"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันพุธที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

นายกรัฐมนตรีหญิง -เธอตายในรถกันกระสุน นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ตอน 2/3

ज़ुल्फ़िकार अली भुट्टो
ซุละฟิการ์ อะลี ภุทโท -ภุทโทผู้พ่อ
-เป็นเด็กเบิร์คเลย์


เรา ในฐานะชาวต่างชาติ ยากที่จะเห็นภาพ ของ นางสาว เพนะซีระ บนเวทีการเมืองได้เต็มรูป ถ้าเราไม่ได้เห็นเค้าร่างของคุณพ่อเธอ นาย ซุละฟิการ์ อะลี ภุทโท  ผู้เขียนเห็นว่า ท่านผู้นี้เป็นนักการเมืองผู้ยิ่งยงคนหนึ่ง ในดินแดนเอเชียใต้ ยุคหลังอาณานิคม ซึ่งหมายรวม 4 ประเทศ คือ ปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ และศรีลังกา ยากที่จะพบทางเดินชีวิตการเมือง ของนักการเมืองชมพูทวีปผู้ใด จะโชกโชน เข้มข้น มีสีสัน มีเนื้อหาสาระ มีความสำเร็จและมีความล้มเหลว มากไปกว่าท่านผู้นี้ ซึ่งในที่สุด ก็ได้สังเวยชีวิตเซ่นเวทีการเมืองปากีสถาน

สมมติว่า ในจิตใจของเรา เราไม่ได้แบ่งชมพูทวีปเป็นสี่ประเทศ แต่แลเห็นเป็นแผ่นดินผืนเดียว ทั้งนี้ เพื่อจะเทียบกับเมืองจีน ดังนี้แล้ว ตัวตนของ ซุละฟิการ์ อะลี ภุทโท นั้น น่าจะเทียบได้โดยเลา ๆ กับอดีตนายกรัฐมนตรี จู เอนไล ของจีน กล่าวคือ ทั้งสองท่าน ต่างก็มีบทบาทกว้างลึก บนแผ่นดินท่าน แต่ขณะเดียวกัน ทั้งสองท่าน ต่างก็มีเกียรติภูมิสง่างาม เป็นที่เคารพนับถือ บนเวทีการเมืองนานาชาติ ในยุคสมัยของท่าน

นาย เฮนรี คิสซิงเกอร์ อดีตร.ม.ต.ต่างประเทศ สหรัฐฯ ผู้มีความเห็นต่าง เรื่องการเมืองโลก กับ ภุทโทผู้พ่อ แต่เฮนรี คิสซิงเกอร์ ก็ยกย่องภุทโทผู้พ่อ ว่า “เป็นคนเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง มีเสน่ห์ และมีความคิดความอ่านระดับโลก”

เป็นเด็กเบิร์คเลย์

หลังจากเรียนจบปีที่สอง ที่มหาวิทยาลัย เซาเทอร์น แคลิฟอร์เนีย ซุละฟิการ์ อะลี ก็โอนหน่วยกิต ขอเข้าเรียนต่อปริญญาตรีช่วงปลาย ชั้นมหาวิทยาลัยปีสามกับปีสี่ กับมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ที่เบิร์คเลย์ อันเป็นสถาบันขึ้นชื่อในสมัยนั้น ว่า มีความคิดความอ่านก้าวหน้ายิ่งนัก ท่านสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตร์ ที่นั่น เมื่อปี 2493

เราอาจจะสนใจประวัติศาสตร์สมัยใหม่ น้อยไปสักนิด ถ้าเราคิดว่า สปิริตเบิร์คเลย์ตายสนิทแล้ว เพราะเมื่อไม่กี่วันมานี้ เกิดการสังหารหมู่ที่นอร์เวย์ ท่านที่ติดตามข่าว และสนใจประวัติศาสตร์ ย่อมทราบได้จากเนื้อข่าว ว่า ฆาตกรชาวนอร์เวย์ผู้นั้น รับมรดกความคิดเชิงขบถกิ่งหนึ่ง ไปจากอาจารย์ท่านหนึ่ง ในแวดวงสปิริตเบิร์คเล่ย์ ซึ่งขณะที่กำลังเขียนอยู่นี้ อดีตอาจารย์ที่เบิร์คเลย์ท่านนั้น ติดคุกตามคำพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ชนิดห้ามฎีกาเด็ดขาด อยู่ในคุกขังลืมของกรมราชทัณฑ์ สหรัฐฯ (the Federal Bureau of Prisons) -จะไม่ขอลงรายละเอียด

