โดย เดฟ นาพญา
[บทความ-โพสต์ทั้งบท]
รถไฟด่วนขบวนกลางคืนออกจากกัลกัตตา แล่นมาตลอดทั้งคืนกระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้น เวลาสายแก่ ๆ ก็ชะลอความเร็วเข้าเทียบชานชลาสถานีอัลละหะบัด ซึ่งก่อนจะเดินทางมาผู้เขียนก็ได้กดซอฟแวร์ กูเกิ้ล เอิร์ธ ตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียม ดูทางหนีทีไล่ของสถานี พบว่าเป็นสถานีใหญ่และทางหนีทีไล่ที่สำคัญสำหรับคนเดินทางแบกเป้ใบเดียวแบบผู้เขียน ก็คือต้นสายรถเมล์อยู่ไม่ไกลจากบริเวณหน้าสถานีรถไฟ (-แบบนี้ค่อยยังชั่วหน่อย)
มาทำไม? เมืองอัลละหะบัดมีความสำคัญต่ออินเดียตั้งแต่โบราณมาจนปัจจุบัน ทั้งความสำคัญด้านจิตวิญญาณและด้านเทคโนโลยี จนไม่สามารถจะประมวลมาเขียนได้หมดในบทความชิ้นเล็ก ๆ ชิ้นนี้ จึงตัดสินใจว่าจะไม่เขียนถึงอัลละหะบัดแล้วกัน เพราะอัลละหะบัดไม่ใช่จุดหมายปลายทาง เป็นเพียงเมืองที่เป็นทางรถไฟผ่านเพื่อมาต่อรถเมล์ไปโกสัมพีเท่านั้น
เมื่อได้กด กูเกิ้ล เอิร์ธ ดูภาพถ่ายดาวเทียมอีกครั้งก็พบว่า เมืองโกสัมพี ( ) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนานั้น ในเวลานี้ที่ดาวเทียมถ่ายให้ดู เห็นว่าเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้กับโกสัมพีได้แก่เมืองอัลละหะบัด แล้วแม่น้ำยมุนาก็ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำคงคาตรงใจกลางชมพูทวีปที่เมืองนี้ ครั้นตรวจสอบแผนที่ภาคพื้นดินก็พบว่า ใช่แล้ว...ถ้าจะไปโกสัมพีต้องมาที่นี่ก่อน แล้วจะสะดวกในการหาพาหนะเดินทางต่อไป และเมื่อศึกษาตารางรถไฟอินเดียแล้วก็ทราบว่าจากกัลกัตตานั้น ถ้าจะไปโกสัมพีให้ลงรถไฟที่อัลละหะบัดจะสะดวกที่สุด และจากกัลกัตตาก็มีรถไฟขบวนค่ำชื่อ
”เฮาราห์ มุมไบ เมล์” ซึ่งจะมาถึงอัลละหะบัดช่วงสายแก่ ๆ ของวันรุ่งขึ้น
พอก้าวพ้นชายคาสถานีรถไฟออกไปที่ลานหน้าสถานี เพื่อจะไปหารถเมล์ (ตอนนั้นยังไม่รู้เหมือนกันว่า อยู่ไหนแน่?) เพียงก้าวเท้าพ้นร่มเงาของชายคา เพื่อนที่เดินทางไปด้วยกันร้องจ้าก...อากาศร้อนสุด ๆ ร้อนอบอ้าวเผาผิวหนังเหมือนเดินอังไฟ เพื่อนร่วมทางครั้งนั้นไม่เคยไปทะเลทรายอาระเบีย ไม่เคยไปทะเลทรายซะฮารา และไม่เคยไปทะเลทรายธาระแบบผู้เขียน จึงต้องร้องจ้ากเป็นธรรมดา แต่ประสบการณ์จากการที่เคยเดินทางทะเลทรายทำให้ผู้เขียนคะเนว่า ร้อนแบบนี้น่าจะประมาณกว่าสี่สิบองศา ใกล้ ๆ 50 องศาเซลเซียส และที่มาที่นี่นั้นก็เพราะความฝันและจินตนาการชักนำให้มาแท้ ๆ เลย ไม่ได้มีเหตุผลอื่น...
"กามนิต ที่เห็นเป็นแถบทองโน่น คือแม่น้ำยมุนาและแม่คงคาอันศักดิ์สิทธิ์ กระแสน้ำทั้งสองมารวมกันตรงหน้าเราอยู่นี้"
ข้าพเจ้ายกมือขึ้นจบบูชา..............................
ท่านราชทูตกล่าวต่อไปว่า "ที่เจ้าแสดงความเคารพเช่นนั้นเป็นการดีแล้ว เพราะแม่คงคามาจากแดนแห่งทวยเทพ อันอยู่กลางเขาซึ่งมีหิมะปกคลุมทางอุตรประเทศ แล้วไหลดุจกล่าวว่ามาจากแดนสวรรค์ ส่วนแม่น้ำยมุนานั้นเล่า ไหลมาจากแดนอันขจรนามแต่กาลไกลสมัยมหาภารตะ น้ำแห่งแม่น้ำยมุนาย่อมล้นไหลผ่านหัสดินปุระ ซึ่งปรักหักพังแล้ว และท่วมลบทุ่งกุรุ ซึ่งปาณฑพพี่น้องกับพวกเการพได้ทำสงคราม เพื่อชิงชัยในความเป็นใหญ่ ณ ที่ตรงนั้น พระกฤษณะเป็นสารถีขับรถรบให้พระอรชุน
ข้อความตัวเอนที่คัดมา ได้มาจากหนังสือ “กามนิต” ของ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป คำว่ากระแสน้ำทั้งสองมารวมกันตรงหน้าเราอยู่นี้...นั่นหมายถึงที่เมืองอัลละหะบัดในปัจจุบัน แต่ก่อนที่กามนิตจะเดินทางมาถึงตำบลนี้ได้ ก็ได้ผ่านเมืองโกสัมพีมาก่อนแล้ว ซึ่งช่วงที่มาถึงโกสัมพี หนังสือบรรยายว่า
พอข้าพเจ้าเห็น ก็ออกอุทาน เพราะมองไปทางหัวเลี้ยวแม่คงคา ก็เห็นกรุงโกสัมพีดูงดงามมาก เห็นกำแพงปราการบ้านเรือนสลับสล้างดูเป็นลดหลั่น มีเชิงเทินท่าน้ำท่าเรือต้องแสงแดดในเวลาอัสดง ดูประหนึ่งว่าเป็นเมืองทอง ส่วนยอดปราสาทเป็นทองแท้ก็ส่องแสงดูดั่งว่ามีอาทิตย์อยู่หลายดวง ควันไฟสีดำแดงพลุ่ง ๆ ขึ้นจากลานเทวสถานถัดลงไปข้างล่างริมฝั่งน้ำ เห็นควันสีเขียวอ่อนลอยขึ้นมาจากอสุภที่กำลังเผาในลำน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งฉายเงาแห่งสถานที่ต่าง ๆ ลงไปเห็นกระเพื่อม ๆ มีเรือน้อยใหญ่นับไม่ถ้วนมีใบและธงทิวสีต่าง ๆ แลดูงามตา ตรงท่าน้ำเห็นอยู่ไกล ประชาชนอาบน้ำอยู่มากมายนาน ๆ ได้ยินเสียงคนพูดดังหึ่ง ๆ คล้ายเสียงผึ้ง
ขอให้ท่านผู้เจริญคิดดูเถิด ข้าพเจ้ารู้สึกคล้ายกับว่าได้มองเห็นเทวโลก ยิ่งกว่าได้เห็นเมืองมนุษย์ แท้จริงลุ่มน้ำแม่คงคาทั้งหมดนี้ มีความงามดูเป็นสรวงสวรรค์อันปรากฏให้เห็นขึ้นแก่ตาข้าพเจ้า
ส่วนผู้เขียนนั้นเดินทางสวนกลับกับหนังสือ คือมาลงรถไฟที่อัลละหะบัด เมืองที่แม่น้ำยมุนาไหลรวมกับคงคา แล้วจึงค่อยเดินทางด้วยรถตุ๊ก ๆ อินเดีย ตากอากาศอันร้อนสุด ๆ กว่าสี่สิบองศาเซลเซียส-ชัวร์ เลาะผ่านทุ่งนาแห้งแล้งระอุไอแดดและละอองฝุ่น ผ่านหมู่บ้านร้อนอ้าวราวกับวิ่งผ่าเตาอบ เลี้ยวเลาะไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาราวสองชั่วโมงเศษ ๆ ปานจะตับแตก จึงจะถึงโกสัมพี ซึ่งเป็นโบราณสถานมีแต่เนินดิน กับการขุดค้นที่ยังทำไม่ทั่ว ที่เห็นโดดเด่นอยู่เดี่ยว ๆ เหมือนตาลเดี่ยวยอดด้วน คือเสาหินพระเจ้าอโศก ปักอยู่กลางเมือง ซึ่งก็คือปักอยู่บนหย่อมเนินดินที่มีการขุดค้นไปบ้างแล้วนั้น กระนั้นก็ดี ผู้เขียนก็เกิดปิติและสุขใจที่ได้เดินทางมาถึงเมืองโบราณโกสัมพี ที่สุขใจมากที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อมองลงไปจากเนินอันเป็นที่ตั้งโกสัมพี ผ่านหมู่บ้านเล็ก ๆ เลยไปเบื้องหน้าโน้น...ก็ได้เห็นแม่น้ำยมุนาเป็นครั้งแรกในชีวิต
