อินทิรา ปริยัทรศินี คานธี इंदिरा प्रियदर्शिनी गांधी
อึ้งกิมกี่ ถึงแก่อึ้งกิมกี่
เมื่อรู้ว่าลูกสาว จะแต่งงานกับแขกปาร์ซีค่อนข้างจะโนเนมผู้หนึ่ง ชวาหระลาล เนห์รู ซึ่งเป็นนักการเมืองชั้นแนวหน้า กำลังรุ่ง ผู้เคลื่อนไหวด้วยวิธีอหิงสา เพื่ออิสรภาพอินเดียอยู่ในเวลานั้น จึงได้ติดต่อกับครูใหญ่ของท่าน คือ มหาตมะ คานธี นามสกุลซ้ำกันกับฝ่ายผู้จะมาเป็นเจ้าบ่าว แต่มิได้เป็นเครือญาติกันแต่ประการใด ขอให้ช่วยที ให้สองคนนี้เปลี่ยนใจ แต่ว่า โอ ศิวะนารายณ์ ไม่มีใครช่วยได้
การแต่งงานกับ ฟิโรช ชาฮังคีร์ คานธี แขกปาร์ซีที่มาตั้งรกรากในเมืองอะละหะบัด เมืองภูมิลำเนาของเนห์รู อันเป็นตระกูลพราหมณ์ อาจจะพอเทียบได้คล้ายกับตระกูลพราหมณ์เมืองพัทลุง หรือนครศรีธรรมราช หรือถ้าในกรุงเทพฯ ก็อาจเทียบได้กับสกุล “มกรานนท์” อะไรประมาณนั้น ผิดพลาดขออภัย ผู้เป็นบิดาย่อมยากจะยอมรับได้ เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เป็นการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ฮึดฮัดแข็งขืน อย่างออกหน้าออกตาครั้งแรกของ อินทิรา ปริยัทรศินี เนห์รู
นาม “ปริยัทรศินี” นั้น ระพินทร์นาถ ฐากูร (रबिन्द्रनाथ ठाकुर) เอกกวีแห่งเบงกอล ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติอินเดีย และเป็นคนเอเชียคนแรก ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณคดี เป็นผู้ตั้งชื่อให้ ปริยะ = งาม น่านิยม ต้องตาต้องใจ ทรศินี = พิศ มอง แลดู
ตำบลประยาค อะละหะบัด บ้านเกิด
เมืองอะละหะบัด บ้านของตระกูลเนห์รู เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งเมืองหนึ่งในศาสนาฮินดู ที่รวมของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ น่าขนลุกขนพองสามสาย คือ คงคา ยมุนา และสรัสวดี โดยที่แม่น้ำสรัสวดีนั้น เป็นแม่น้ำในคัมภีร์ แม่น้ำตามตำนานปรัมปรา ไหลอยู่ใต้ดิน ไม่มีใครมองเห็น ได้ยินแต่ชื่อ แม่น้ำลึกลับแต่ว่าแจ้งอยู่ในความนับถือศรัทธาสายนี้ ไหลขึ้นจากใต้พื้นพสุธา มาบรรจบกับพระแม่คงคาและยมุนา ที่ตำบล “ประยาค” ( प्रयाग ) ชื่อเดิมภาษาสันสกฤตของอะละหะบัด
เพราะฉะนั้น จึงมีฤกษ์สำหรับลงไปอาบน้ำที่ประยาค ฤกษ์นี้คำนวณจากการโคจรของดาวพฤหัส(बृहस्पति) ตามโหราศาสตร์ฮินดู โดยที่ฤกษ์ดีมาก ๆ จะตกทุก 3 ปี 6 ปี 12 ปี และ 144 ปี โดยเฉพาะฤกษ์ 144 ปีที่เรียกว่าฤกษ์ “มหากุมภ์” ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ออว์ซัมที่สุด ต้องจาริกมาแสวงบุญ ฉลองที่อะละหะบัดเท่านั้น ส่วนฤกษ์รอง ๆ ลงไป สามารถฉลองกันได้ตามแหล่งอื่นอีกสามแห่งในภารตะแลนด์ ฤกษ์ครบรอบ 144 ปี “มหากุมภ์” ครั้งล่าสุดเร็ว ๆ นี้คือเมื่อ พ.ศ. 2544 มีคนมาชุมนุมกันกว่า 60 ล้านคน ตำบล “ประยาค” ต่อมาได้กลายเป็นชุมชนเมืองเก่าแก่บุร่ำบุราณ คู่กับพาราณสี เคารพนับถือกันว่าเป็นที่ ๆ หยดหนึ่งน้ำมนตร์ จากหม้อน้ำ(กุมภ์ = कुम्भ)ของพระพรหมณ์ เมื่อคราวสร้างโลก หยดลงมาต้องพื้นปฐพี