แต่สปิริตเบิร์คเลย์เป็นเรื่องเชิงบวก มากกว่าที่จะเป็นเชิงลบ การทบทวนกระแสความคิดความอ่านแบบตะวันตกเสียใหม่ ซึ่งเบิร์คเลย์เป็นแหล่งกระตุ้น มีส่วนสร้างสรรค์สังคมอเมริกันและโลก ในระยะต่อ ๆ มา อย่างชนิดที่ไม่มีวิญญูชนใด จะปฎิเสธได้

ครูบาอาจารย์ของผู้เขียน ผู้กระตุ้นความคิดความอ่าน ในระยะของการเติบโตทางจิตใจ ซึ่งรวมทั้งเรื่องการมองประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี ล้วนแล้วแต่เป็น“เด็กเบิร์คเลย์” ทั้งนั้น วิชาบางวิชาที่นำมาเรียนมาสอนกัน ก็ “ก็อป” จากเบิร์คเลย์ –จะไม่ขอลงรายละเอียด ความจริงข้อนี้ ผู้เขียนเพิ่งจะรู้ เมื่อไม่นานมานี้เอง

แล้วมาเรียนต่อ ที่อ็อกฟอร์ด

จากเบิร์คเลย์ ซุละฟิการ์ อะลี ก็เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย อ็อกฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ ตามประเพณีปฏิบัติของคนชั้นผู้นำทั้งหลาย ในประเทศอดีตอาณานิคมอังกฤษ ที่จะต้องมาเรียนกันที่มหาวิทยาลัย “อ็อก-บริดจ์” สถาบันใดสถาบันหนึ่ง มิฉะนั้น จะไม่มีสิทธิเป็นผู้เป็นคน ซ้ำร้าย บางทีอาจจะถือว่า จะเป็นได้ก็แต่ วัวควาย

แต่ ท่านที่ผ่านสถาบันนั้นมาแล้ว ที่ยังเป็น ควาย ก็มี ไม่ได้วิเศษวิสาโสไปเสียทั้งหมด เนื่องจากท่านเป็นกรณียกเว้น สุดที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด จะขูดความเป็นควายทิ้งเสียได้ บางครั้ง ท่านผู้อ่านและผู้เขียน ก็ต้องยอมรับความจริงกันนะ ว่า ต่อให้อ็อกฟอร์ดก็เถอะ ยังต้องยอมจำนนต่อควาย ถ้าเจอกับ “ควายจริง”  เช่น ตัวผู้เขียนในบางอารมณ์ เป็นต้น

ที่อ็อกฟอร์ด ซุละฟิการ์ อะลี ภุทโท จบปริญญาตรีและโท ทางกฎหมาย แล้วแถมด้วยปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์ ท่านฝึกทนายและฝึกงานกฎหมายเมื่อปี 2496 กับสถาบัน ลิงคอล์น อินน์ สำนักเดียวกันกับที่รัฐบุรุษอาวุโสของปากีฯ คือ มูฮัมหมัด อะลี จินนาห์ เคยผ่านมาก่อน ท่านแต่งงานครั้งที่สอง กับคุณแม่ของ เพนะซีระ ระหว่างที่กำลังเป็นนักศึกษา ที่มหาวิทยาลัย อ็อกฟอร์ด ครั้นสำเร็จการศึกษา กลับมาปากีฯ ท่านก็มาเป็นครูสอนกฎหมาย และทำงานทนาย ตลอดจนทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินที่ดินของตระกูล อยู่ที่นครการาจี

