"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ปฏิวัติฝรั่งเศส ตอน 3 ห้วงกำเนิด-สาเหตุเศรษฐกิจและเหตุอื่น

โดย ภูพาเนช มะเด็ง



มี 3 สาเหตุ คือ

1.ยากเข็ญทุกหย่อมหญ้า - ปัญหาเศรษฐกิจ
2.สังคมไม่ยุติธรรม
3.การปกครองบ้านเมืองหน่อมแน้ม

ที่จริง สาเหตุอาจจะมีมากกว่านั้น หรืออาจจะน้อยกว่านั้น หรืออาจจะแตกต่างไปจากนั้น เพราะว่าตราบจนบัดนี้ความเห็นของนักการเมืองและนักวิชาการ เกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ยังไม่ลงตัวตรงกันแต่ประการใด ที่เห็นตรงกันมีอยู่ประเด็นเดียว คือประเด็นที่ว่า ในปี 1789 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในประเทศฝรั่งเศส อันจะละเลยเพิกเฉยมองข้ามเสียมิได้ เพราะเหตุการณ์นั้นส่งผลกระทบในวงกว้าง ระดับนานาชาติ ในลำดับต่อมา

เนื่องจากความหลากหลายมัลติคัลเลอร์ของความคิดเห็น เพราะฉะนั้นผู้เขียนจะขออนุญาตท่านผู้อ่านยึด 3 ประเด็นข้างบนนั้นเป็นห้วงกำเนิดของการปฏิวัติแล้วกันครับ เพื่อจะได้เขียนบทความเรื่องนี้ให้จบลงได้งัย เพราะถ้ายกมาหมดทุกความเห็นจะไม่มีวันเขียนจบ แต่ถ้าท่านผู้อ่านมีความต่างต้องการจะอภิปรายระหว่างผู้อ่านด้วยกัน หรือต้องการให้คำแนะนำใด ๆ ต่อผู้เขียน (ซึ่งผู้เขียนก็จะน้อมรับด้วยความขอบพระคุณมาก ๆ) ท่านสามารถอภิปรายได้ที่บล็อกของผู้เขียน ในส่วนท้ายของบทความซึ่งได้จัดที่ไว้ให้แสดงความเห็นแล้วครับ ที่ www.devnapya.blogspot.com

1. ยากเข็ญทุกหย่อมหญ้า - ปัญหาเศรษฐกิจ

ประธานาธิบดีทรูแมนเคยพูดว่า “ไหนช่วยส่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจที่มีแขนข้างเดียว มาให้ผมสักคนเด้ะ...” นักเศรษฐศาสตร์แขนด้วน มีแขนข้างเดียว เป็นที่ต้องการของนักการเมือง อย่างเช่นประธานาธิบดีทรูแมน เป็นต้น เพราะว่า นักการเมืองนึกรำคาญบรรดาที่ปรึกษาเศรษฐกิจทั้งหลาย ที่ชอบให้คำแนะนำวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยกล่าวว่า

“On one hand, if……….”
พอพูดจบ ก็พูดใหม่ต่อไปอีกว่า
“On the other hand, if………”
พร้อมกับสรุปว่า มันมีทางเป็นไปได้ทั้งสองทาง

ประธานาธิบดีทรูแมนได้ยินแล้วท่านวางนโยบายไม่ถูก ท่านจึงตบอกผางอุทานว่า “พับผ่า! ไหนช่วยส่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจที่มีแขนข้างเดียว มาให้ผมสักคนเด้ะ”

หลุยส์ที่ 16 โชคดีกว่าประธานาธิบดีทรูแมนมากในประเด็นนี้ เพราะเสนาบดีคลังยุคนั้น
อันได้แก่ ฌาคส์ เน็คแกร์(Jaques Necker)  ท่าน“ฟันธง”ลูกเดียว................


(บทความเนื้อเต็มจะพิมพ์ในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนกรกฏาคม 2553
หรือ ท่านสามารถอ่านทั้งหมดได้ โดยคลิกแท็ป "ปฏิวัติฝรั่งเศส" แท็ปอยู่ใต้ชื่อบล็อคครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น