"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

หน้า เพื่อนและมิตรภาพ

...เพื่อท่านผู้อ่าน ทุกวัย

"เพื่อนและมิตรภาพ"
ยุค Social Networking  





เพื่อน และมิตรภาพ เป็นเรื่องที่เราอาจจะมองข้าม
และหลงลืมกัน มานานเกินไป
เพราะว่า เราหลาย ๆ คน ถูกสอนเน้นกันเฉพาะ
ความสัมพันธ์ "แบบครอบครัว"
-ซึ่งมีตัวอย่าง ย่อยยับ ล้มเหลว เห็นได้ทั่วไป
เป็นต้นตอ ของโรคจิต แต่ใช่ว่าจะไม่สำคัญ

อย่างไรก็ดี เราต้องฟื้นฟู ความสัมพันธ์ แบบเพื่อนและมิตรภาพ
ขึ้นมาใหม่ ช่วยฟื้นฟู ประคับประคอง
เสริมคุณภาพชีวิตมนุษย์ เพราะครอบครัวอย่างเดียว ไม่พอ
เห็นได้จาก ความแพร่สะพัด ของ เฟสบุค
และหน้าสังคมสัมพันธ์ Social networking หน้าต่าง ๆ

งานเล่มนี้ อิงปรัชญาตะวันตก ที่ว่ากันจริง ๆ
สำหรับเรื่อง เพื่อนและมิตรภาพ นี้นั้น
ก็ไม่น่าจะ แปลกแยกแตกต่าง จากตะวันออก สักกี่มากน้อย

ลองอ่านดู ละกัน

เขียน 17 ตอน สั้น ๆ
ได้นำตัวอย่าง บางตอน
เสนอท่านผู้อ่าน พิจารณา ด้านล่างนี้

                                      

ตัวอย่างที่ 4 นักแสดงความสุข กับ คนมีความสุข 

หันมาปันความสุข กันบ้างดีกว่า
เมื่อมีสุข อย่าลืมปันกับเพื่อนฝูง
ซึ่งเป็นไปได้ว่า สุขที่ปันออกไป จะกลายเป็นสุขสองเท่า
ถ้าจะจัดงานเฉลิมฉลอง
ก็ต้องเป็นงานรื่นเริงที่จัดขึ้นเพราะมีความสุข
ไม่ใช่งานสังคม หรืองานบุญ
ที่จัดบังหน้า เพื่อกลบเกลื่อนความทุกข์

งานร่าเริงบังหน้า ทำทีเป็นว่ามีความสุข
แต่เจ้าภาพ ทำตัวเป็นนักแสดง หรือบางทีแขกก็ทำตัวเป็นนักแสดงด้วย
ตามที่นิยามไว้ ในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ที่วิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่า
“นักแสดง” หมายความว่า ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรำ
และผู้ซึ่งแสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์ แสดงตามบทหรือในลักษณะอื่นใด
หมายเหตุ-คำว่า วิเคราะห์ศัพท์เป็นภาษากฎหมาย แปลว่า นิยาม

นักปรัชญาฝรั่งเศสแห่งยุคปัจจุบัน นายปาสกาล บรุคแนร์
ท่านเน้นให้เรา ผู้มีชีวิตอยู่ในโลกยุคใหม่ รู้จักแยกให้ออก
ระหว่าง นักแสดงความสุข กับ คนมีความสุข
งานเฉลิมฉลองที่นักแสดงความสุข จัดขึ้นนั้น
คนไปงานมองหาความสุขไม่พบ และรู้สึกเครียด
เพราะว่า นักแสดงความสุข เขาจะมีความสุข แบบ “เครียด ๆ”

ดีภัค โชปรา แพทย์และนักปรัชญาอเมริกัน เชื้อสายอินเดีย
ท่านก็มีความเห็นทำนองนี้เหมือนกัน
ท่านบอกว่า ให้สังเกตดูพวกนักแสดงความสุขดูเถิด
ช่างเครียด จังเลย