โกสัมพีตามข้อมูลประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่ตามจินตนาการดังว่าไว้ในนิยาย ก็เป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาลด้วยซ้ำ เพราะอะไร? โกสัมพีเมืองหลวงของแคว้นวังสะ หนึ่งใน 16 อาณาจักรในมัชฌิมชนบท(หรือ มัธยมประเทศ)ในสมัยพุทธกาล ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ก่อนที่ยมุนาจะไหลไปรวมกับแม่น้ำคงคา เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่ราบกว้างใหญ่ ที่เรียกว่าที่ราบแม่น้ำคงคา(Gangetic Plain) กล่าวโดยคร่าว ๆ ก็คือเขตมัชฌิมชนบทสมัยโบราณทั้งหมด ซึ่งนับมาแต่ริมฝั่งน้ำสินธุในปากีสถานปัจจุบัน พาดผ่านอินเดียเหนือและไปสุดที่ปากแม่น้ำคงคาตรงต่อแดนกับบังคลาเทศ ที่ราบผืนใหญ่ผืนนี้คือที่อยู่ของเผ่าอริยะกะ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำให้แก่ดินแดนภารตะมานานก่อนยุคพุทธกาล และโกสัมพีตั้งอยู่ตรงกลางที่ราบดังกล่าว เส้นทางการค้าจากตะวันตกไปตะวันออกคือตั้งแต่ทะเลทรายธาระไปยังอ่าวเบงกอลก็ดี หรือเส้นทางทางเหนือจากเทือกเขาหิมาลัยมุ่งลงใต้ข้ามภูเขาวินธัยก็ดี มาตัดกันเป็นสี่แยกที่เมืองโกสัมพี พระถังซัมจั๋งก็เคยเดินทางมาถึงโกสัมพีและได้เขียนรายงานพรรรณนาไว้ สำหรับคนที่ชอบกินไวน์ก็ดี เบียร์ก็ดี หรือเหล้าขาวก็ดี ก็โปรดทราบไว้ด้วยว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติศิลข้อห้ามดื่มเมรัย ที่เมืองโกสัมพีนี้ ส่วนทั้งคนเมาและคนไม่เมา เมาแล้วขับหรือไม่ขับก็ตาม รวมไปถึงเทพและโคกระบือ ตลอดจนพวกกระดาษดินสอ ทิชชู่ เครื่องเล่นเอ็มพี3 แผ่นซีดี คีย์บอร์ดและเม้าส์ ที่ชอบอาฆาตจองเวรกันและกัน ก็โปรดทราบไว้ด้วยว่า คำพูดที่ว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” เป็นคติพุทธที่บัญญัติขึ้นที่เมืองโกสัมพีเช่นเดียวกัน โห เรื่องพวกนี้ถ้าได้เขียนบ่อย ๆ เข้า ผู้เขียนมีสิทธิขลังและเฮี้ยนได้นะ ทำเล่นไป
ในครั้งพุทธกาล เพราะความใหญ่โตมั่งคั่งของเมืองโกสัมพี ทำให้มีวัดใหญ่ในเมืองอยู่ถึงสี่วัดและวัดหนึ่งก็คือวัด “โฆสิตารามมหาวิหาร” ซึ่งโฆสกเศรษฐีเป็นผู้สร้าง
สำหรับวัดระฆังโฆสิตารามในกรุงเทพฯปัจจุบันนี้นั้น นาม “โฆสิตาราม” มาจากชื่อวัดโฆสิตารามในเมืองโกสัมพีดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ส่วนคำว่า “ระฆัง” มาจากชื่อวัดระฆังในกรุงศรีอยุธยา(และประกอบกับที่ได้พบระฆังใหญ่ที่วัดนี้) ต่อไปนี้ผู้เขียนจะเรียกวัดโฆสิตารามในโกสัมพีว่า “วัดระฆัง” บ้าง เพื่อแก้เบื่อและเพื่อสร้างบรรยากาศเป็นกันเองกับประวัติศาสตร์โบราณ ไม่ให้เรื่องราวคร่ำครึในความรู้สึกจนเกินไป(=old and boring) ทั้ง ๆ ที่เนื้อหาของเรื่องอันได้แก่ “the shcism at Kosambi” หรือความแตกแยกของสงฆ์ที่โกสัมพีนั้นโคตรทันสมัย และวัดที่สงฆ์แตกแยกกันจนเป็นเรื่องราวใหญ่โตในยุคพุทธกาล ก็คือวัดโฆสิตาราม ขนาดว่าล่วงมาเกือบสามร้อยปีหลังจากเหตุการณ์นั้น ในรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช ก็ยังโปรดให้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความแตกแยกแห่งสงฆ์ที่โกสัมพีโบราณก่อนยุคสมัยพระองค์ท่าน ไว้กับเสาหินพระเจ้าอโศกที่ปักอยู่กลางเมืองโกสัมพี มรดกวัตถุธรรมที่อนุชนศึกษากันได้จนตราบเท่าทุกวันนี้ อนุสรณ์ชิ้นนั้นเป็นเครื่องยืนยันว่า the shcism at Kosambi น่าจะเป็นความแตกแยกครั้งสำคัญในพุทธศาสนา
แตกแยกกันด้วยเหตุผลกลอันใด? หลายแหล่งข้อมูลที่ค้นพบต่างก็ชี้เป็นเสียงเดียวกันว่า แตกแยกกันด้วยเรื่องที่ว่าการกระทำของภิกษุรูปหนึ่งนั้นเป็น “อาบัติ หรือไม่อาบัติ” เพราะฉะนั้นเรื่องของความแตกแยกนี้ เราจึงพบได้ในพระไตรปิฎกส่วนที่เป็นวินัยปิฎก ซึ่งเป็นปิฎกที่ว่าด้วยวินัยสงฆ์ ไม่ใช่มาจากส่วนที่เป็นพระสูตรแบบเรื่องราวอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไปที่เรามักได้ยินได้ฟังกัน พระพุทธเจ้าได้ใช้ “moral authority” หรือ “บารมีเชิงศิลธรรมจรรยา” ไปว่ากล่าวตักเตือนสงฆ์ในวัดโฆสิตาราม นครโกสัมพี ถึงสามครั้งสามหน
แต่ พระเหล่านั้นก็หาได้หยุดทะเลาะเบาะแว้งกันไม่
สมดังคำพังเพย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ใคร่จะมีใครกล้าพูด ที่ว่า
“ รวมกัน ไม่ใช่ แข..........................................................................ก ”
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของบทสนทนาอันเนื่องด้วยเหตุที่เกิดสังฆเภท(สงฆ์แตกกัน) ที่วัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี (-คัดจากพระไตรปิฎก ให้ท่านผู้อ่านได้อ่านเอาเอง ผู้เขียนไม่ขอตีความครับ)
พระอุบาลี. สังฆสามัคคีมีเท่าไร พระพุทธเจ้า?
