"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันจันทร์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ภารตะ รัตนะ

ภารตะ รัตนะ   โดย ‘นิว’ แดง ใบเล่


 
เรื่องเกิดเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน...คงจะนานพอที่จะนำมาเขียนได้แล้วนะครับ?

นับได้ยี่สิบปีกว่ามาแล้ว ในฉบับเดือนกรกฎาคมปี 1987 ในหน้าเทคโนโลยี นิตยสารฟอร์บ ได้ตีพิมพ์บทความสรรเสริญภาษาสันสกฤตไว้ในทำนองที่ว่า สันสกฤตนั้นคือสุดยอดของภาษามนุษย์ และเป็นภาษาที่เหมาะที่สุดที่จะใช้กับคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (Forbes magazine, July 1987)

ข้อเท็จจริงรับรู้กันอยู่ในหมู่ผู้สนใจภาษาโบราณว่า สันสกฤตลึกซึ้งและวิจิตรพิสดารกว่าทั้งภาษากรีกโบราณและละติน ประเด็นเรื่องนี้เป็นที่จำนน เป็นที่ยุติ เป็นที่ยอมรับ และเป็นที่เลิกเถียงกันถ้วนหน้าแล้วในหมู่นักศึกษาภาษาเช่น Noam Chomsky เป็นต้น แต่ว่า การที่สันสกฤตได้รับการยกย่องในโลกคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเรื่องใหม่ครับ เป็นวาระดิจิทัลอันทันสมัยและเป็นปัจจุบัน ซึ่งทำให้ผู้ที่ตกยุคหลงสมัยประเภทโทรศัพท์มือถือตกรุ่น ต้องเกาศีรษะแกรก ๆ เหมือนสังคังกินมิได้เป็นรังแคธรรมดา ประหลาดใจและยังอึ้งอยู่ว่าสันสกฤต “แซงระบบบัตรคิว” ขึ้นมาทันสมัยอยู่แนวหน้า ได้งัย?


บทความที่เผยแพร่ในนิตยสารฟอร์บเมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้วนั้น จะเท็จจริงอย่างไรผู้เขียนไม่ได้ยึดถือจริงจังนัก แต่ว่าบทความนั้นก็ได้สร้างความปลื้มใจเพิ่มขึ้น จากที่ปกติก็ปลื้มกันอยู่แล้วในหมู่นักเรียนสันสกฤตตลอดจนนักเรียนภาษาอื่นอันเนื่องอยู่กับสันสกฤต ระบบอักขระเทวะนาครีที่ใช้เขียนสันสกฤต ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าพระผู้เป็นเจ้าโปรดให้พระพิฆเนศใช้อักขระนี้จารคัมภีร์พระเวท ถือกันว่าเป็นระบบอักขระที่ “เสถียร” ที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จักคิดค้นขึ้นมาใช้ การที่มีผู้รู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะท่านผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ artifitial intelligence(AI) เห็นว่าสันสกฤตเหมาะกับคอมพิวเตอร์ ส่งสัญญาณให้ตีความกันต่อไปได้ว่า สันสกฤตเหมาะกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมของมนุษย์ อันได้แก่วิทยาศาสตร์ดิจิทัลและเทคโนโลยีนาโน แล้วถ้าเราจะกระโจนเข้าสู่ข้อสรุปเลยว่า สันสกฤตก็น่าที่จะเป็นภาษาแห่งศตวรรษที่ 21 จะมีใครว่าเราเห่อมั๊ยเนี่ยะ?

ชักไม่ใคร่มั่นใจตัวเอง!


ใครจะว่าเราเปล่าเนี่ย? เพราะว่าอินเดียได้รับเครดิตไปมากแล้ว สมัยนี้นั้นใคร ๆ ก็รู้ว่าวิชาตรีโกณมิติ พีชคณิต และแคลคูลัส ล้วนกำเนิดขึ้นในอินเดีย เลขทศนิยมเกิดในอินเดียราว ๆ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช และใคร ๆ ก็รู้ว่าหมากรุกก็เกิดในอินเดีย และแถมใคร ๆ ก็ทราบว่าอายุรเวทนั้นเป็นศาสตร์แห่งการรักษาพยาบาลที่ศึกษากันเจนจบและใช้กันอย่างกว้างขวางในอินเดียมาอย่างน้อย ๆ ก็ประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว การเลี้ยงไก่ก็เกิดขึ้นในอินเดียก่อนเพื่อน ส่วนเคนตั๊กกี้ ฟรายชิคเคนส์ มาทีหลังเยอะมากเลย ครับแพ่!