ขณะที่พระพุทธเจ้าสอนว่า นิพพาน ทำให้คนดับสูญไม่เกิดอีกต่อไป แต่พราหมณ์บอกว่าการได้อาบน้ำ ในฤกษ์มหากุมภ์ ที่ประยาค สามารถล้างบาปทำให้คนดับสูญได้ โดยที่วงจรการเวียนว่ายตายเกิด จะลัดวงจรสะบั้นลง ไมใครโปรเซสเซอร์ไหม้ตายสนิท ไม่ต้องเกิดมารับใช้กรรม ไม่ว่ารวยหรือจน ให้เป็นที่ทุกข์ทรมานกันอีกต่อไป แต่จะได้รับการอัพเกรด ให้ไปจุติในแดนสวรรค์ เป็นโปรโมชันเพียงอ็อปชันเดียว ส่วนอ็อปชันนรก กับอ็อปชันเวียนว่ายตายเกิด หามีไม่(อย่าอ่านว่า หาไม่มี นะ เพราะมันผวนได้ครับ)
แม้แต่การลอยอังคารบุคคลสำคัญระดับชาติ ในยุคอินเดียประชาธิปไตย เช่น มหาตมะ คานธี เป็นต้น เขาก็มาลอยอังคารท่านกันที่นี่ ฤกษ์อาบน้ำชำระบาปที่ประยาคนี้ นักการเมืองอินเดียสมัยก่อนชอบมาก เพราะได้โอกาสที่จะพบมหาชนนับล้าน ๆ คนในคราวเดียว
อินทิรา ปริยัทรศินี เนห์รู
อินทิรา ปริยัทรศินี เนห์รู ชาตะ พ.ศ. 2460 มรณะ พ.ศ. 2527 สิริรวมอายุ 67 ปี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดีย รอบแรกระหว่าง พ.ศ. 2509-2520 และรอบหลังระหว่าง พ.ศ. 2523-2527 ชีวิตวัยเด็กของเธอ อยู่ในแวดวงผู้นำ ผู้เป็นนักสู้ ผู้สร้างประวัติศาสตร์อินเดียยุคใหม่ ชวาหระลาล เนห์รู ผู้บิดา ดูแลเรื่องการศึกษาของเธออย่างดี ระหว่างที่ถูกจำคุก ก็มีจดหมายมาสั่งสอนลูก เธอได้รับการศึกษาขั้นต้น ที่เมืองปูเณ รัฐมหาราษฎร์ เมืองนี้ตั้งอยู่บนที่ราบสูง อากาศอ่อนโยนเมื่อเทียบกับอะละหะบัดบ้านเกิด ผู้เขียนเคยเดินทางไปอะละหะบัด และได้เขียนเล่าอากาศอันโหดร้าย(โคตรร้อน)ของอะละหะบัด ไว้ในบทความอื่นแล้ว
ต่อมา เธอก็ได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยเปิด ของระพินทร์นาถ ฐากูร สอนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่สันตินิเคตัน ในรัฐเบงกอลตะวันตก เธอผ่านการศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด และที่สวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลว่า ทำไมเธอจึงพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดี
เมื่อกลับมาอินเดีย เธอก็เข้าเป็นสมาชิกพรรคคองเกรส และต่อสู้อย่างอหิงสาเพื่ออิสรภาพอินเดีย เธอถูกจำคุกหกเดือนในพ.ศ. 2485 ครั้น ชวาหระลาล เนห์รู คุณพ่อของเธอได้เป็นนายกรัฐมนตรีอินเดีย หลังจากที่อินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ อินทิรา ปริยัทรศินี ปฎิบัติหน้าที่เสมือนผู้ช่วย หรือเลขานุการ อย่างไม่เป็นทางการ ให้กับนายกรัฐมนตรี เนห์รู
บนเวทีโลก