พระพุทธเจ้า. อุบาลี สังฆสามัคคีมี ๒ อย่าง คือ สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ ๑
สังฆสามัคคีได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะ ๑
๑. อุบาลี สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะเป็นไฉนเล่า?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์
ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด
สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุจากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี
นี้เรียกว่าสังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ.
๒. อุบาลี สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะเป็นไฉนเล่า?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์
ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด
สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นี้เรียกว่า
สังฆสามัคคีที่ได้ทั้งอรรถ ได้ทั้งพยัญชนะ อุบาลี สังฆสามัคคี ๒ อย่างนี้แล.
เมื่อใช้ “moral authority” ไม่ได้ผล พระพุทธเจ้าก็เสด็จเข้าป่าไป คือ ไปจำพรรษาอยู่ในป่านอกเมืองโกสัมพี พอออกพรรษาก็เสด็จขึ้นเหนือ ไปประทับที่เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล ซึ่งอยู่ตีนเขาหิมาลัยโน่นเลย ต้องเดินข้ามทุ่งราบแม่น้ำคงคา(Gangetic Plain) ไปเป็นระยะทางนับร้อย ๆ กิโลเมตร
เมื่อ moral authority ใช้ไม่ได้ผล ก็มีการงัดเอา political authority ขึ้นมาจัดการกับพวกหลวงพี่ที่วัดโฆสิตาราม กล่าวคือ ประชาชนชาวเมืองโกสัมพีต่างพากันส่งเอสเอ็มเอส หรือทำ texting หรือส่งอีเมล์ หรือทวีทเตอร์ หรือเขียนวอลล์ในเฟสบุค หรืออัพโหลดคลิป ที่มีเนื้อหาแอนตี้พระวัดโฆสิตาราม ทั้งหมดนั้นอ่านดูก็รู้แล้วว่าผู้เขียนบทความนี้เขียนมั่ว ๆ ไปงั้นเอง แต่ว่าข้อเท็จจริงมีว่า ชาวบ้านได้รวมหัวกันกระทำการดังต่อไปนี้ 1.ไม่ใส่บาตรพระวัดนั้น 2.ไม่ไหว้พระวัดนั้น 3.ไม่พูดด้วยกับพระวัดนั้น (ทั้งหมดนี้เป็นความจริงตามเอกสารประวัติศาสตร์) ครั้นโดนแรงกดดันทางการเมืองในรูปดังกล่าว พวกพระที่สมณสารูปห่วยแตก ไม่แสวงความวิเวกแต่ชอบวิวาท ต่างก็ตกอยู่ในสภาพ “จ๋อยสนิท...” เพราะว่าหิวข้าว เนื่องจากไม่มีใครใส่บาตร มาม่าไม่ต้องพูดถึงเพราะยังไม่มีขาย จึงยกพวกพากันเดินข้ามทุ่งราบแม่น้ำคงคา(Gangetic Plain) ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองสาวัตถี และดีต่อกันแต่นั้นมา-สาธุ
ฮัน ซูหยิน กับ เหลา เชอะ เป็นนักเขียนนวนิยายจีนสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก(หมายถึงโลกตะวันตก) แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ เหลา เชอะ และงานชื่อ ซึ่งจะได้ยกขึ้นมาเทียบกับเรื่องพระไม่วิเวกแต่ชอบวิวาทที่โกสัมพี สำหรับท่านที่อ่านหนังสือจีนไม่ออกเช่นเดียวกับผู้เขียนบทความนี้ โปรดใจเย็น ๆ ให้พิจารณาความงดงามของตัวอักษรไปพลางก่อน -ในขั้นต้นจะขอแนะนำสั้น ๆ เกี่ยวกับตัวนักเขียนเพื่อประโยชน์สำหรับบางท่าน ที่อาจจะยังไม่เคยมีคนแนะนำให้รู้จักนักเขียนคนสำคัญของจีนในศตวรรษที่ 20 ผู้นี้
เหลา เชอะ เป็นนักเขียนที่ผู้เขียนบทความนี้ประทับใจมากกว่า ฮัน ซูหยิน ทั้ง ๆ ที่ ฮัน ซูหยิน พูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่องแคล่ว และเมื่อผู้เขียนเป็นนักเรียนในฝรั่งเศส เธอก็เคยเดินทางไปที่นั่น พร้อมกับให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนนานนับชั่วโมง เธอพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดีเพราะเธอเป็นลูกครึ่งจีน-เบลเยี่ยม
ชีวิตของเหลา เชอะ นั้น อ่านทีไรก็รู้สึกสะเทือนใจทุกทีไป เพราะว่าได้เคยได้ยินชื่อเสียงและผลงานของท่านมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงเทพฯยังมีโรงหนังโอเดียนที่ฉายภาพยนตร์จีน หนังที่สร้างจากนวนิยายชื่อดังของท่านก็ได้เคยเข้ามาฉายที่กรุงเทพฯ คือภาพยนตร์สะเทือนอารมณ์เรื่อง “คนลากรถ”
ชีวิตของเหลา เชอะ สะท้อนชีวิตของประเทศจีนทั้งประเทศ ในยุคที่เมืองจีนตกอยู่ในภาวะมืดมนอนธกาล หลังจากถูกฝรั่งรังแกแล้วก็ถูกญี่ปุ่นรังแกซ้ำอีก เราคงจะไม่สามารถสรุปบทเรียนประวัติศาสตร์จีนช่วงนั้นในบทความสั้น ๆ ชิ้นนี้ได้ ก็จะขอกล่าวถึงเฉพาะแต่ชีวิตของ เหลา เชอะ เท่านั้น