****************************************************************

ตัวอย่างที่ 3 ความเป็นมิตร กับ ความเป็นประโยชน์ต่อกันและกัน นั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะนัวเนีย
ยามที่เราตกระกำลำบาก เราต้องการความช่วยเหลือ
เราอยากรอด อยากที่จะหลุดพ้น ไปจากภาวะอันลำเค็ญนั้น
เรานึกถึงเพื่อน ผู้อาจมาช่วยเราได้
เราอยากได้ยินเสียงโทรศัพท์ตอบรับ ว่า
ใจเย็น ๆ เพื่อน จะแวะไปช่วยเดี๋ยวนี้เลย

กรณีดังกล่าวนี้ บ่งว่า
มิตรภาพ กับ ความมีประโยชน์ ใกล้ชิดกันมาก
แม้จะไม่ถึงกับ ซ้อนทับกันอยู่

แต่ ความเป็นมิตร กับ ความเป็นประโยชน์ต่อกันและกัน นั้น
เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะนัวเนีย

กระนั้น ความใกล้ชิดดังกล่าว ก็มีสิทธิ์ก่อปัญหาได้
แต่โดยทั่วไปแล้ว เพื่อนก็ย่อมปรารถนาและยินดี
ที่จะทำตัวเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน
เราอยากเป็นคนมีประโยชน์ แก่กันและกัน
เราแต่ละคน อาจเป็นประโยชน์ต่อใครก็ได้หลายคน ในโลกนี้
แต่เรา ก็ยังอยากจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน
มากกว่าที่จะ เป็นประโยชน์กับคนอื่นทั่วไป

อย่างไรก็ดี ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างเพื่อน

กับ ความมีประโยชน์ต่อกัน ก็ก่อปัญหาได้ดังกล่าวแล้ว
เนื่องจาก เพื่อนกันก็จริง แต่ก็ไม่มีใครยินดีกับความรู้สึกที่ว่า
ตนเองกำลังโดนเอารัดเอาเปรียบ
หรือ กำลังกลายเป็นสุนัขรับใช้ ผู้มีประโยชน์ใช้สอย
หรือ เป็นเพ้งบริการ
มากกว่า ที่จะเป็นเพื่อน

เพราะในความเป็นเพื่อนนั้น
จะมีอารมณ์ยินดีปรีดาปราโมทย์ หรือความรัก เจืออยู่ด้วย
และเจือสมอยู่ในลักษณะ ซึ่งกันและกัน หรือต่างตอบแทน
แต่มิใช่ ต่างตอบแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
กฎหมายไม่ได้เขียนว่า
คู่สัญญา จะต้องมีอารมณ์ยินดีต่อนิติกรรมสัญญา

ระหว่างความเป็นประโยชน์ กับ การถูกเอารัดเอาเปรียบ
ดุลยภาพของสองประเด็นนี้ในมิตรภาพ อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร..............
********************************************************************************

ตัวอย่างที่ 2 เยื่อใยแห่งรัก จะเกิดได้กับสิ่งที่ น่ารัก เท่านั้น

มิตรภาพกับความรัก
ความรักในความเป็นเพื่อน คือ อย่างไร

รักกันฉันท์ชู้สาว
ซึ่งก็จะรวมรักฉันท์ชู้สาว ทั้งรักต่างเพศและรักร่วมเพศ
เราจะขอข้ามไป
ไม่นำมาเป็นเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้

ยกไว้พูดในเล่มอื่นแล้วกัน
เพราะความรักประเภทนั้น
จะเจือปนความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ
ซึ่งความรักในความเป็นเพื่อน จะไม่มีความรู้สึกเช่นนั้น
ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนเพศเดียวกัน
ที่คบกันฉันท์เพื่อน มิใช่ฉันท์ชู้สาว
หรือเพื่อนต่างเพศ
ที่คบกันฉันท์เพื่อน มิใช่ฉันท์ชู้สาว

รักกันฉันท์ญาติ
ขอจัดไว้เป็นความรักในครอบครัวและญาติพี่น้อง
ความรักฉันท์ญาตินี้ ผู้เขียนก็จะขอข้ามไปเช่นเดียวกัน
เพราะความรักฉันท์ญาติ ท่านว่า
เน้นหนักในประเด็นห่วงหาอาทร
เอาใจใส่
ประคับประคองดูแลซึ่งกันและกัน
ซึ่งความรักฉันท์เพื่อน จะไม่ลึกซึ้งมากในประเด็นนี้
ประเด็นของเราจึงเหลือเพียง รักกันฉันท์เพื่อน เฉย ๆ