ภาพทางการเมืองของเธอ เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดบนเวทีการเมืองโลก เมื่อเธอติดตามบิดา ไปประชุมกลุ่มประเทศเอเชีย-อัฟริกา(ประเทศไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด)ในยุคสงครามเย็น ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดเนเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2498
เมืองบันดุงนั้น ผู้เขียนเคยนั่งรถตู้ จากจาการ์ตา ไปเที่ยวครั้งหนึ่ง ใช้เวลาเดินทางเกือบสามชั่วโมง ภูมิอากาศไม่น่าจะแตกต่างจากเมืองปูเณ ในอินเดีย มากนัก ปัจจุบันนี้ สถานที่ประชุมกลุ่มประเทศเอเชีย-อัฟริกา หอประชุม “บันดุง เมอร์เดคา” ในเมืองบันดุง ถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดี ในฐานะพิพิธภัณฑ์
การประชุมบันดุงโด่งดัง ด้วยเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ สหรัฐฯกับไต้หวัน พยายามจะลอบสังหารนายกรัฐมนตรี จู เอน ไล ของจีน ระหว่างที่ท่านผู้นั้นเดินทางไปประชุม แต่ล้มเหลว ที่ประชุมบันดุงก็ได้ยืนยันหลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่จีนกับอินเดียเห็นพ้องร่วมกันที่นั่น อันได้แก่ “หลักปัญจศิล” และหลังจากการประชุมที่บันดุงเสร็จสิ้นลง สาธารณรัฐประชาชนจีน ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก มากขึ้นเป็นลำดับ
เก้าปีหลังจากไปเปิดตัวบนเวทีดัง ที่บันดุง อินทิรา ปริยัทรศินี คานธี จึงได้เข้ารับตำแหน่งทางการเมืองอย่างเป็นทางการ โดยหลังจากที่นายกรัฐมนตรี เนห์รู ถึงแก่กรรม เธอก็ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดีอินเดีย ซึ่งมีสิทธิแต่งตั้งวุฒิสมาชิกได้จำนวนหนึ่ง ให้เป็นสมาชิกในสภาสูง หรือวุฒิสภาของอินเดีย ที่เรียกว่า “ราชย สภา” ( राज्य सभा ) และเธอก็ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี กระทรวงข่าวสารและการแพร่ภาพแพร่เสียง ในคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ลาล พหาทูร ศาสตรี เมื่อพ.ศ. 2507
นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย
ครั้น นายกรมต. ศาสตรี ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2509 อินทิรา คานธี แม้จะช่วยงานบิดามานาน มีชื่อเสียงเด่นบนเวทีการเมือง แต่ก็ไม่ได้มีบทบาททางการเมืองจริงจัง และไม่มีวี่แวว ว่า จะอยู่ในฐานะผู้ที่จะสืบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในเวลานั้น ผู้ที่มีขีดความสามารถพอที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีอินเดีย มีอยู่สองสามคน เช่น โมรารจี เทไส เป็นต้น แต่เพราะความที่เธอมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของชาวภารตะ ประกอบกับผลงานการต่อสู้เพื่ออิสรภาพอินเดียยุคอังกฤษปกครอง หรือยุค “บริทิศ ราช ( ब्रिटिश ताज ) ” ทำให้เธอเข้าตาผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคคองเกรส โดยเฉพาะท่านประธานพรรคฯ นักการเมืองคร่ำหวอดมาจากแดนทมิฬ นาดู นายกัมราช (कामराज) ผู้ขึ้นชื่อว่าเป็น “คิง เมคเกอร์” ในยุคนั้น ผู้เล็งเห็นว่า อินทิรา น่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี “ชั่วคราว” ได้ดี สำหรับช่วงเวลาแห่งการปรับเปลี่ยนทางการเมืองของอินเดีย ที่กำลังผลัดใบจากผู้นำรุ่นเก่า นักต่อสู้สมัยอังกฤษปกครอง ไปสู่หน้าใหม่อีกหน้าหนึ่งของอินเดีย ประกอบกับความมีชื่อเสียงของเธอ ก็จะช่วยพรรคคองเกรสได้ ในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง
ทุกคนคาดผิดหมด เมื่อได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วไม่นาน เธอก็ทำให้ โมรารจี เทไส นักการเมืองดาวเด่นรุ่นใหม่ผู้หนึ่ง ต้องกระเด็นออกไปจากคณะรัฐมนตรีเมื่อพ.ศ. 2512 และเธอก็ไม่ได้พอใจ กับการเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว ของยุคแห่งการปรับเปลี่ยน หรือยุคผลัดใบ แต่เธอต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริงและถาวร ซึ่งเธอก็ทำสำเร็จ ด้วยการอยู่ในตำแหน่งช่วงแรกถึง 11 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2509-2520 และรอบหลังอีก 4 ปี พ.ศ. 2523-2527
อินทิรา ปริยัทรศินี ได้สร้างยุคสมัยของเธอเอง อย่างที่ไม่มีใครในอินเดีย หรือนานาชาติยุคสมัยนั้น จะคาดเดาได้ถูก
เธอทำได้อย่างไรหนอ...
[สนใจป๊ะ? โปรดติดตาม ตอนต่อไป ที่นี่ เร็ว ๆ นี้ ขอบคุณครับ]
อึ้งกิมกี่ ถึงแก่อึ้งกิมกี่
เมื่อรู้ว่าลูกสาว จะแต่งงานกับแขกปาร์ซีค่อนข้างจะโนเนมผู้หนึ่ง ชวาหระลาล เนห์รู ซึ่งเป็นนักการเมืองชั้นแนวหน้า กำลังรุ่ง ผู้เคลื่อนไหวด้วยวิธีอหิงสา เพื่ออิสรภาพอินเดียอยู่ในเวลานั้น จึงได้ติดต่อกับครูใหญ่ของท่าน คือ มหาตมะ คานธี นามสกุลซ้ำกันกับฝ่ายผู้จะมาเป็นเจ้าบ่าว แต่มิได้เป็นเครือญาติกันแต่ประการใด ขอให้ช่วยที ให้สองคนนี้เปลี่ยนใจ แต่ว่า โอ ศิวะนารายณ์ ไม่มีใครช่วยได้
การแต่งงานกับ ฟิโรช ชาฮังคีร์ คานธี แขกปาร์ซีที่มาตั้งรกรากในเมืองอะละหะบัด เมืองภูมิลำเนาของเนห์รู อันเป็นตระกูลพราหมณ์ อาจจะพอเทียบได้คล้ายกับตระกูลพราหมณ์เมืองพัทลุง หรือนครศรีธรรมราช หรือถ้าในกรุงเทพฯ ก็อาจเทียบได้กับสกุล “มกรานนท์” อะไรประมาณนั้น ผิดพลาดขออภัย ผู้เป็นบิดาย่อมยากจะยอมรับได้ เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เป็นการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ฮึดฮัดแข็งขืน อย่างออกหน้าออกตาครั้งแรกของ อินทิรา ปริยัทรศินี เนห์รู
นาม “ปริยัทรศินี” นั้น ระพินทร์นาถ ฐากูร (रबिन्द्रनाथ ठाकुर) เอกกวีแห่งเบงกอล ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติอินเดีย และเป็นคนเอเชียคนแรก ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณคดี เป็นผู้ตั้งชื่อให้ ปริยะ = งาม น่านิยม ต้องตาต้องใจ ทรศินี = พิศ มอง แลดู
ตำบลประยาค อะละหะบัด บ้านเกิด