ขึ้นเวทีการเมือง ตั้งแต่อายุยังน้อย

นับแต่ปี 2500 เป็นต้นมา ท่านก็ขึ้นมาโลดแล่นอยู่บนเวทีการเมืองของปากีฯ เริ่มจากได้รับแต่งตั้ง เป็นสมาชิกอาวุโสน้อยสุด ในคณะผู้แทนปากีฯในสหประชาชาติ ในปีรุ่งขึ้นก็ร่วมอยู่ในคณะรัฐบาลของ ประธานาธิบดี จอมพล มะฮามัท อะยูบ ขาน(महामद अयूब खान) ผู้ก่อการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจ แล้วได้ตั้งให้ ภุทโทผู้พ่อ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ท่านเป็นรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุด ทำงานเข้ากันได้ดีกับ จอมพล อะยูบ ขาน กลายเป็นคนโปรด ได้ผ่านงานรัฐมนตรีหลายกระทรวง มีโอกาสสั่งสมประสบการณ์ และอำนาจวาสนาบารมีทางการเมือง อย่างมหาศาล ผ่านงานยาก ๆ หลาย ๆ เรื่อง ตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น เจรจาสัญญาปันน้ำแม่น้ำสินธุ กับอินเดีย ตลอดจน เจรจาสำรวจแหล่งน้ำมัน ร่วมกับสหภาพโซเวียต เป็นต้น

สิบปีให้หลัง ท่านก็มี ประสบการณ์ทางการเมือง  บวกกับ ความมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง  บวกกับ แหล่งทรัพยากร  พอที่จะตั้งพรรคการเมือง และได้ตั้งพรรค पाकिस्तान के राष्ट्रपति (ปากีสตาน เกะ ราษทระปาตี =พรรคแห่งชาติปากีสถาน) ชื่อย่ออังกฤษว่า พรรค PPT มีผู้แปลชื่อพรรคในภาษาอังกฤษ ว่า พรรคประชาชนปากีสถาน ผู้เขียนขอเรียกตามชื่อต้นตอดั้งเดิม ว่า “พรรคแห่งชาติปากีฯ” แล้วกัน แรกเริ่มก็มีฐานที่มั่น อยู่ในแคว้นสินธ์ ต่อมาก็ขยายแผ่ออกไปในปันจาบ และรัฐอื่น ๆ กลายเป็นพรรคการเมืองพรรคสำคัญของปากีสถาน มาจนบัดนี้

พรรคแห่งชาติปากีฯ ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งประธานฯพรรค จวบกระทั่งถึงวันที่ท่านถูกประหารชีวิต มีคำขวัญที่น่าสนใจ ว่า “อิสลาม คือ ศาสนาของเรา ประชาธิปไตย คือ การเมืองของเรา สังคมนิยม คือ เศรษฐกิจของเรา” นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ก็ได้อาศัยบุญญาบารมี ของพรรคการเมืองพรรคนี้ สนับสนุนเธอ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ในประเทศที่นับถืออิสลาม เป็นศาสนาหลัก

เล่าย่อ ๆ

ย่อเรื่องยืดยาว และมากมายก่ายกอง ให้เหลือนิดเดียว ว่าในที่สุด เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2520 หลังจากเกิดภาวะวุ่นวายในสังคม บิดาของเพนะซีระ ก็ถูกนายพล महामद ज़िया-उल-हक มะฮามัท ซิยา-อุล-ฮัก  หรือที่เมืองไทย รู้จักท่านผู้นี้ในนาม ว่า “เสธฯเซียะ” นายพลปากีสถานผู้โด่งดังมาจาก ภารกิจในตะวันออกกลาง ได้ทำรัฐประหารแบบไม่เสียเลือดเนื้อ ขับนายภุทโท ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพ้นเวทีการเมืองที่ท่านคร่ำหวอด มาครบยี่สิบปีพอดี