นี่ยังไม่นับการทำสมาธิ วิปัสสนา ตลอดจนความคิดความเชื่อมากหลายรวมทั้งกฎหมายพระมนู วรรณคดี วรรณกรรมและนาฏกรรม โธ่...คอหนังตะลุงพันธุ์แท้ทราบอยู่ว่าตัวหนังตะลุงรูป “ตาฤษี” ที่ปักหน้าจอระหว่างโหมโรงก่อนจะเล่นหนังนั้น จะเป็นใครที่ไหนกันถ้าไม่ใช่ “ภารัต มุนี” ผู้วางหลักนาฏยศาสตร์ไว้เมื่อประมาณช่วงหลังพุทธกาลไม่นาน ท่านคือบรมครูของศิลปะการแสดงในชมพูทวีปและอุษาคเณย์(Southeast Asia) แล้วมนุษย์ดิจิทัลพันธุ์แท้ที่ไหนจะไม่ตระหนัก ว่าเวลานี้อินเดียส่งออกซอฟต์แวร์ไปขายยังประเทศต่าง ๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลก


เรื่องอื่นขาดตกบกพร่องได้ไม่ว่ากัน แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งเราไม่น่าจะลืมเลยเป็นอันขาด มรดกชมพูทวีปที่เราจะลืมเสียมิได้นั้น...ขอถามว่าเรื่องอะไรเอ่ย? ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านไม่ตอบทันควันว่า “กามสูตร!” แสดงว่าท่านผู้อ่านท่านนั้นอาจจะผิดปกติทางเพศเอามาก ๆ มรดกภารตะเรื่องนี้มีชื่อเสียงในระดับ


แรกรักแรงราคร้อน    รนสมร

ยงยิ่งเปลวไฟฟอน    หมื่นไหม้


มันดังเสียจนสะท้านโลก และก้องไปทั้งสุริยะจักรวาล ในสไตล์...


     สะเทือนฟ้าฟื้นลั่น    สรวงสวรรค์

พื้นแผ่นดินแดยัน          หย่อนไสร้

สาครคลื่นอึงอรร          ณพเฟื่อง ฟองนา

แลทั่วทิศไม้ไหล้           โยกเยื้องอัศจรรย์


ใครก็ตามที่เคยใช้ยาไวอากรา แต่ยังไม่เคยได้ยินชื่อตำรากามสูตร มีมั่งเปล่า? โปรดรายงานตัวทางอีเมล(เดี๋ยวนี้!)

จะด้วยเหตุผลนี้หรือเหตุผลกลใดก็มิอาจจะทราบได้ ที่ทำให้ศูนย์ค้นคว้า ศึกษา และพัฒนาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของอินเดีย ซึ่งก็เป็นศูนย์ระดับโลก ตั้งอยู่ที่เมืองบังคะลอร์ที่ชื่อว่า The Centre for Development of Advanced Computing ใช้ชื่อย่อว่า C-DAC จึงมีโครงการศึกษาค้นคว้าพัฒนาเกี่ยวข้องกับภาษาสันกฤตและคอมพิวเตอร์อยู่หลายโครงการ


ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่ ตายแล้ว จริงหรือ? ข้อเท็จจริงอันอาจสาดความกระจ่างแก่ประเด็นนี้ได้มีอยู่ว่า ทุกวันนี้สันสกฤตสอนกันอยู่ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 250 มหาวิทยาลัยใน 40 ประเทศ ส่วนงานค้นคว้านั้นปรากฏว่ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ กว่า 400 แห่งทั่วโลกมีการค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับภาษาสันสกฤต ประเทศอินเดียมีวารสารภาษาสันสกฤตล้วน ๆ อยู่ราว 80 วารสาร ท่านผู้อ่านที่สนใจและกำลังเริ่มจะ “นึกปลื้มสันสกฤต” หรือบางท่านที่ “ปลื้มสันสกฤต” อยู่แล้ว โปรดเคาะเว็บไซด์ปลื้มสันสกฤตกันได้ที่หน้าเว็บชื่อ “สันสกฤตา ภาระตี” www.samskrita-bharati.org/



