"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓

Entrepreneur ในภาษาฝรั่งเศส-วิจารณ์

โดย เดฟ นาพญา
เราพิจารณาเรื่องรูปของคำกันก่อนน่าจะดี ส่วนความหมายของคำว่ากันทีหลังยังไม่เอาใจใส่-เดี๋ยวเราจะยุ่ง ซึ่งทำให้เราพบว่าแม้ในภาษาฝรั่งเศสที่เป็นต้นตอ คำ ๆ นี้ก็มีลูกหลอก กล่าวคือเราจะหา คำกิริยา ตรง ๆ ของคำนามคำนี้ไม่เจอ เราจะพบแต่คำกิริยาที่เพี้ยนออกไปเล็กน้อย คือคำกิริยาว่า “entreprendre”(อัง-เถรอะ-ปร็อง-เดรอะ) อันที่จริงคำนามที่ตรงกับรูปของคำกิริยา entreprendre คือ “entreprendeur” มีอักษร “d” แทรกอยู่ด้วยเช่นเดียวกับอักษร “d” ที่มีอยู่ในคำกิริยาอันเป็นรากศัพท์ แต่คำนามคำที่มีอักษร “d” แทรกอยู่ด้วยนี้เป็นคำโบราณที่เคยปรากฏใน(คริสต์)ศตวรรษที่ 13 ประมาณปลายกรุงสุโขทัยเหลื่อมกับต้นอยุธยา ครั้นถึงประมาณรัชกาลเจ้าสามพระยาเมื่อ ค.ศ. 1430 คำว่า entrepreneur ของเรา(ปราศจาก “d”) ก็ปรากฏขึ้นมาแทนที่ ส่วนคำโบราณว่า “entreprendeur” หายตัวไปเลย ไม่มีให้เราได้พบเห็นกันอีกในภาษาฝรั่งเศสสมัยใหม่

หันมามองความหมายกันบ้าง คำกิริยา entreprendre ไม่ใช่คำลึกลับ แต่มาจากคำรากที่ดาษดื่นเกลื่อนตลาดเอามาก ๆ เพราะเกิดจาก entre + prendre ท่านผู้อ่านนิตยสาร MBA จำนวนไม่น้อยที่เคยเรียนภาษาฝรั่งเศสกันมา หลายท่านก็จะรู้ภาษาฝรั่งเศสดีกว่าผู้เขียนด้วยซ้ำ เราย่อมจำกันได้ว่าเพียงชั่วโมงแรก ๆ ผ่านไป ครูก็จะนำคำกิริยา “prendre” มาสอน และเราก็ต้องเริ่มท่องจำรูปและเสียงของ การผันคำกิริยา คำนี้กันแล้ว ว่า

je prends
tu prends
il prend
nous prenons
vous prenez
ils prennent

คำกิริยา “prendre” มีความหมายหลักความหมายหนึ่งละม้ายคำกิริยาภาษาไทยว่า “เอา” แถมตามความหมายที่ว่านี้ก็มีที่ใช้มั่วทั่วไปหมดคล้าย ๆ กันอีกด้วย จนเป็นเหตุให้จะต้อง.........................

(โปรดติดตามอ่านบทความเนื้อเต็ม ในนิตยสาร MBA ฉบับกันยายน 53)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น