เหลา เชอะ เกิดที่ปักกิ่ง ปี 1899 / พ.ศ. 2442 ตรงกับสมัย ร.5 ตอนปลายรัชกาล เหลา เชอะ ตายที่กรุงปักกิ่งในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมเมื่อปี 1966 / พ.ศ. 2509 รวมอายุได้ 67 ปี งานที่มีชื่อเสียงได้แก่นวนิยายเรื่อง “คนลากรถ” ซึ่งฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษเคยเป็นหนังสือขายดีอันดับต้น ๆ ที่สหรัฐอเมริกาในปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนบทละครที่มีชื่อคือ “โรงน้ำชา” เปิดการแสดงครั้งหลังในสหรัฐฯเมื่อปี 2548 นี่เอง ที่ศูนย์ศิลปะการแสดง เคนเนดี กรุงวอชิงตัน ดีซี (the Kennedy Center for Performing Arts, Washington DC) แสดงโดยคณะละครจากปักกิ่ง และเมื่อประมาณนานปีมาแล้วชมรมละครของ AUA ที่กรุงเทพฯ ก็เคยทำละครเรื่องนี้ซึ่งมีตัวแสดงประกอบเยอะ เพื่อนในชมรมนั้นก็ได้มาชวนผู้เขียนไปเล่นเป็นตัวประกอบอยู่ในโรงน้ำชานั้นด้วย ทุกวันนี้ที่กรุงปักกิ่ง โรงน้ำชาของ เหลา เชอะ เปิดกิจการต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นโรงน้ำชาที่จัดสร้างขึ้นมาใหม่ ไม่มีอะไรเกี่ยวกับ เหลา เชอะ ยกเว้นตั้งชื่อไว้ขายนักท่องเที่ยวฝรั่งเท่านั้น
เหลา เชอะ เป็นคนจีนเชื้อสายแมนจูเช่นเดียวกับจักรพรรดินี ซูสี ไทเฮา เพราะฉะนั้นชื่อเดิมของ เหลา เชอะ จึงเป็นชื่อแมนจูว่า “ซุมุรุ” บิดาเป็นทหารชั้นผู้น้อยซึ่งตายในการสู้รบบนท้องถนนในเหตุการณ์ขบถนักมวย เหลา เชอะ รักเมืองจีนไม่แพ้คนจีนสายพันธุ์ฮั่นคนอื่น ๆ อาจจะรักมากกว่าด้วยซ้ำ เหลา เชอะ มีโอกาสได้ใช้ชีวิตในอังกฤษหลายปี แต่แล้วก็กลับไปอยู่เมืองจีน ต่อมาอีกก็มีโอกาสได้ไปอยู่ในสหรัฐฯประมาณสามปี แต่แล้วเขาก็กลับไปอยู่เมืองจีนอีก เมื่อคอมมิวนิสต์ตั้งรัฐบาลได้ในเมืองจีน เหลา เชอะ ก็ไม่ได้หนีไปไหน ยังคงทำงานกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนด้วยดี กระทั่งเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติวัฒนธรรมอันบ้าไบ้ไร้สาระ(insensé) เหลา เชอะ เสียชีวิตลงในระหว่างนั้น เกี่ยวกับความตายของเหลา เชอะ แม้ทางการจะบอกว่าเขาฆ่าตัวตาย แต่ผู้เขียนเชื่อข้อมูลแหล่งอื่นว่า เขาถูกพวก ยามแดง ฆ่าตายด้วยคำสั่งของ เจียง ชิง ตัวขี้อิจฉาสุด ๆ (โคดเกลียด) ในชีวิตครูของผู้เขียน มีเพื่อนครูสอนภาษาจีนอพยพมาจากเมืองจีนนั่งอยู่ในห้องพักครูห้องเดียวกัน เขาก็ “โคดเกลียด” เจียง ชิง เช่นเดียวกัน (หาเพื่อนมาช่วยกันเกลียดเปล่าเนี้ย?)
นวนิยายเรื่อง “เมืองแมว” (猫城记) ของ เหลา เชอะ แม้จะไม่ใช่ผลงานเรื่องโด่งดังที่สุด แต่ก็เป็นนวนิยายเสียดสีสังคมจีนได้คมคายในยุคที่เมืองจีนระส่ำระสายช่วงทศวรรษที่ 30 เฟอะฟะด้วยยาฝิ่นและพวกขุนศึกที่ปกครองแว่นแคว้นต่าง ๆ อย่างยากที่อำนาจส่วนกลางจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ ถึงแม้จะมีเชื้อจีนแต่ความรู้ภาษาจีนของผู้เขียนแทบจะไม่มีเลย อ่านหนังสือจีนออกเพียงตัวสองตัวเพราะว่าเรียนมาน้อย ครั้นจะอ่านเรื่อง “เมืองแมว” ของ เหลา เชอะ ก็ต้องหาอ่านฉบับแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ซึ่งในที่สุดก็เลือกที่จะอ่านฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วยสำนวนแปลของ เจเนอวิแยฟ ฟร็องซัวส์-ป็งเช่ต์ (Geneviève François-Poncet) พิมพ์ปี1992 / พ.ศ.2535 ชื่อหนังสือเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “La Cité des Chats” ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าท่านผู้แปลใช้ความละเอียดอ่อนชัดเจนของภาษาฝรั่งเศส ถ่ายถอดได้บรรยากาศและอารมณ์เป็นอย่างดี ทำให้เรารู้สึกได้ว่า เหลา เชอะ เขียนหนังสือเรื่องนี้ด้วยความรักแผ่นดินจีนและด้วยความปวดร้าว เล่าแค่นี้พอนะ-ไปหาอ่านกันเอาเองละกัลลลส์
ใครมีหนังสืออยู่กะมือ เปิดเลย-เปิดหน้า 251 อาจารย์เดฟจะชี้ให้ดูว่า เหลา เชอะ เขียนไว้ว่าคนเมืองแมว(ท่านหมายถึงคนจีน)มัวแต่ทะเลาะวิวาทกัน กระทั่งกองทัพของคนแคระ(ท่านหมายถึงคนญี่ปุ่น)ยึดบ้านยึดเมืองได้หมดแล้ว ก็ยังไม่เลิกทะเลาะวิวาทกัน เหลือคนเมืองแมวหนีภัยขึ้นไปอยู่บนลูกเนินโดดเดี่ยวเพียงสองคนเท่านั้น ครั้นกองทัพคนแคระยกไปถึงเนินลูกนั้น กองทัพคนแคระไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะปรากฏว่า คนเมืองแมวสองคนนั้นกำลังทะเลาะกันดุเดือดไม่ลืมหูลืมตา...
ซึ่งข้อความตอนนี้ ภาษาฝรั่งเศสเขียนว่า
Lorsque les soldats-nains investirent cet ultime refuge, les hommes-chats n’étaient déjà plus que deux! En arrivant, l’ennemi trouva ces deux derniers survivants du Pays-Chat inextricablement engagés dans un dernier et féroce corps a corps!
เมื่อประจักษ์เช่นนั้น กองทัพคนแคระก็ไม่ต้องลำบากลำบนฆ่าคนเมืองแมวสองคนนั้น แต่กองทัพคนแคระได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นมาขังคนทั้งคู่เอาไว้ โดยที่ระหว่างนั้นคนเมืองแมวทั้งสอง ก็ยังคงวิวาทกัดกันไม่ยอมหยุดจนตาย ช่วงนี้ภาษาฝรั่งเศสว่า
Ceux-la, les soldats-nains ne prirent pas la peine de les tuer, se contentant de les enfermer dans une cage ou ils continuerent à se battre et a se mordre jusqu’a ce que mort s’ensuive!
