"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

ต้นฉบับ "เศรษฐกิจภาพรวม-เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์" บทที่ ๑ เกริ่นเรื่อง

แดง ใบเล่ - เดฟ นาพญา - ปรีชา ทิวะหุต
Not for commercial use. ไม่สงวนสิทธิ์ฉบับดิจิทัล ไม่ได้เผยแพร่เชิงพาณิชย์ แต่แบ่งปันเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการศึกษา
สำนักพิมพ์ใด สนใจจะตีพิมพ์เป็นฉบับสื่อสิ่งพิมพ์ โปรดติดต่อเจ้าของงานที่อีเมล salaya123@yahoo.com -ขอบคุณครับ

บท ๑ เกริ่นเรื่อง

ไม่มีใครจะเข้าใจระบบทุนนิยมได้
ถ้าเขาไม่เข้าใจว่า ทำไมจึงเกิดการปฏิวัติของเคนส์?
และการปฏิวัติของเคนส์เป็นอย่างไร?


วันปีใหม่…เมื่อเจ็ดสิบห้าปีก่อน นับถอยหลังจากปี พ.ศ. 2553

1 มกราคม พ.ศ. 2478 จอห์น เมนาร์ด เคนส์ กล่าวกับนักเขียนและนักทำละครเวทีชื่อดังของอังกฤษ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ โดยไม่ได้ประหยัดถ้อยคำ(=ไม่ถ่อมตัว)แม้แต่น้อย ว่า

“ผมว่า อีกราวสิบปีข้างหน้า หนังสือทฤษฎีเศรษฐกิจที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้ จะปฏิวัติวิธีคิด และวิธีเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ ของคนทั้งโลก…”

เคนส์กล่าวต่อไปอีกว่า “ผมไม่ได้พูดแบบพยากรณ์นะ...ผมพูดแบบแน่ใจ”

วันพุธที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

นายกรัฐมนตรีหญิง -เธอตายในรถกันกระสุน นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ตอน 2/3

ज़ुल्फ़िकार अली भुट्टो
ซุละฟิการ์ อะลี ภุทโท -ภุทโทผู้พ่อ
-เป็นเด็กเบิร์คเลย์


เรา ในฐานะชาวต่างชาติ ยากที่จะเห็นภาพ ของ นางสาว เพนะซีระ บนเวทีการเมืองได้เต็มรูป ถ้าเราไม่ได้เห็นเค้าร่างของคุณพ่อเธอ นาย ซุละฟิการ์ อะลี ภุทโท  ผู้เขียนเห็นว่า ท่านผู้นี้เป็นนักการเมืองผู้ยิ่งยงคนหนึ่ง ในดินแดนเอเชียใต้ ยุคหลังอาณานิคม ซึ่งหมายรวม 4 ประเทศ คือ ปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ และศรีลังกา ยากที่จะพบทางเดินชีวิตการเมือง ของนักการเมืองชมพูทวีปผู้ใด จะโชกโชน เข้มข้น มีสีสัน มีเนื้อหาสาระ มีความสำเร็จและมีความล้มเหลว มากไปกว่าท่านผู้นี้ ซึ่งในที่สุด ก็ได้สังเวยชีวิตเซ่นเวทีการเมืองปากีสถาน

วันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โพสต์ที่ 2/2 บทสรุป พลังงานนิวเคลียร์ต้นทุนต่ำ เพื่อความมั่นคงของสหรัฐฯ

บทสรุป ทั้งบท ในต้นฉบับหนังสือแปล "พลังงานนิวเคลียร์"
แปลจาก Nuclear Energy Now
ปรีชา ทิวะหุต แปล

