"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันอังคารที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ปฏิวัติฝรั่งเศส ตอน 4 โรเบสปิแยร์ ปีศาจร้ายหรือ

โดย ภูพาเนช มะเด็ง



ว่ากันว่า การปฏิวัติอื่น ๆ ในภายหลังล้วนแล้วแต่เป็นของลอกเลียนแบบและทำเทียมแบบลวก ๆ สะเพร่า ๆ ด้วยเหตุที่ว่านักประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประวัติศาสตร์ และคนทั่วไปจำนวนหนึ่ง เห็นว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติทางการเมืองที่แท้จริงเพียง ครั้งเดียว ที่เคยเกิดขึ้นในโลก การปฏิวัติรัสเซียและการปฏิวัติสีแดงทั้งหลาย เช่น ในจีนและคิวบา เป็นต้น หรือการปฏิวัติอื่น ๆ ที่เกิดทีหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ท่านเห็นว่าเป็นเรื่อง “nonsense” (ไร้สาระ) ผลของการปฏิวัติก็ไม่ได้จีรังยั่งยืน เช่น การปฏิวัติรัสเซีย เป็นต้น

ประเด็นนี้ สร้างความหนักใจต่อผู้เขียนในการนำเสนอเรื่องนี้ เพราะว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นที่สนใจศึกษาของคนในวงกว้าง คนรู้เรื่องนี้กันมาก มีความเห็นที่หลากหลายและยังไม่จบสิ้นลงตัว แล้วผู้เขียนนำเสนอเรื่องนี้อย่างไรต่อท่านผู้อ่านทั้งหลาย-ซึ่งก็มีหลากหลายสีสันทางการเมือง? เราคงต้องยอมรับกันแล้วนะว่า การเมืองไทยไม่ได้มีแค่ “สามสี” แบบเดียวกับชื่อสุนัขไทยที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งในอดีต

เดชะบุญ พักหลังก่อนที่จะได้มาเขียนเรื่องการปฏิวัติฝรั่งเศส ผู้เขียนได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของ “บิแซ้งต์” อันเป็นปริมณฑลประวัติศาสตร์ยุโรปที่รู้ตัวว่าตัวเองยังบอดอยู่ รู้จักอีจิปต์ อินเดียและจีน ดีกว่ารู้จักบิแซ้งต์ ท่านผู้รู้ “กูรู หรือ ครู” ที่ผู้เขียนศึกษาจากท่าน ท่านเสนอประวัติศาสตร์ผ่าน “ตัวบุคคล” หรือผ่าน “ตัวละครสำคัญ” ในประวัติศาสตร์บิแซ้งต์ ซึ่งก็เป็นวิธีเล่าประวัติศาสตร์วิธีหนึ่ง และเรายอมรับว่าวิธีอื่น ๆ นอกจากนั้นก็ยังมีอีกหลายวิธี บังเอิญผู้เขียนเห็นว่าวิธีเล่าประวัติศาสตร์วิธีนี้ น่าจะเหมาะที่จะนำมาเล่าประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศส เพราะจะช่วยท่านผู้อ่านรุ่นใหม่ ผู้อยู่ไกลสังคมฝรั่งเศสยุคเก่า ให้ได้แลเห็นและรู้จักประวัติศาสตร์ต่างบ้านต่างเมือง ต่างยุคต่างสมัย อย่างมีชีวิตชีวามากขึ้น ทั้งนี้เพราะจะได้ฟังเรื่องราวผ่านตัวละครนั่นเอง คล้ายกับนักศึกษาพระไตรปิฎกที่ง่วงเหงาหาวนอนเวลาอ่านพระอภิธรรมกับพระวินัย แต่หูตาสว่างขึ้นเมื่อได้อ่านพระสูตร-เพราะว่าพระสูตรมีตัวละคร มีมนุษย์เป็นตัวตั้ง

อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะไม่ลืมเรื่องการลำดับศักราช-จะแทรกศักราช...


(บทความเนื้อเต็มจะพิมพ์ในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนสิงหาคม 2553
หรือ ท่านสามารถอ่านทั้งหมดได้ โดยคลิกแท็ป "ปฏิวัติฝรั่งเศส"  แท็ปอยู่ใต้ชื่อบล็อคครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น