ท่านผู้อ่านย่อมจะเห็นแล้วว่า ขนาดศัตรูสร้างกรงขังเอาไว้ทั้งสองคน
แต่ คนทั้งคู่ก็ยังหายอมแยกกันไม่
สมดังคำพังเพย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ใคร่จะมีใครกล้าพูด ที่ว่า
“ แยกกัน ไม่ใช่ เจ๊....................................................................ก ”
(พิมพ์ในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนสิงหาคม 2553)
[บทความ-โพสต์ทั้งบท]
รถไฟด่วนขบวนกลางคืนออกจากกัลกัตตา แล่นมาตลอดทั้งคืนกระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้น เวลาสายแก่ ๆ ก็ชะลอความเร็วเข้าเทียบชานชลาสถานีอัลละหะบัด ซึ่งก่อนจะเดินทางมาผู้เขียนก็ได้กดซอฟแวร์ กูเกิ้ล เอิร์ธ ตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียม ดูทางหนีทีไล่ของสถานี พบว่าเป็นสถานีใหญ่และทางหนีทีไล่ที่สำคัญสำหรับคนเดินทางแบกเป้ใบเดียวแบบผู้เขียน ก็คือต้นสายรถเมล์อยู่ไม่ไกลจากบริเวณหน้าสถานีรถไฟ (-แบบนี้ค่อยยังชั่วหน่อย)
มาทำไม? เมืองอัลละหะบัดมีความสำคัญต่ออินเดียตั้งแต่โบราณมาจนปัจจุบัน ทั้งความสำคัญด้านจิตวิญญาณและด้านเทคโนโลยี จนไม่สามารถจะประมวลมาเขียนได้หมดในบทความชิ้นเล็ก ๆ ชิ้นนี้ จึงตัดสินใจว่าจะไม่เขียนถึงอัลละหะบัดแล้วกัน เพราะอัลละหะบัดไม่ใช่จุดหมายปลายทาง เป็นเพียงเมืองที่เป็นทางรถไฟผ่านเพื่อมาต่อรถเมล์ไปโกสัมพีเท่านั้น
เมื่อได้กด กูเกิ้ล เอิร์ธ ดูภาพถ่ายดาวเทียมอีกครั้งก็พบว่า เมืองโกสัมพี ( ) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนานั้น ในเวลานี้ที่ดาวเทียมถ่ายให้ดู เห็นว่าเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้กับโกสัมพีได้แก่เมืองอัลละหะบัด แล้วแม่น้ำยมุนาก็ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำคงคาตรงใจกลางชมพูทวีปที่เมืองนี้ ครั้นตรวจสอบแผนที่ภาคพื้นดินก็พบว่า ใช่แล้ว...ถ้าจะไปโกสัมพีต้องมาที่นี่ก่อน แล้วจะสะดวกในการหาพาหนะเดินทางต่อไป และเมื่อศึกษาตารางรถไฟอินเดียแล้วก็ทราบว่าจากกัลกัตตานั้น ถ้าจะไปโกสัมพีให้ลงรถไฟที่อัลละหะบัดจะสะดวกที่สุด และจากกัลกัตตาก็มีรถไฟขบวนค่ำชื่อ
”เฮาราห์ มุมไบ เมล์” ซึ่งจะมาถึงอัลละหะบัดช่วงสายแก่ ๆ ของวันรุ่งขึ้น
พอก้าวพ้นชายคาสถานีรถไฟออกไปที่ลานหน้าสถานี เพื่อจะไปหารถเมล์ (ตอนนั้นยังไม่รู้เหมือนกันว่า อยู่ไหนแน่?) เพียงก้าวเท้าพ้นร่มเงาของชายคา เพื่อนที่เดินทางไปด้วยกันร้องจ้าก...อากาศร้อนสุด ๆ ร้อนอบอ้าวเผาผิวหนังเหมือนเดินอังไฟ เพื่อนร่วมทางครั้งนั้นไม่เคยไปทะเลทรายอาระเบีย ไม่เคยไปทะเลทรายซะฮารา และไม่เคยไปทะเลทรายธาระแบบผู้เขียน จึงต้องร้องจ้ากเป็นธรรมดา แต่ประสบการณ์จากการที่เคยเดินทางทะเลทรายทำให้ผู้เขียนคะเนว่า ร้อนแบบนี้น่าจะประมาณกว่าสี่สิบองศา ใกล้ ๆ 50 องศาเซลเซียส และที่มาที่นี่นั้นก็เพราะความฝันและจินตนาการชักนำให้มาแท้ ๆ เลย ไม่ได้มีเหตุผลอื่น...
"กามนิต ที่เห็นเป็นแถบทองโน่น คือแม่น้ำยมุนาและแม่คงคาอันศักดิ์สิทธิ์ กระแสน้ำทั้งสองมารวมกันตรงหน้าเราอยู่นี้"
ข้าพเจ้ายกมือขึ้นจบบูชา..............................
ท่านราชทูตกล่าวต่อไปว่า "ที่เจ้าแสดงความเคารพเช่นนั้นเป็นการดีแล้ว เพราะแม่คงคามาจากแดนแห่งทวยเทพ อันอยู่กลางเขาซึ่งมีหิมะปกคลุมทางอุตรประเทศ แล้วไหลดุจกล่าวว่ามาจากแดนสวรรค์ ส่วนแม่น้ำยมุนานั้นเล่า ไหลมาจากแดนอันขจรนามแต่กาลไกลสมัยมหาภารตะ น้ำแห่งแม่น้ำยมุนาย่อมล้นไหลผ่านหัสดินปุระ ซึ่งปรักหักพังแล้ว และท่วมลบทุ่งกุรุ ซึ่งปาณฑพพี่น้องกับพวกเการพได้ทำสงคราม เพื่อชิงชัยในความเป็นใหญ่ ณ ที่ตรงนั้น พระกฤษณะเป็นสารถีขับรถรบให้พระอรชุน
ข้อความตัวเอนที่คัดมา ได้มาจากหนังสือ “กามนิต” ของ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป คำว่ากระแสน้ำทั้งสองมารวมกันตรงหน้าเราอยู่นี้...นั่นหมายถึงที่เมืองอัลละหะบัดในปัจจุบัน แต่ก่อนที่กามนิตจะเดินทางมาถึงตำบลนี้ได้ ก็ได้ผ่านเมืองโกสัมพีมาก่อนแล้ว ซึ่งช่วงที่มาถึงโกสัมพี หนังสือบรรยายว่า
พอข้าพเจ้าเห็น ก็ออกอุทาน เพราะมองไปทางหัวเลี้ยวแม่คงคา ก็เห็นกรุงโกสัมพีดูงดงามมาก เห็นกำแพงปราการบ้านเรือนสลับสล้างดูเป็นลดหลั่น มีเชิงเทินท่าน้ำท่าเรือต้องแสงแดดในเวลาอัสดง ดูประหนึ่งว่าเป็นเมืองทอง ส่วนยอดปราสาทเป็นทองแท้ก็ส่องแสงดูดั่งว่ามีอาทิตย์อยู่หลายดวง ควันไฟสีดำแดงพลุ่ง ๆ ขึ้นจากลานเทวสถานถัดลงไปข้างล่างริมฝั่งน้ำ เห็นควันสีเขียวอ่อนลอยขึ้นมาจากอสุภที่กำลังเผาในลำน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งฉายเงาแห่งสถานที่ต่าง ๆ ลงไปเห็นกระเพื่อม ๆ มีเรือน้อยใหญ่นับไม่ถ้วนมีใบและธงทิวสีต่าง ๆ แลดูงามตา ตรงท่าน้ำเห็นอยู่ไกล ประชาชนอาบน้ำอยู่มากมายนาน ๆ ได้ยินเสียงคนพูดดังหึ่ง ๆ คล้ายเสียงผึ้ง
ขอให้ท่านผู้เจริญคิดดูเถิด ข้าพเจ้ารู้สึกคล้ายกับว่าได้มองเห็นเทวโลก ยิ่งกว่าได้เห็นเมืองมนุษย์ แท้จริงลุ่มน้ำแม่คงคาทั้งหมดนี้ มีความงามดูเป็นสรวงสวรรค์อันปรากฏให้เห็นขึ้นแก่ตาข้าพเจ้า