แล้วในปีรุ่งขึ้น เดือนกันยายน 2521 วิถีการเมืองของคุณพ่อของเพนะซีระ ก็แทบจะเรียกได้ว่า ถูกปิดสนิท เมื่อ “เสธฯเซียะ” สถาปนาตนเองสวมตำแหน่ง “ पाकिस्तान के प्रधान मन्त्री = ปากิสตาน-ประธาน-มนตรี = ประธานาธิบดี ปากีสถาน” แล้วก็ส่งคุณพ่อของเพนะซีระ ขึ้นศาลทหาร ข้อหาฆาตกรรมนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามจากแคว้นปันจาบ ศาลทหารตัดสินประหารชีวิต แม้ผู้นำต่างประเทศหลายประเทศ จะส่งฎีกามาขอชีวิตคุณพ่อของเพนะซีระ แต่ว่า “เสธฯเซียะ” ก็ไม่เว้นชีวิตให้ คงให้ตายตกไปตามกัน ตามคำพิพากษา คุณพ่อของเพนะซีระ ถูกแขวนคอ เมื่อปี 2522 ส่วนคุณแม่ก็ถูกกักบริเวณอยู่ระยะหนึ่ง

อีกสิบปีต่อมา ในปี 2531 เสธฯเซียะกับคณะรัฐมนตรีบางส่วน รวมทั้งทูตอเมริกันประจำปากีสถาน ก็นัดกันไปตายกับเครื่องบิน ที่พลัดตกเวหา ลงมายู่ยี่กระจัดกระจาย กระจุยอยู่กับพื้นพสุธาในรัฐปันจาบ ซึ่งเวลานี้ อาจมีเด็กชั้นประถมในปากีฯ ไม่กี่คนเท่านั้น ที่ยังเชื่อว่าเหตุการณ์เครื่องบินตก ตายหมู่ทางการเมือง ครั้งนั้น เป็นอุบัติเหตุแท้จริง

วาระของ เพนะซีระ บ้าง

เพนะซีระ แต่งงานกับท่านประธานาธิบดีปากีสถานคนปัจจุบัน นายซาร์ดารี ก่อนเสธฯเซียะเกิดอุบัติเหตุตายหนึ่งปี  และปีเดียวกับที่เสธฯบ๊ายบาย ไปกับคณะรัฐมนตรีบางส่วน รวมทั้งทูตอเมริกันในพ.ศ. 2531 นั้น นางสาว เพนะซีระ ที่อายุได้ 35 ปี ก็ได้เป็น นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ในประเทศที่คนส่วนมากนับถืออิสลาม ในรอบแรกนี้ เธอดำรงตำแหน่ง นางสาว-นายกรัฐมนตรี-หญิง  อยู่ได้ยี่สิบเดือน ก่อนที่จะถูกอำนาจประธานาธิดี ถอดเธอออกจากตำแหน่ง ปี 2533 ในข้อหาคอรัปชัน

เธอสร้างประวัติศาสตร์เพิ่มเติม ด้วยการเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในโลก ที่ให้กำเนิดบุตร ระหว่างดำรงตำแหน่ง ซึ่งก็ยังไม่มีผู้ใดมาต่อท้าย บันทึกเกียรติยศรายการนี้ ของเธอ...

ถอดได้ถอดไป ถึงปี 2536 เธอก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็น นางสาว-นายกรัฐมนตรี-หญิง อีกครั้งหนึ่ง ครั้นอีกสามปีต่อมา ในปี 2539 ประธานาธิบดีปากีฯ ซึ่งมาจากพรรคการเมืองพรรคเดียวกับเธอแท้ ๆ ก็ถอดเธอออกจากตำแหน่งอีกครั้ง ในข้อหาคอรัปชันเหมือนกับครั้งที่แล้ว เมื่อถูกถอดครั้งหลังนี้ เธอถอดใจ และก็สมัครใจเนรเทศตัวเอง ออกไปอยู่ต่างประเทศที่ ดูไบ และต่อมาก็ไปอยู่ที่ ลอนดอน