เมืองอะละหะบัด บ้านของตระกูลเนห์รู เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งเมืองหนึ่งในศาสนาฮินดู ที่รวมของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ น่าขนลุกขนพองสามสาย คือ คงคา ยมุนา และสรัสวดี โดยที่แม่น้ำสรัสวดีนั้น เป็นแม่น้ำในคัมภีร์ แม่น้ำตามตำนานปรัมปรา ไหลอยู่ใต้ดิน ไม่มีใครมองเห็น ได้ยินแต่ชื่อ แม่น้ำลึกลับแต่ว่าแจ้งอยู่ในความนับถือศรัทธาสายนี้ ไหลขึ้นจากใต้พื้นพสุธา มาบรรจบกับพระแม่คงคาและยมุนา ที่ตำบล “ประยาค” ( प्रयाग ) ชื่อเดิมภาษาสันสกฤตของอะละหะบัด
เพราะฉะนั้น จึงมีฤกษ์สำหรับลงไปอาบน้ำที่ประยาค ฤกษ์นี้คำนวณจากการโคจรของดาวพฤหัส(बृहस्पति) ตามโหราศาสตร์ฮินดู โดยที่ฤกษ์ดีมาก ๆ จะตกทุก 3 ปี 6 ปี 12 ปี และ 144 ปี โดยเฉพาะฤกษ์ 144 ปีที่เรียกว่าฤกษ์ “มหากุมภ์” ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ออว์ซัมที่สุด ต้องจาริกมาแสวงบุญ ฉลองที่อะละหะบัดเท่านั้น ส่วนฤกษ์รอง ๆ ลงไป สามารถฉลองกันได้ตามแหล่งอื่นอีกสามแห่งในภารตะแลนด์ ฤกษ์ครบรอบ 144 ปี “มหากุมภ์” ครั้งล่าสุดเร็ว ๆ นี้คือเมื่อ พ.ศ. 2544 มีคนมาชุมนุมกันกว่า 60 ล้านคน ตำบล “ประยาค” ต่อมาได้กลายเป็นชุมชนเมืองเก่าแก่บุร่ำบุราณ คู่กับพาราณสี เคารพนับถือกันว่าเป็นที่ ๆ หยดหนึ่งน้ำมนตร์ จากหม้อน้ำ(กุมภ์ = कुम्भ)ของพระพรหมณ์ เมื่อคราวสร้างโลก หยดลงมาต้องพื้นปฐพี
ขณะที่พระพุทธเจ้าสอนว่า นิพพาน ทำให้คนดับสูญไม่เกิดอีกต่อไป แต่พราหมณ์บอกว่าการได้อาบน้ำ ในฤกษ์มหากุมภ์ ที่ประยาค สามารถล้างบาปทำให้คนดับสูญได้ โดยที่วงจรการเวียนว่ายตายเกิด จะลัดวงจรสะบั้นลง ไมใครโปรเซสเซอร์ไหม้ตายสนิท ไม่ต้องเกิดมารับใช้กรรม ไม่ว่ารวยหรือจน ให้เป็นที่ทุกข์ทรมานกันอีกต่อไป แต่จะได้รับการอัพเกรด ให้ไปจุติในแดนสวรรค์ เป็นโปรโมชันเพียงอ็อปชันเดียว ส่วนอ็อปชันนรก กับอ็อปชันเวียนว่ายตายเกิด หามีไม่(อย่าอ่านว่า หาไม่มี นะ เพราะมันผวนได้ครับ)
แม้แต่การลอยอังคารบุคคลสำคัญระดับชาติ ในยุคอินเดียประชาธิปไตย เช่น มหาตมะ คานธี เป็นต้น เขาก็มาลอยอังคารท่านกันที่นี่ ฤกษ์อาบน้ำชำระบาปที่ประยาคนี้ นักการเมืองอินเดียสมัยก่อนชอบมาก เพราะได้โอกาสที่จะพบมหาชนนับล้าน ๆ คนในคราวเดียว
อินทิรา ปริยัทรศินี เนห์รู
อินทิรา ปริยัทรศินี เนห์รู ชาตะ พ.ศ. 2460 มรณะ พ.ศ. 2527 สิริรวมอายุ 67 ปี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดีย รอบแรกระหว่าง พ.ศ. 2509-2520 และรอบหลังระหว่าง พ.ศ. 2523-2527 ชีวิตวัยเด็กของเธอ อยู่ในแวดวงผู้นำ ผู้เป็นนักสู้ ผู้สร้างประวัติศาสตร์อินเดียยุคใหม่ ชวาหระลาล เนห์รู ผู้บิดา ดูแลเรื่องการศึกษาของเธออย่างดี ระหว่างที่ถูกจำคุก ก็มีจดหมายมาสั่งสอนลูก เธอได้รับการศึกษาขั้นต้น ที่เมืองปูเณ รัฐมหาราษฎร์ เมืองนี้ตั้งอยู่บนที่ราบสูง อากาศอ่อนโยนเมื่อเทียบกับอะละหะบัดบ้านเกิด ผู้เขียนเคยเดินทางไปอะละหะบัด และได้เขียนเล่าอากาศอันโหดร้าย(โคตรร้อน)ของอะละหะบัด ไว้ในบทความอื่นแล้ว