ส่วนผู้เขียนนั้นเดินทางสวนกลับกับหนังสือ คือมาลงรถไฟที่อัลละหะบัด เมืองที่แม่น้ำยมุนาไหลรวมกับคงคา แล้วจึงค่อยเดินทางด้วยรถตุ๊ก ๆ อินเดีย ตากอากาศอันร้อนสุด ๆ กว่าสี่สิบองศาเซลเซียส-ชัวร์ เลาะผ่านทุ่งนาแห้งแล้งระอุไอแดดและละอองฝุ่น ผ่านหมู่บ้านร้อนอ้าวราวกับวิ่งผ่าเตาอบ เลี้ยวเลาะไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาราวสองชั่วโมงเศษ ๆ ปานจะตับแตก จึงจะถึงโกสัมพี ซึ่งเป็นโบราณสถานมีแต่เนินดิน กับการขุดค้นที่ยังทำไม่ทั่ว ที่เห็นโดดเด่นอยู่เดี่ยว ๆ เหมือนตาลเดี่ยวยอดด้วน คือเสาหินพระเจ้าอโศก ปักอยู่กลางเมือง ซึ่งก็คือปักอยู่บนหย่อมเนินดินที่มีการขุดค้นไปบ้างแล้วนั้น กระนั้นก็ดี ผู้เขียนก็เกิดปิติและสุขใจที่ได้เดินทางมาถึงเมืองโบราณโกสัมพี ที่สุขใจมากที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อมองลงไปจากเนินอันเป็นที่ตั้งโกสัมพี ผ่านหมู่บ้านเล็ก ๆ เลยไปเบื้องหน้าโน้น...ก็ได้เห็นแม่น้ำยมุนาเป็นครั้งแรกในชีวิต
โกสัมพีตามข้อมูลประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่ตามจินตนาการดังว่าไว้ในนิยาย ก็เป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาลด้วยซ้ำ เพราะอะไร? โกสัมพีเมืองหลวงของแคว้นวังสะ หนึ่งใน 16 อาณาจักรในมัชฌิมชนบท(หรือ มัธยมประเทศ)ในสมัยพุทธกาล ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ก่อนที่ยมุนาจะไหลไปรวมกับแม่น้ำคงคา เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่ราบกว้างใหญ่ ที่เรียกว่าที่ราบแม่น้ำคงคา(Gangetic Plain) กล่าวโดยคร่าว ๆ ก็คือเขตมัชฌิมชนบทสมัยโบราณทั้งหมด ซึ่งนับมาแต่ริมฝั่งน้ำสินธุในปากีสถานปัจจุบัน พาดผ่านอินเดียเหนือและไปสุดที่ปากแม่น้ำคงคาตรงต่อแดนกับบังคลาเทศ ที่ราบผืนใหญ่ผืนนี้คือที่อยู่ของเผ่าอริยะกะ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำให้แก่ดินแดนภารตะมานานก่อนยุคพุทธกาล และโกสัมพีตั้งอยู่ตรงกลางที่ราบดังกล่าว เส้นทางการค้าจากตะวันตกไปตะวันออกคือตั้งแต่ทะเลทรายธาระไปยังอ่าวเบงกอลก็ดี หรือเส้นทางทางเหนือจากเทือกเขาหิมาลัยมุ่งลงใต้ข้ามภูเขาวินธัยก็ดี มาตัดกันเป็นสี่แยกที่เมืองโกสัมพี พระถังซัมจั๋งก็เคยเดินทางมาถึงโกสัมพีและได้เขียนรายงานพรรรณนาไว้ สำหรับคนที่ชอบกินไวน์ก็ดี เบียร์ก็ดี หรือเหล้าขาวก็ดี ก็โปรดทราบไว้ด้วยว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติศิลข้อห้ามดื่มเมรัย ที่เมืองโกสัมพีนี้ ส่วนทั้งคนเมาและคนไม่เมา เมาแล้วขับหรือไม่ขับก็ตาม รวมไปถึงเทพและโคกระบือ ตลอดจนพวกกระดาษดินสอ ทิชชู่ เครื่องเล่นเอ็มพี3 แผ่นซีดี คีย์บอร์ดและเม้าส์ ที่ชอบอาฆาตจองเวรกันและกัน ก็โปรดทราบไว้ด้วยว่า คำพูดที่ว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” เป็นคติพุทธที่บัญญัติขึ้นที่เมืองโกสัมพีเช่นเดียวกัน โห เรื่องพวกนี้ถ้าได้เขียนบ่อย ๆ เข้า ผู้เขียนมีสิทธิขลังและเฮี้ยนได้นะ ทำเล่นไป
ในครั้งพุทธกาล เพราะความใหญ่โตมั่งคั่งของเมืองโกสัมพี ทำให้มีวัดใหญ่ในเมืองอยู่ถึงสี่วัดและวัดหนึ่งก็คือวัด “โฆสิตารามมหาวิหาร” ซึ่งโฆสกเศรษฐีเป็นผู้สร้าง
สำหรับวัดระฆังโฆสิตารามในกรุงเทพฯปัจจุบันนี้นั้น นาม “โฆสิตาราม” มาจากชื่อวัดโฆสิตารามในเมืองโกสัมพีดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ส่วนคำว่า “ระฆัง” มาจากชื่อวัดระฆังในกรุงศรีอยุธยา(และประกอบกับที่ได้พบระฆังใหญ่ที่วัดนี้) ต่อไปนี้ผู้เขียนจะเรียกวัดโฆสิตารามในโกสัมพีว่า “วัดระฆัง” บ้าง เพื่อแก้เบื่อและเพื่อสร้างบรรยากาศเป็นกันเองกับประวัติศาสตร์โบราณ ไม่ให้เรื่องราวคร่ำครึในความรู้สึกจนเกินไป(=old and boring) ทั้ง ๆ ที่เนื้อหาของเรื่องอันได้แก่ “the shcism at Kosambi” หรือความแตกแยกของสงฆ์ที่โกสัมพีนั้นโคตรทันสมัย และวัดที่สงฆ์แตกแยกกันจนเป็นเรื่องราวใหญ่โตในยุคพุทธกาล ก็คือวัดโฆสิตาราม ขนาดว่าล่วงมาเกือบสามร้อยปีหลังจากเหตุการณ์นั้น ในรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช ก็ยังโปรดให้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความแตกแยกแห่งสงฆ์ที่โกสัมพีโบราณก่อนยุคสมัยพระองค์ท่าน ไว้กับเสาหินพระเจ้าอโศกที่ปักอยู่กลางเมืองโกสัมพี มรดกวัตถุธรรมที่อนุชนศึกษากันได้จนตราบเท่าทุกวันนี้ อนุสรณ์ชิ้นนั้นเป็นเครื่องยืนยันว่า the shcism at Kosambi น่าจะเป็นความแตกแยกครั้งสำคัญในพุทธศาสนา
แตกแยกกันด้วยเหตุผลกลอันใด? หลายแหล่งข้อมูลที่ค้นพบต่างก็ชี้เป็นเสียงเดียวกันว่า แตกแยกกันด้วยเรื่องที่ว่าการกระทำของภิกษุรูปหนึ่งนั้นเป็น “อาบัติ หรือไม่อาบัติ” เพราะฉะนั้นเรื่องของความแตกแยกนี้ เราจึงพบได้ในพระไตรปิฎกส่วนที่เป็นวินัยปิฎก ซึ่งเป็นปิฎกที่ว่าด้วยวินัยสงฆ์ ไม่ใช่มาจากส่วนที่เป็นพระสูตรแบบเรื่องราวอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไปที่เรามักได้ยินได้ฟังกัน พระพุทธเจ้าได้ใช้ “moral authority” หรือ “บารมีเชิงศิลธรรมจรรยา” ไปว่ากล่าวตักเตือนสงฆ์ในวัดโฆสิตาราม นครโกสัมพี ถึงสามครั้งสามหน
แต่ พระเหล่านั้นก็หาได้หยุดทะเลาะเบาะแว้งกันไม่
สมดังคำพังเพย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ใคร่จะมีใครกล้าพูด ที่ว่า
“ รวมกัน ไม่ใช่ แข..........................................................................ก ”
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของบทสนทนาอันเนื่องด้วยเหตุที่เกิดสังฆเภท(สงฆ์แตกกัน) ที่วัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี (-คัดจากพระไตรปิฎก ให้ท่านผู้อ่านได้อ่านเอาเอง ผู้เขียนไม่ขอตีความครับ)
พระอุบาลี. สังฆสามัคคีมีเท่าไร พระพุทธเจ้า?