กลับมาหาคำสันสกฤตที่ว่า “ภารตะ รัตนะ” “ ” หรือ “แก้วแห่งอินเดีย” ของเรากันต่อไป...จะดีกว่า คือชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดฝ่ายพลเรือนของประเทศอินเดีย และมีเพียงชั้นเดียวไม่แบ่งย่อยซอยยิบยับเป็นตุเป็นตะ หรือเป็นตุ๊เป็นต๊ะเช่น ทุติยะ ตติยะ จตุ หรือประถมา แต่มาเดี่ยว ๆ มีชั้นเดียวแบบโฮมอะโลน...


เป็น “ภารตะ รัตนะ” ด้วน ๆ สแตนด์อะโลน ซึ่งเวลาผู้เขียนเกิดอารมณ์ “เบื่อมนุษย์” ขึ้นมา วิธีเยียวยาวิธีหนึ่งที่ได้ผลได้แก่ กลับไปอ่านรายชื่อมนุษย์ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดฝ่ายพลเรือนของอินเดีย หรือบัญชีรายชื่อ สมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ภารตะ รัตนะ ผู้เป็นแก้วแห่งภารตะ ตั้งแต่ตั้งประเทศอินเดียสมัยใหม่ขึ้นมานี้เขาแจกคนไปไม่ถึง 50 คน...แปลว่า มีคนได้ไปเพียงกระหยิบมือเดียว ซึ่งเมื่อเราได้อ่านรายชื่อของท่านทั้งหลายเหล่านั้น ก็เสมือนกับว่าได้ยืนอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ณ ตำบลอันวิเวก เช่น ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมในลุ่มน้ำยมุนา-คงคา พลางได้สูดลมปรานกับอากาศเย็นสดชื่น ที่สายลมพัดโฉบนำลงมาจากเทือกเขาหิมาลัย ฉะนั้น


เป็นเหรียญตราของ สาธารณรัฐอินเดีย จะใช้คำเรียกว่า “เครื่องราช” ได้ด้วยหรือ? ได้ครับแพ่! เพราะว่าใช้ในความหมายว่า “เนื่องอยู่กับการปกครอง” เช่น สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย เขาก็เรียกกันว่า “บริติช ราช“ (British raj) หรือถ้าเป็นธรรมมะของผู้ปกครองก็เรียก “ทศพิธราชธรรม” และแม้แต่ชื่อประเทศอินเดียอย่างเป็นทางการทุกวันนี้ก็มีคำว่า “ราช” ปรากฏอยู่กับชื่อประเทศด้วย คือปัจจุบันอินเดียมีชื่อเต็มว่า ภารัติยะ คณะราช อันเป็นภาษาสันสกฤตที่แปลว่า “สาธารณรัฐอินเดีย”


จากรูปร่างของอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ถึงแม้ว่าท่านผู้อ่านไม่ได้สังเกตหรือไม่ได้พินิจพิเคราะห์ เพียงแต่มองผาด ๆ ท่านก็จะสามารถทราบได้ถึงลักษณะอันเรียบง่ายและสุดแสนจะสามัญของอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ของประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก เหรียญทองคำรมดำรูปใบไม้นั้น ท่านผู้อ่านสามารถทราบได้ทันทีโดยไม่ผิดพลาดว่านั่นคือ ใบโพธิ์ ตรงกลางคือรัศมีพระอาทิตย์ และอักขระเทวะนาครีที่เขียนไว้อ่านได้ว่า “ภารัต รัตนะ” ด้านหลังเป็นรูปสิงห์หัวเสาของพระเจ้าอโศกมหาราชที่อินเดียใช้เป็นตราแผ่นดิน ใต้ฐานสิงห์เขียนคำสันสกฤตว่า ”สัตยะเมวะ ชะยะเต” แปลว่า “สัจจะเท่านั้นที่ยืนยง” อันเป็นคำขวัญของประเทศอินเดีย อิสริยาภรณ์ภารตะ รัตนะ ใช้ประดับโดยแขวนคล้องคอด้วยผ้าขาว