กลับจาก ดูไบ และ ลอนดอน

หายหน้าหายตา ไปจากหนังสือพิมพ์รายวันหน้าหนึ่ง อยู่ร่วมสิบปี ปล่อยให้ พณฯ ปะระเวซ ครองพื้นที่หน้าหนึ่ง จนถึงปี 2550  ด้วยการสนับสนุนจากอังกฤษและอเมริกัน เธอได้เจรจากับทางการปากีสถานในเวลานั้น จนได้รับอภัยโทษจาก ประธาน-มนตรี ฯพณฯ ปะระเวซ มุศระรัฟ (परवेज़ मुशर्रफ़ ) โดยมีข้อตกลงกันว่า จะมีการปันอำนาจทางการเมืองระหว่างกัน หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป ที่จะมีขึ้นในปากีฯ ในเดือนมกราคม 2551

เพนะซีระ เดินทางถึงปากีฯ ตุลาคม 2550 กลับมาทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเป็นหัวหน้ากลุ่มฝ่ายค้าน และเตรียมการรณรงค์ทางการเมือง เพื่อการเลือกตั้งเดือนมกราคมปีรุ่งขึ้น

แต่ทันทีที่เท้าแตะพื้นแผ่นดินบ้านเกิด ความสัมพันธ์ที่ดูเหมือนจะดี ซึ่งรองรับการเจรจาปรองดองทางการเมืองก่อนหน้านี้ ที่ดูเหมือนจะสมานฉันท์ก็พลันเป็นไงก็ไม่ทราบ กลับพลิกโผรสชาติ กลายเป็นเปรี้ยวทันที

วันที่ 27 ธันวาคม 2550 นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ถูกฆ่าตาย ก่อนการเลือกตั้งเพียงสองสัปดาห์ ในขณะที่เธอกำลังอยู่ระหว่างรณรงค์หาเสียง ในนามพรรคแห่งชาติปากีฯ ที่เมืองราวัลปินดี อันเป็นเมืองใหญ่ลำดับสามของปากีฯ ตั้งอยู่ในรัฐปันจาบ และเป็นเมืองที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพปากีฯ เมืองนี้อยู่ติดกับเมืองหลวง คือ กรุงอิสลามาบัด หรือพูดให้ถูก กรุงอิสลามาบัด ตั้งอยู่ที่ชานเมืองราวัลปินดีน่าจะถูกกว่า คล้าย ๆ กับว่า ถ้าเมืองไทยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ตัวเมืองอุบลก็คือราวัลปินดี ส่วนอิสลามาบัดก็คือเมืองฝั่งตรงข้ามที่จะต้อง “ข้ามฝั่งวาริน” มา นั่นเอง

ทางด้านเมืองราวัลปินดี นี้ ถูกจารึกไว้กับการเมืองปากีฯ ในฐานะคล้ายกับจะเป็น “คิลลิง ฟิลด์” หรือ “แดนประหาร” สำหรับนักการเมืองระดับ ดัง ๆ เช่น

-ปี 2494 นายกรัฐมนตรีคนแรก ของปากีฯ นายลิอะกาท อะลี ขาน ถูกลอบสังหาร ที่เมืองนี้
-ปี 2522 อดีตนายกรัฐมนตรี ซุละฟิการ์ อะลี ภุทโท ถูกประหารชีวิต ด้วยการแขวนคอ ที่นี่
-ปี 2550 อดีตนายกรัฐมนตรี นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ถูกลอบสังหาร ที่นี่
-ปี 2552 เกิดเหตุลอบสังหาร นายพลคนดังคนหนึ่ง ที่นี่

เธอกลับมาตาย แท้ ๆ

- ตุลาคม 2550 นางสาว เพนะซีระ ภุทโท เดินทางกลับถึงปากีสถาน ลงเครื่องบินที่เมืองการาจี เมืองหลวงเก่าของปากีฯ ตั้งอยู่ในแคว้นสินธ์ อันเป็นดินแดนฐานเสียงของตระกูลภุทโท ขบวนต้อนรับเธอ จัดกันเป็นขบวนใหญ่ เพื่อแห่แหนรอบเมือง และขบวนดังกล่าวถูกระเบิดโจมตีสองครั้ง แต่ นางสาว เพนะซีระ ปลอดภัย มีคนตาย 150 คน ในเหตุการณ์นั้น เทียบกับประเทศไทย ก็จะคล้าย ๆ กับว่าเคยอยู่ ดูไบและลอนดอน  แล้วเดินทางกลับมาลงเครื่องบินที่ สนามบินอุบลราชธานี ทางภาคอีสานอันเป็นฐานเสียงใหญ่