อะริสโตเติลสอนว่า
ใช่ว่า สัมพันธภาพทุกอย่างในชีวิตคน
จะต้องอาศัยความรัก มาช่วยสมัคสมานเสมอไป
เยื่อใยแห่งรัก จะเกิดได้กับสิ่งที่ น่ารัก เท่านั้น

วัตถุธรรมใดก็ดี นามธรรมใดก็ดี ที่ไม่น่ารัก
จะก่อตั้งสายสัมพันธ์แห่งรัก ไปผูกโยงไม่ได้ดอก
จะผูกพันด้วยความรักได้อย่างไร ในเมื่อไม่น่ารัก
ก็คงจะต้องผูกพันกันแบบอื่น เช่น ทำนิติกรรมสัญญา เป็นต้น
สิ่งที่น่ารัก
อะริสโตเติล แบ่งออกเป็นสามหมวด

คือ
สิ่งใดดี  สิ่งนั้นน่ารัก
สิ่งใดน่าเพลิดเพลินเจริญใจ สิ่งนั้นน่ารัก
สิ่งใดมีประโยชน์  สิ่งนั้นน่ารัก


********************************************************************************

ตัวอย่างที่ 1 ชีวิตโดดเดี่ยว ในม่านเมฆบนยอดเขา อ้างว้างร่างราง ๆ ของชายชรา ถือไม้เท้าเดินหลังคุ้ม โดดเดี่ยวลำพัง นั่นหรือ คือความสุข ?


คอมพิวเตอร์เกม มายสเปส เฟสบุค ไฮไฟ บล็อคเกอร์
และ ฯลฯ
เพื่อนฝูงมิตรสหาย
จะยังมีความหมายอะไรอยู่อีกหรือ
ในโลกไฮเทค?
ตัวของตัวเอง ยังสาละวนจนไม่มีเวลาพอ
แล้วจะมีกะจิตกะใจที่ไหน
มาคิดถึงผู้อื่น
เกินจากระดับฉาบฉวย?

ปราชญ์ตะวันตกบางท่านบอกว่า
นรก คนอื่นนำมาให้...แปลว่า สังคมคือนรก
แล้วท่านผู้อ่านหลายท่าน รวมทั้งผู้เขียน เราต่างเคยเห็นภาพเขียน
จากการตวัดปลายพู่กัน ของศิลปินเอกที่ตะวันออกของเรานี้
ชื่นชมกับชีวิตโดดเดี่ยว ในม่านเมฆบนยอดเขา อ้างว้าง
ร่างราง ๆ ของชายชรา ถือไม้เท้าเดินหลังคุ้ม โดดเดี่ยวลำพัง
นั่นหรือคือ ความสุข?



ไม่รู้ล่ะ แต่ว่า...
ผู้เขียนไม่ใช่นักปราชญ์ราชบัณฑิต
ไม่ใช่นักปรัชญา ไม่ว่าจะเป็นตะวันออกหรือตะวันตก
ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ เป็นนักเขียน
ผู้เห็นว่า จะมีอะไรเป็นธรรมชาติกว่ามิตรภาพอีกเล่า
ก็ในเมื่อ สัพเพสัตตา สรรพสัตว์ทั้งหลาย
แม้แต่สุนัข ยังหาเพื่อนหาฝูง
สุนัขเลี้ยงที่บ้านผู้เขียน
มีเพื่อนสุนัข อยู่ในละแวกบ้านเดียวกัน
รูปร่างสันทัดพอ ๆ กัน สีใกล้เคียงกัน
เช้ามืด เพื่อนสุนัขตัวนั้น จะมากระดิกหางหน้าบ้าน
ชวนเพื่อน คือสุนัขของผู้เขียน ไปเที่ยวเล่น
โดยที่สุนัขตัวนั้น จะไม่ยอมสนิทสนมกับผู้เขียน
เขามาหาเพื่อนของเขาเท่านั้น
พอเห็นหน้ากัน เขาจะแสดงอาการดีอกดีใจ
กระดิกหาง ยื่นจมูกดมทักทายกัน และสบัดหัวชวนเพื่อนไปวิ่งเล่น



✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