัง กับขบวนการนักเรียนนักศึกษา ระหว่างที่ฝรั่งเศสเกิดขบถนักเรียน ปี 1968

จบจาก “ซิ อ็อง โป” แล้วเข้าเรียนปริญญาเอก สาขาพัฒนาการเศรษฐกิจ ที่มหาวิทยาลัยปารีส จันทริกา พักการศึกษาเดินทางกลับลังกา ทำงานเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ต่อมา ระหว่างที่คุณแม่เป็นนายกรัฐมนตรีรอบที่สอง และกำลังปฏิรูปประเทศและเศรษฐกิจ จันทริกา เข้าทำงานการเมืองเต็มตัว คุณพ่อของเธอ นายพันธระไนยเก บางทีเขียนภาษาไทยว่า บันดาราไนเก ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สี่ของลังกา ถูกภิกษุ-คนสิงหล-รูปหนึ่งลอบสังหาร

วันพฤหัสบดีที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ผลการเลือกตั้ง ครั้งประทับใจในอดีต (ตอนที่ 2/2) impression of a French presidential election

ผลการเลือกตั้ง ครั้งประทับใจในอดีต

ตอนที่ 2/2 an impression of a French presidential election
โดย ปรีชา ทิวะหุต

ผลการเลือกตั้งที่ประทับใจอีกครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดขึ้นหลังจากครั้งแรกหลายปี ในโอกาสที่ปะเหมาะได้ใช้ชีวิตนักเรียนอีกรอบ โดยเดินทางไปเป็นนักเรียนที่ฝรั่งเศส ก็เลยมีผลพลอยได้เป็นการท่องเที่ยวทางการเมืองอีกรูปแบบหนึ่ง การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสครั้งนั้น แข่งขันกันระหว่างพรรคแอเปแอ อันเป็นพรรครวมพลคนนิยมอดีตประธานาธิบดี ชาร์ล เดอโกล และพรรคนี้ได้ส่ง นายฌาค ชีรัค เข้าประกวด เพื่อประชันกับพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส หรือสั้น ๆ ว่า พรรคเปแอสแอฟ(PSF) มีฟร็องซัวส์ มิตแตรังด์ เป็นผู้ลงสมัคร

ที่โรงอาหารมหาวิทยาลัย ปีนั้นช่วงฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย ๆ เพื่อนฝรั่งเศสบอกกับผู้เขียนว่า ให้ติดตามการเมืองฝรั่งเศส ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งให้ดี จะสนุกกว่าการเมืองอเมริกันมาก เขาว่าอย่างนั้น เทียบกันไม่ได้หรอก เขาย้ำว่า “Tu vas voir.” (แล้วเอ็ง จะเห็นเอง) คำว่า “ตู” เป็นสรรพนามบุรุษที่สอง ใช้กับเพื่อนฝูง หรือญาติสนิท

แม้ผู้เขียนจะเชื่อกาลามสูตร เพราะได้รับการอบรมสั่งสอนมาอย่างนั้น และเพราะโดนต้มมาเยอะ ซึ่งหมายความว่า ตัวเองก็เคยต้มคนอื่นเหมือนกัน แต่ก็พยักหน้ารับคำ ว่าจะติดตาม ทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ระหว่างช่วงปีแรกของชีวิตในฝรั่งเศส สิ่งแวดล้อมทุกสิ้งทุกอย่างยังใหม่มากและใหม่หมด แต่การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในฤดูโลต็น –l’automne - ฤดูใบไม้ร่วงปีนั้น ก็ช่วยให้ผู้เขียน เข้าใจแง่มุมการเมืองเชิงปฏิบัติของฝรั่งเศส ได้ไวขึ้น ดีกว่าที่จะศึกษายามปกติ เพราะว่าข้อมูลข่าวสารมีพร้อม ประดังกันมารอบด้าน ไม่ต้องไปค้นคว้าแสวงหา นอกจากนั้นเหตุแห่งความประทับใจอีกเหตุหนึ่ง ก็คือ เพราะว่าเป็นระบบการเมืองใหม่อีกแบบหนึ่ง ที่ผิดไปจากระบบอเมริกัน ผู้เขียนจึงต้องเรียนรู้ใหม่ ทำความเข้าใจกันใหม่ พูดภาษาประสาทวิทยาสมัยนี้ ท่านบอกว่า ต้องปรับวงจรเซลสมอง หรือ นู-ร็อน เสียใหม่ เป็นการ re-wire ซึ่งในความเป็นจริง กว่าที่ผู้เขียนปรับแยกวงจรนู-ร็อน เด็ดขาดเป็นสองวงจร คือวงจรภาษาอังกฤษวงจรหนึ่ง แยกกันเด็ดขาดกับวงจรภาษาฝรั่งเศส ผู้เขียนต้องใช้เวลาถึงสองปี ซึ่งเมื่อปรับเรียบร้อย เห็นคำว่า address ก็จะดีดอัตโนมัติไปเข้าวงจรอังกฤษ แต่ถ้าเห็น adresse ก็จะดีดเข้าวงจรฝรั่งเศส เป็นต้น

วันพุธที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ผลการเลือกตั้ง ครั้งประทับใจในอดีต (ตอนที่ 1/2) impression of an American presidential election

โดย ปรีชา ทิวะหุต
[writing about my first hand impression of an American presidential election]

นอกจากคนเราจะเที่ยวเชิงอนุรักษ์แล้ว การท่องเที่ยวเชิงการเมืองก็เป็นไปได้ ผู้เขียนถือเอาเองว่า เคยผ่านการท่องเที่ยวเชิงการเมืองฤดูเลือกตั้ง ที่เป็นครั้งประทับใจมาสองครั้ง จดจำความรู้สึกในแวดวงมิตรสหาย และจำทิวทัศน์ภูมิประเทศการเมืองที่ไปท่องเที่ยวมา ได้ติดตาติดใจจนบัดนี้

ท่องเที่ยวเชิงการเมืองฤดูเลือกตั้งครั้งแรก ที่ตัวเองรู้สึกเกี่ยวข้องและตั้งใจติดตาม ได้แก่การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกัน เพื่อวาระที่สองของประธานาธิบดีนิกสัน พรรครีพับบลิกัน โดยมีคู่แข่งคือวุฒิสมาชิก จอร์จ แมคโกเวอร์น จากพรรคดีโมแครต