- พฤศจิกายน เธอยื่นใบสมัครผู้แทนราษฎร สำหรับเขตเลือกตั้งเมืองลัคร์นา ในแคว้นสินธ์ อันเป็นแดนฐานเสียง

- ปลายเดือนพฤศจิกายน ประธาน-มนตรี ฯพณฯ ปะระเวซ มุศระรัฟ (परवेज़ मुशर्रफ़ ) ประกาศว่า จะยกเลิกคำประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อเปิดทางไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 16 มกราคม 2551

- นางสาว เพนะซีระ ประกาศนโยบายหาเสียงของพรรคแห่งชาติปากีฯของเธอ ว่า จะมีแนวเน้น แบบ “5 อี” คือ Employment, Education, Energy, Environment, Equality

- ธันวาคม วันที่ 4 เพนะซีระ พบปะกับ นายนาวาซ ชารีฟ นักธุรกิจเหล็กกล้าในปากีฯ เคยเป็น หัวหน้าฝ่ายค้าน เมื่อครั้งที่เธอเป็นรัฐบาล และก็ถูกเนรเทศไปอยู่ซาอุดิอาระเบียเกือบสิบปี ทั้งคู่ออกแถลงการณ์ร่วมกัน ว่า ขอให้ ฯพณฯ ปะระเวซ โปรดรักษาคำพูดด้วย

- ธันวาคม วันที่ 8 มือปืนสามคน บุกรุกเข้าไปในสำนักงาน พรรคแห่งชาติปากีฯ ที่แคว้นบะลูจิสตาน ภูมิภาคปากีฯตะวันตก ยิงเจ้าหน้าที่พรรคแห่งชาติฯ ของเพนะซีระ ตายไป 3 คน

- ธันวาคม วันที่ 27 ยามเย็นตะวันรอน เพนะซีระ เสร็จสิ้นการปราศรัยในสวนสาธารณะกลางเมืองราวัลปินดี เทียบได้ประมาณ สวนลุมพินีในกรุงเทพฯ

- เธอลงจากโปเดียมที่ปราศรัย เดินไปขึ้นรถหาเสียงของเธอ เป็น "โตโยตา แลนด์ ครุยเซอ" กันกระสุน หลังคาเจาะเพดาน เปิดหลังคาให้โผล่ตัวขึ้นไปได้ ซึ่งเพนะซีระ ก็ได้โผล่ขึ้นไปโบกไม้โบกมือ กับประชาชนผู้สนับสนุนเธอ ระหว่างที่ขบวนรถของเธอ กำลังเคลื่อนจะออกจากสวนสาธารณะ ทางประตูสวนด้านหลัง ถ้าเทียบกับสวนลุมพินี ก็เทียบได้ประมาณ ว่า จะออกทางประตูถนนวิทยุ
- เมื่อรถกันกระสุนของเธอ กำลังพ้นประตูสวนสาธารณะ เธอถูกยิงจากด้านหลัง เข้าที่ท้ายทอย กระสุนทะลุศีรษะไปออกด้านขมับ เธอโดนกระสุนเข้าบริเวณแผ่นหลังด้วย เธอทรุดตัวกลับลงมาพับภายในตัวรถ เลือดสด ๆ ทะลักออกจากปากแผล ทั้งสองแผล

- มือปืนที่ยิงเธอจากด้านหลัง กดระเบิดฆ่าตัวตาย คร่าชีวิตผู้คน พากันตายตามไปด้วย อีกกว่าสิบคน

- นางสาว เพนะซีระ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลกลาง ของนครราวัลปินดี


แพทย์ประกาศว่า นางสาว เพนะซีระ ภุทโท เสียชีวิต เวลา 18.16 น.


----------------------------------------------------------------------------------------------
ติดตาม...สุดสัปดาห์หน้า ประมาณเดือนตุลา วันที่ 8 จะโพสต์ตอนสุดท้าย ครับ -ขอบคุณ ที่สนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น