พระพุทธเจ้า. อุบาลี สังฆสามัคคีมี ๒ อย่าง คือ สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ ๑
สังฆสามัคคีได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะ ๑
๑. อุบาลี สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะเป็นไฉนเล่า?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์
ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด
สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุจากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี
นี้เรียกว่าสังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ.
๒. อุบาลี สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะเป็นไฉนเล่า?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์
ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด
สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นี้เรียกว่า
สังฆสามัคคีที่ได้ทั้งอรรถ ได้ทั้งพยัญชนะ อุบาลี สังฆสามัคคี ๒ อย่างนี้แล.
เมื่อใช้ “moral authority” ไม่ได้ผล พระพุทธเจ้าก็เสด็จเข้าป่าไป คือ ไปจำพรรษาอยู่ในป่านอกเมืองโกสัมพี พอออกพรรษาก็เสด็จขึ้นเหนือ ไปประทับที่เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล ซึ่งอยู่ตีนเขาหิมาลัยโน่นเลย ต้องเดินข้ามทุ่งราบแม่น้ำคงคา(Gangetic Plain) ไปเป็นระยะทางนับร้อย ๆ กิโลเมตร
เมื่อ moral authority ใช้ไม่ได้ผล ก็มีการงัดเอา political authority ขึ้นมาจัดการกับพวกหลวงพี่ที่วัดโฆสิตาราม กล่าวคือ ประชาชนชาวเมืองโกสัมพีต่างพากันส่งเอสเอ็มเอส หรือทำ texting หรือส่งอีเมล์ หรือทวีทเตอร์ หรือเขียนวอลล์ในเฟสบุค หรืออัพโหลดคลิป ที่มีเนื้อหาแอนตี้พระวัดโฆสิตาราม ทั้งหมดนั้นอ่านดูก็รู้แล้วว่าผู้เขียนบทความนี้เขียนมั่ว ๆ ไปงั้นเอง แต่ว่าข้อเท็จจริงมีว่า ชาวบ้านได้รวมหัวกันกระทำการดังต่อไปนี้ 1.ไม่ใส่บาตรพระวัดนั้น 2.ไม่ไหว้พระวัดนั้น 3.ไม่พูดด้วยกับพระวัดนั้น (ทั้งหมดนี้เป็นความจริงตามเอกสารประวัติศาสตร์) ครั้นโดนแรงกดดันทางการเมืองในรูปดังกล่าว พวกพระที่สมณสารูปห่วยแตก ไม่แสวงความวิเวกแต่ชอบวิวาท ต่างก็ตกอยู่ในสภาพ “จ๋อยสนิท...” เพราะว่าหิวข้าว เนื่องจากไม่มีใครใส่บาตร มาม่าไม่ต้องพูดถึงเพราะยังไม่มีขาย จึงยกพวกพากันเดินข้ามทุ่งราบแม่น้ำคงคา(Gangetic Plain) ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองสาวัตถี และดีต่อกันแต่นั้นมา-สาธุ
ฮัน ซูหยิน กับ เหลา เชอะ เป็นนักเขียนนวนิยายจีนสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก(หมายถึงโลกตะวันตก) แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ เหลา เชอะ และงานชื่อ ซึ่งจะได้ยกขึ้นมาเทียบกับเรื่องพระไม่วิเวกแต่ชอบวิวาทที่โกสัมพี สำหรับท่านที่อ่านหนังสือจีนไม่ออกเช่นเดียวกับผู้เขียนบทความนี้ โปรดใจเย็น ๆ ให้พิจารณาความงดงามของตัวอักษรไปพลางก่อน -ในขั้นต้นจะขอแนะนำสั้น ๆ เกี่ยวกับตัวนักเขียนเพื่อประโยชน์สำหรับบางท่าน ที่อาจจะยังไม่เคยมีคนแนะนำให้รู้จักนักเขียนคนสำคัญของจีนในศตวรรษที่ 20 ผู้นี้
เหลา เชอะ เป็นนักเขียนที่ผู้เขียนบทความนี้ประทับใจมากกว่า ฮัน ซูหยิน ทั้ง ๆ ที่ ฮัน ซูหยิน พูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่องแคล่ว และเมื่อผู้เขียนเป็นนักเรียนในฝรั่งเศส เธอก็เคยเดินทางไปที่นั่น พร้อมกับให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนนานนับชั่วโมง เธอพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดีเพราะเธอเป็นลูกครึ่งจีน-เบลเยี่ยม
ชีวิตของเหลา เชอะ นั้น อ่านทีไรก็รู้สึกสะเทือนใจทุกทีไป เพราะว่าได้เคยได้ยินชื่อเสียงและผลงานของท่านมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงเทพฯยังมีโรงหนังโอเดียนที่ฉายภาพยนตร์จีน หนังที่สร้างจากนวนิยายชื่อดังของท่านก็ได้เคยเข้ามาฉายที่กรุงเทพฯ คือภาพยนตร์สะเทือนอารมณ์เรื่อง “คนลากรถ”
ชีวิตของเหลา เชอะ สะท้อนชีวิตของประเทศจีนทั้งประเทศ ในยุคที่เมืองจีนตกอยู่ในภาวะมืดมนอนธกาล หลังจากถูกฝรั่งรังแกแล้วก็ถูกญี่ปุ่นรังแกซ้ำอีก เราคงจะไม่สามารถสรุปบทเรียนประวัติศาสตร์จีนช่วงนั้นในบทความสั้น ๆ ชิ้นนี้ได้ ก็จะขอกล่าวถึงเฉพาะแต่ชีวิตของ เหลา เชอะ เท่านั้น
เหลา เชอะ เกิดที่ปักกิ่ง ปี 1899 / พ.ศ. 2442 ตรงกับสมัย ร.5 ตอนปลายรัชกาล เหลา เชอะ ตายที่กรุงปักกิ่งในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมเมื่อปี 1966 / พ.ศ. 2509 รวมอายุได้ 67 ปี งานที่มีชื่อเสียงได้แก่นวนิยายเรื่อง “คนลากรถ” ซึ่งฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษเคยเป็นหนังสือขายดีอันดับต้น ๆ ที่สหรัฐอเมริกาในปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนบทละครที่มีชื่อคือ “โรงน้ำชา” เปิดการแสดงครั้งหลังในสหรัฐฯเมื่อปี 2548 นี่เอง ที่ศูนย์ศิลปะการแสดง เคนเนดี กรุงวอชิงตัน ดีซี (the Kennedy Center for Performing Arts, Washington DC) แสดงโดยคณะละครจากปักกิ่ง และเมื่อประมาณนานปีมาแล้วชมรมละครของ AUA ที่กรุงเทพฯ ก็เคยทำละครเรื่องนี้ซึ่งมีตัวแสดงประกอบเยอะ เพื่อนในชมรมนั้นก็ได้มาชวนผู้เขียนไปเล่นเป็นตัวประกอบอยู่ในโรงน้ำชานั้นด้วย ทุกวันนี้ที่กรุงปักกิ่ง โรงน้ำชาของ เหลา เชอะ เปิดกิจการต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นโรงน้ำชาที่จัดสร้างขึ้นมาใหม่ ไม่มีอะไรเกี่ยวกับ เหลา เชอะ ยกเว้นตั้งชื่อไว้ขายนักท่องเที่ยวฝรั่งเท่านั้น