ต่อมา เธอก็ได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยเปิด ของระพินทร์นาถ ฐากูร สอนในห้องเรียนธรรมชาติ ที่สันตินิเคตัน ในรัฐเบงกอลตะวันตก เธอผ่านการศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด และที่สวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลว่า ทำไมเธอจึงพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดี
เมื่อกลับมาอินเดีย เธอก็เข้าเป็นสมาชิกพรรคคองเกรส และต่อสู้อย่างอหิงสาเพื่ออิสรภาพอินเดีย เธอถูกจำคุกหกเดือนในพ.ศ. 2485 ครั้น ชวาหระลาล เนห์รู คุณพ่อของเธอได้เป็นนายกรัฐมนตรีอินเดีย หลังจากที่อินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ อินทิรา ปริยัทรศินี ปฎิบัติหน้าที่เสมือนผู้ช่วย หรือเลขานุการ อย่างไม่เป็นทางการ ให้กับนายกรัฐมนตรี เนห์รู
บนเวทีโลก
ภาพทางการเมืองของเธอ เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดบนเวทีการเมืองโลก เมื่อเธอติดตามบิดา ไปประชุมกลุ่มประเทศเอเชีย-อัฟริกา(ประเทศไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด)ในยุคสงครามเย็น ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดเนเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2498
เมืองบันดุงนั้น ผู้เขียนเคยนั่งรถตู้ จากจาการ์ตา ไปเที่ยวครั้งหนึ่ง ใช้เวลาเดินทางเกือบสามชั่วโมง ภูมิอากาศไม่น่าจะแตกต่างจากเมืองปูเณ ในอินเดีย มากนัก ปัจจุบันนี้ สถานที่ประชุมกลุ่มประเทศเอเชีย-อัฟริกา หอประชุม “บันดุง เมอร์เดคา” ในเมืองบันดุง ถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดี ในฐานะพิพิธภัณฑ์
การประชุมบันดุงโด่งดัง ด้วยเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ สหรัฐฯกับไต้หวัน พยายามจะลอบสังหารนายกรัฐมนตรี จู เอน ไล ของจีน ระหว่างที่ท่านผู้นั้นเดินทางไปประชุม แต่ล้มเหลว ที่ประชุมบันดุงก็ได้ยืนยันหลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่จีนกับอินเดียเห็นพ้องร่วมกันที่นั่น อันได้แก่ “หลักปัญจศิล” และหลังจากการประชุมที่บันดุงเสร็จสิ้นลง สาธารณรัฐประชาชนจีน ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก มากขึ้นเป็นลำดับ
เก้าปีหลังจากไปเปิดตัวบนเวทีดัง ที่บันดุง อินทิรา ปริยัทรศินี คานธี จึงได้เข้ารับตำแหน่งทางการเมืองอย่างเป็นทางการ โดยหลังจากที่นายกรัฐมนตรี เนห์รู ถึงแก่กรรม เธอก็ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดีอินเดีย ซึ่งมีสิทธิแต่งตั้งวุฒิสมาชิกได้จำนวนหนึ่ง ให้เป็นสมาชิกในสภาสูง หรือวุฒิสภาของอินเดีย ที่เรียกว่า “ราชย สภา” ( राज्य सभा ) และเธอก็ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี กระทรวงข่าวสารและการแพร่ภาพแพร่เสียง ในคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ลาล พหาทูร ศาสตรี เมื่อพ.ศ. 2507
นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย
ครั้น นายกรมต. ศาสตรี ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2509 อินทิรา คานธี แม้จะช่วยงานบิดามานาน มีชื่อเสียงเด่นบนเวทีการเมือง แต่ก็ไม่ได้มีบทบาททางการเมืองจริงจัง และไม่มีวี่แวว ว่า จะอยู่ในฐานะผู้ที่จะสืบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในเวลานั้น ผู้ที่มีขีดความสามารถพอที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีอินเดีย มีอยู่สองสามคน เช่น โมรารจี เทไส เป็นต้น แต่เพราะความที่เธอมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของชาวภารตะ ประกอบกับผลงานการต่อสู้เพื่ออิสรภาพอินเดียยุคอังกฤษปกครอง หรือยุค “บริทิศ ราช ( ब्रिटिश ताज ) ” ทำให้เธอเข้าตาผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคคองเกรส โดยเฉพาะท่านประธานพรรคฯ นักการเมืองคร่ำหวอดมาจากแดนทมิฬ นาดู นายกัมราช (कामराज) ผู้ขึ้นชื่อว่าเป็น “คิง เมคเกอร์” ในยุคนั้น ผู้เล็งเห็นว่า อินทิรา น่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี “ชั่วคราว” ได้ดี สำหรับช่วงเวลาแห่งการปรับเปลี่ยนทางการเมืองของอินเดีย ที่กำลังผลัดใบจากผู้นำรุ่นเก่า นักต่อสู้สมัยอังกฤษปกครอง ไปสู่หน้าใหม่อีกหน้าหนึ่งของอินเดีย ประกอบกับความมีชื่อเสียงของเธอ ก็จะช่วยพรรคคองเกรสได้ ในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง
ทุกคนคาดผิดหมด เมื่อได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วไม่นาน เธอก็ทำให้ โมรารจี เทไส นักการเมืองดาวเด่นรุ่นใหม่ผู้หนึ่ง ต้องกระเด็นออกไปจากคณะรัฐมนตรีเมื่อพ.ศ. 2512 และเธอก็ไม่ได้พอใจ กับการเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว ของยุคแห่งการปรับเปลี่ยน หรือยุคผลัดใบ แต่เธอต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริงและถาวร ซึ่งเธอก็ทำสำเร็จ ด้วยการอยู่ในตำแหน่งช่วงแรกถึง 11 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2509-2520 และรอบหลังอีก 4 ปี พ.ศ. 2523-2527
อินทิรา ปริยัทรศินี ได้สร้างยุคสมัยของเธอเอง อย่างที่ไม่มีใครในอินเดีย หรือนานาชาติยุคสมัยนั้น จะคาดเดาได้ถูก
เธอทำได้อย่างไรหนอ...
[สนใจป๊ะ? โปรดติดตาม ตอนต่อไป ที่นี่ เร็ว ๆ นี้ ขอบคุณครับ]
บลอก www.devnapya.blogspot.com ของผม โดนแฮ็คไปแล้ว โพสต์เดิมยังอ่านได้ แต่เจ้าของไม่มีสิทธิ์ เข้ามาโพสต์ เพราะเขาลัก password ของผมไปแล้ว
ตอบลบผมได้สร้างบล็อกใหม่ โปรดแวะชม ที่
www.pricha123.blogspot.com
-ขอบคุณครับ