พลังงานนิวเคลียร์: ต้นทุนต่ำเพื่อความมั่นคงของสหรัฐ


คงจะไม่หวังสูงเกินไป ว่าลูกหลานของเรา จะมีความสุขอยู่กับบ้าน ที่พลังงานไฟฟ้า ถูกเสียจนไม่คุ้ม ที่จะติดมาตรวัด แล้วรับรู้เรื่องความอดอยากหิวโหยตามภาคส่วนของโลก เพียงตำนานในอดีต จะเดินทางอย่างสุขสบาย ข้ามขอบฟ้ามหาสมุทร์ หรือแม้ใต้ท้องทะเล อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว แล้วจะมีอายุขัยยืนยาว กว่าช่วงอายุของเรา เมื่อโรคาพยาธิถูกปราบราบคาบ และมนุษย์เริ่มรู้เหตุ แห่งความแก่เฒ่า

-- ลิววิส แอล. สเตราส์ ประธานคณะกรรมการพลังงานอะตอม กล่าวต่อสมาคมนักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์แห่งชาติ นครนิวยอร์ค 16 กันยายน 1954


นัยยะ แฝงในคำปราศรัยของนายลิววิส สเตราส์ นั้น หมายถึงจุติกาลของพลังงานปรมาณู แต่บัดนี้ทราบกันทั่วไปแล้วว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้พัฒนามาถึงจุดได้เปล่า กาลเวลาผ่านไปใบเสร็จค่าไฟฟ้ากลับสูงขึ้น แม้ว่ากฎระเบียบกำกับดูแลจะลดทอนผ่อนคลายลง ราคาค่าไฟฟ้ายังคงเพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลหนึ่งเรื่องต้นทุนค่าเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงขึ้น ราคาเชื้อเพลิงที่สูงมากขึ้นนั้น ทำให้ทางเลือกนิวเคลียร์เป็นเรื่องน่าคิดยิ่งกว่าแต่ก่อน

วันพุธที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

นายกรัฐมนตรีหญิง ถูกฆ่าตาย ในรถกันกระสุน! เอ๊ะ ยังงัย? กรณีสังหาร นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ตอน 1/3 อดีต นายกรัฐมนตรี หญิง ปากีสถาน Killing of another woman prime minister here and soon!

เมื่อ นายกรัฐมนตรีหญิง อีกคนหนึ่ง ถึงคิวโดนสังหาร!

นางสาวเพนะซีระ ภุทโท
बेनज़ीर भुट्टो
ตอน 1/3


ก่อนที่เธอ จะถูกฆ่าตาย

นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ( बेनज़ीर भुट्टो ) ได้แสดงความจำนง ขอความคุ้มครองเพิ่มขึ้น จากรัฐบาลสองรัฐบาล คือรัฐบาลปากีสถานและรัฐบาลสหรัฐฯ คำร้องขอของเธอ ระบุด้วยว่า เธอต้องการ การคุ้มครองจากกิจการอารักขาบุคคลสำคัญ ของธุรกิจรปภ.ที่มีชื่อเสียงในสหรัฐฯบริษัทหนึ่ง หรือกิจการรปภ.ที่มีชื่อเสียงในอังกฤษบริษัทหนึ่ง กิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้ ผลปรากฏว่า ทั้งรัฐบาลปากีสถานและรัฐบาลสหรัฐฯ ปฎิเสธคำขอของเธอ

หลังจากที่เธอถูกสังหาร องค์การสหประชาชาติ ได้ดำเนินการสืบสวนคดีอาชญากรรม ตามคำขอของรัฐบาลปากีสถาน โดยมีร.ม.ต.มหาดไทย นายเรมัน มาลิก เป็นเจ้าความคิดต้นเรื่อง สหประชาชาติแต่งตั้ง เอกอัครราชทูตชิลีประจำองค์การสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าคณะ มีอดีตอัยการสูงสุดของอินโดเนเซีย และอดีตนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่จากประเทศไอร์แลนด์ เป็นสมาชิกในทีมงาน

คณะสืบสวนดังกล่าว รายงานว่า “การฆาตกรรม นางสาว เพนะซีระ ภุทโท สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้ามีการรักษาความปลอดภัย อย่างเพียงพอ”

และ ยังระบุเน้นอีก ว่า “...แต่การรักษาความปลอดภัย ที่รัฐบาลปากีสถาน จัดอารักขา นางสาวภุทโท นั้น บกพร่องอย่างมาก และไร้ประสิทธิภาพอย่างยิ่ง”