เหลา เชอะ เป็นคนจีนเชื้อสายแมนจูเช่นเดียวกับจักรพรรดินี ซูสี ไทเฮา เพราะฉะนั้นชื่อเดิมของ เหลา เชอะ จึงเป็นชื่อแมนจูว่า “ซุมุรุ” บิดาเป็นทหารชั้นผู้น้อยซึ่งตายในการสู้รบบนท้องถนนในเหตุการณ์ขบถนักมวย เหลา เชอะ รักเมืองจีนไม่แพ้คนจีนสายพันธุ์ฮั่นคนอื่น ๆ อาจจะรักมากกว่าด้วยซ้ำ เหลา เชอะ มีโอกาสได้ใช้ชีวิตในอังกฤษหลายปี แต่แล้วก็กลับไปอยู่เมืองจีน ต่อมาอีกก็มีโอกาสได้ไปอยู่ในสหรัฐฯประมาณสามปี แต่แล้วเขาก็กลับไปอยู่เมืองจีนอีก เมื่อคอมมิวนิสต์ตั้งรัฐบาลได้ในเมืองจีน เหลา เชอะ ก็ไม่ได้หนีไปไหน ยังคงทำงานกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนด้วยดี กระทั่งเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติวัฒนธรรมอันบ้าไบ้ไร้สาระ(insensé) เหลา เชอะ เสียชีวิตลงในระหว่างนั้น เกี่ยวกับความตายของเหลา เชอะ แม้ทางการจะบอกว่าเขาฆ่าตัวตาย แต่ผู้เขียนเชื่อข้อมูลแหล่งอื่นว่า เขาถูกพวก ยามแดง ฆ่าตายด้วยคำสั่งของ เจียง ชิง ตัวขี้อิจฉาสุด ๆ (โคดเกลียด) ในชีวิตครูของผู้เขียน มีเพื่อนครูสอนภาษาจีนอพยพมาจากเมืองจีนนั่งอยู่ในห้องพักครูห้องเดียวกัน เขาก็ “โคดเกลียด” เจียง ชิง เช่นเดียวกัน (หาเพื่อนมาช่วยกันเกลียดเปล่าเนี้ย?)
นวนิยายเรื่อง “เมืองแมว” (猫城记) ของ เหลา เชอะ แม้จะไม่ใช่ผลงานเรื่องโด่งดังที่สุด แต่ก็เป็นนวนิยายเสียดสีสังคมจีนได้คมคายในยุคที่เมืองจีนระส่ำระสายช่วงทศวรรษที่ 30 เฟอะฟะด้วยยาฝิ่นและพวกขุนศึกที่ปกครองแว่นแคว้นต่าง ๆ อย่างยากที่อำนาจส่วนกลางจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ ถึงแม้จะมีเชื้อจีนแต่ความรู้ภาษาจีนของผู้เขียนแทบจะไม่มีเลย อ่านหนังสือจีนออกเพียงตัวสองตัวเพราะว่าเรียนมาน้อย ครั้นจะอ่านเรื่อง “เมืองแมว” ของ เหลา เชอะ ก็ต้องหาอ่านฉบับแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ซึ่งในที่สุดก็เลือกที่จะอ่านฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วยสำนวนแปลของ เจเนอวิแยฟ ฟร็องซัวส์-ป็งเช่ต์ (Geneviève François-Poncet) พิมพ์ปี1992 / พ.ศ.2535 ชื่อหนังสือเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “La Cité des Chats” ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าท่านผู้แปลใช้ความละเอียดอ่อนชัดเจนของภาษาฝรั่งเศส ถ่ายถอดได้บรรยากาศและอารมณ์เป็นอย่างดี ทำให้เรารู้สึกได้ว่า เหลา เชอะ เขียนหนังสือเรื่องนี้ด้วยความรักแผ่นดินจีนและด้วยความปวดร้าว เล่าแค่นี้พอนะ-ไปหาอ่านกันเอาเองละกัลลลส์
ใครมีหนังสืออยู่กะมือ เปิดเลย-เปิดหน้า 251 อาจารย์เดฟจะชี้ให้ดูว่า เหลา เชอะ เขียนไว้ว่าคนเมืองแมว(ท่านหมายถึงคนจีน)มัวแต่ทะเลาะวิวาทกัน กระทั่งกองทัพของคนแคระ(ท่านหมายถึงคนญี่ปุ่น)ยึดบ้านยึดเมืองได้หมดแล้ว ก็ยังไม่เลิกทะเลาะวิวาทกัน เหลือคนเมืองแมวหนีภัยขึ้นไปอยู่บนลูกเนินโดดเดี่ยวเพียงสองคนเท่านั้น ครั้นกองทัพคนแคระยกไปถึงเนินลูกนั้น กองทัพคนแคระไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะปรากฏว่า คนเมืองแมวสองคนนั้นกำลังทะเลาะกันดุเดือดไม่ลืมหูลืมตา...
ซึ่งข้อความตอนนี้ ภาษาฝรั่งเศสเขียนว่า
Lorsque les soldats-nains investirent cet ultime refuge, les hommes-chats n’étaient déjà plus que deux! En arrivant, l’ennemi trouva ces deux derniers survivants du Pays-Chat inextricablement engagés dans un dernier et féroce corps a corps!
เมื่อประจักษ์เช่นนั้น กองทัพคนแคระก็ไม่ต้องลำบากลำบนฆ่าคนเมืองแมวสองคนนั้น แต่กองทัพคนแคระได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นมาขังคนทั้งคู่เอาไว้ โดยที่ระหว่างนั้นคนเมืองแมวทั้งสอง ก็ยังคงวิวาทกัดกันไม่ยอมหยุดจนตาย ช่วงนี้ภาษาฝรั่งเศสว่า
Ceux-la, les soldats-nains ne prirent pas la peine de les tuer, se contentant de les enfermer dans une cage ou ils continuerent à se battre et a se mordre jusqu’a ce que mort s’ensuive!
ท่านผู้อ่านย่อมจะเห็นแล้วว่า ขนาดศัตรูสร้างกรงขังเอาไว้ทั้งสองคน
แต่ คนทั้งคู่ก็ยังหายอมแยกกันไม่
สมดังคำพังเพย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ใคร่จะมีใครกล้าพูด ที่ว่า
“ แยกกัน ไม่ใช่ เจ๊....................................................................ก ”
(พิมพ์ในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนสิงหาคม 2553)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น