ที่มา - The Tata Central Archives



บัญชีรายชื่อนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพ(“freedom fighters”)ผู้ได้รับเครื่องราชฯภารตะ รัตนะ เช่น ชะวะหะราล เนห์รู, ราเชนทร์ ประสาท, ข่าน อับดุล ฆาฟฟาร์ ข่าน ...นักต่อสู้เพื่ออิสรภาพชาวปาทาน เนลสัน มันเดลลา...ผู้นำอัฟริกาใต้ ชื่อของท่านเหล่านั้นช่วยบำรุงจิตใจเราได้ สมาชิกภารตะ รัตนะ ท่านอื่น ๆ ก็ล้วนมีศีลาจริยาวัตรและผลงานน่าเคารพ เช่น แม่ชีเธเรซา นักมนุษยธรรม จิตตาพะรัม สุพรามนิยม ผู้นำด้านเศรษฐกิจพอเพียงและการปฏิวัติเขียวของอินเดีย อมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เจ. อาร์. ดี. ตาตา ลูกครึ่งแขกปาร์ซี + ฝรั่งเศส และเกิดที่ปารีส ผู้สร้างกิจการอุตสาหกรรมบริษัท ตาตา ทิ้งไว้เป็นมรดกแก่อินเดีย ศพของท่านฝังอยู่ในสุสานแปร์ ลาแชส กรุงปารีส


รายชื่อศิลปินผู้ได้รับเครื่องราชฯภารตะ รัตนะ ก็สร้างความชื่นใจได้มาก เช่น รวิ ศังกร หรือที่เราเรียกตามฝรั่งว่า ราวี ชางคาร์ นักดนตรีชาวพาราณสีผู้ดีดพิณสิตตาร์ ( )กล่อมโลกตะวันตกและตะวันออก ผู้ทำให้นักคีตนิยมชาวตะวันตกโค้งคารวะให้แก่เสียงพิณสิตตาร์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเพลงของโมซาร์ต ญาติมิตรของท่านผู้อ่านที่ฟังเสียงพิณชนิดนี้อยู่แล้วจะสามารถบรรยายได้ดีกว่าผู้เขียนมาก แต่ท่านที่ยังได้ฟังน้อยและอยากฟังมากขึ้นโปรดเคาะฟังฟรีได้ที่ http://www.bollywoodworld.com/radio/ จากนั้นสะโครลลงไปที่ “Instrumental” ซึ่งจะเป็นรายการเดี่ยวเครื่องดนตรีหลายชนิด โดยมีสิตตาร์รวมอยู่ด้วย


เมื่อไม่นานมานี้นักร้องและนักแสดงบอลลีวูด ลาตา มังเกศะการ์ ก็ได้รับเครื่องราชฯภารตะ รัตนะ ผลงานของเธอมีมากมายและหลากหลายเกินจะบรรยายสำหรับท่านผู้อ่านชาวไทย ก่อนนั้นหลายปี สัตยาจิต เรย์ ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวเบงกอล ได้รับเครื่องราชฯภารตะ รัตนะ ซึ่งหนังของเขาขึ้นชื่อในหมู่คอหนังว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยได้สร้างกันขึ้นมาในโลก ในอดีตเคยมีผลงานมาฉายเมืองไทยสมัยที่คนไทยยังดูภาพยนตร์อินเดีย


ขอบคุณนักการเมืองอินเดีย ที่สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ภารตะ รัตนะ ไว้ให้โลกได้ชื่นชม

1 ความคิดเห็น:

  1. เชิญที่ บลอกใหม่ เพื่ออ่านบทความใหม่ๆครับ
    บลอกนี้ โดนแฮคแล้ว...

    บลอกใหม่อยู่ที่ www.pricha123.blogspot.com

    ตอบลบ