"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓

Entrepreneur ในภาษาฝรั่งเศส-วิจารณ์

โดย เดฟ นาพญา
เราพิจารณาเรื่องรูปของคำกันก่อนน่าจะดี ส่วนความหมายของคำว่ากันทีหลังยังไม่เอาใจใส่-เดี๋ยวเราจะยุ่ง ซึ่งทำให้เราพบว่าแม้ในภาษาฝรั่งเศสที่เป็นต้นตอ คำ ๆ นี้ก็มีลูกหลอก กล่าวคือเราจะหา คำกิริยา ตรง ๆ ของคำนามคำนี้ไม่เจอ เราจะพบแต่คำกิริยาที่เพี้ยนออกไปเล็กน้อย คือคำกิริยาว่า “entreprendre”(อัง-เถรอะ-ปร็อง-เดรอะ) อันที่จริงคำนามที่ตรงกับรูปของคำกิริยา entreprendre คือ “entreprendeur” มีอักษร “d” แทรกอยู่ด้วยเช่นเดียวกับอักษร “d” ที่มีอยู่ในคำกิริยาอันเป็นรากศัพท์ แต่คำนามคำที่มีอักษร “d” แทรกอยู่ด้วยนี้เป็นคำโบราณที่เคยปรากฏใน(คริสต์)ศตวรรษที่ 13 ประมาณปลายกรุงสุโขทัยเหลื่อมกับต้นอยุธยา ครั้นถึงประมาณรัชกาลเจ้าสามพระยาเมื่อ ค.ศ. 1430 คำว่า entrepreneur ของเรา(ปราศจาก “d”) ก็ปรากฏขึ้นมาแทนที่ ส่วนคำโบราณว่า “entreprendeur” หายตัวไปเลย ไม่มีให้เราได้พบเห็นกันอีกในภาษาฝรั่งเศสสมัยใหม่

หันมามองความหมายกันบ้าง คำกิริยา entreprendre ไม่ใช่คำลึกลับ แต่มาจากคำรากที่ดาษดื่นเกลื่อนตลาดเอามาก ๆ เพราะเกิดจาก entre + prendre ท่านผู้อ่านนิตยสาร MBA จำนวนไม่น้อยที่เคยเรียนภาษาฝรั่งเศสกันมา หลายท่านก็จะรู้ภาษาฝรั่งเศสดีกว่าผู้เขียนด้วยซ้ำ เราย่อมจำกันได้ว่าเพียงชั่วโมงแรก ๆ ผ่านไป ครูก็จะนำคำกิริยา “prendre” มาสอน และเราก็ต้องเริ่มท่องจำรูปและเสียงของ การผันคำกิริยา คำนี้กันแล้ว ว่า

je prends
tu prends
il prend
nous prenons
vous prenez
ils prennent

คำกิริยา “prendre” มีความหมายหลักความหมายหนึ่งละม้ายคำกิริยาภาษาไทยว่า “เอา” แถมตามความหมายที่ว่านี้ก็มีที่ใช้มั่วทั่วไปหมดคล้าย ๆ กันอีกด้วย จนเป็นเหตุให้จะต้อง.........................

(โปรดติดตามอ่านบทความเนื้อเต็ม ในนิตยสาร MBA ฉบับกันยายน 53)

ปฏิวัติฝรั่งเศส ตอน 5 พระเอกนางเอก-ตัวจริง

โดย ภูพาเนช มะเด็ง


หลังจากช่วงเวลาอันบ้าคลั่งสุดขีดอีกเหตุการณ์หนึ่งในการปฏิวัติฝรั่งเศส อันได้แก่ช่วงเวลาที่นักประวัติศาสตร์เรียกกันว่า ยุคสยองขวัญ(la Terreur) ใกล้จะขมวดตัวอวสานลงนั้น โรเบสปิแยร์กับนักปฏิวัติคนสนิท ถูกพวกปฏิวัติมุ้งเดียวกัน(คือมุ้ง Les Jacobins) จับตัวไปคุมขังไว้บนศาลาเทศบาลนครปารีส ซึ่งตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งศาลาเทศบาลปัจจุบันนั่นเอง เพียงแต่ว่าอาคารหลังปัจจุบันเป็นอาคารที่สร้างขึ้นมาแทนอาคารหลังเดิมที่ทุบทิ้งไปแล้ว

เวลาเขียนเรื่องประวัติศาสตร์จะน่ากลัวอยู่อย่าง คือกลัวว่าท่านผู้อ่านจะนึกว่าผู้เขียนคร่ำครึชนิด old and boring ทั้ง ๆ ที่เราเปล่าซะหน่อย ผู้เขียนเป็นเพียงนักเขียนผู้ใช้ทักษะของอาชีพมาเล่าเรื่องประวัติศาสตร์(และเรื่องอื่น ๆ) แต่ผู้เขียนไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ดีผู้เขียนมีเพื่อนเป็นนักประวัติศาสตร์อาชีพ คือเรียนมาทางประวัติศาสตร์และทำมาหากินเป็นครู(อาจารย์)สอนวิชาประวัติศาสตร์ เขาก็น่าจะมีความหวาดกลัวแบบที่ผู้เขียนกำลังกลัว คือเขากลัวว่าคนจะเข้าใจว่าตัวเขาเป็นคนชนิด old and boring เพราะฉะนั้น จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าตลอดระยะเวลาที่คบกันมา เขาไม่เคยคุยกับเพื่อนฝูงเรื่องประวัติศาสตร์เลย แล้วเขาชอบคุยเรื่องอะไรกับพวกเรา? เขาจะคุยแต่เรื่อง เหตุการณ์ปัจจุบัน...ครับ ท่านผู้อ่านที่มีเพื่อนเป็นนักประวัติศาสตร์ เคยลองสังเกตประเด็นนี้กันบ้างเปล่า?

เพื่อตีตัวออกห่าง แยกตัวเองออกจากยุคสมัยของโรเบสปิแยร์ ไม่ให้คนเข้าใจว่าเราคร่ำครึ ก็ใคร่จะเรียนท่านผู้อ่านว่า เมื่อผู้เขียนเดินทางไปเรียนหนังสือที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น ไม่ได้เดินทางไปทางทะเลด้วยเรือเดินสมุทร์ แล้วไปขึ้นบกที่เมืองท่ามาร์เซย์...แบบที่นักเรียนฝรั่งเศสยุคดึกดำบรรพ์ท่านเดินทางกัน แต่ผู้เขียนเดินทางแบบบินตรงจากกรุงเทพฯไปลงที่สนามบินชาร์ล เดอ โกลล์ กรุงปารีส ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 747 ของสายการบินแอร์ฟร้านซ์เที่ยวบินที่ AF 169 ซึ่งต้นทางมาจากโฮจิมินห์ ซิตี้ ในเวียตนาม แวะกรุงเทพฯแล้วบินตรงเข้าปารีส เที่ยวบินเที่ยวนี้ยังคงบินอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้...เหมือนเดิม โปรดดูตารางเวลาการบิน ที่ก็อปมาจากเว็บของแอร์ฟร้านซ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้

AF169

Départ prévu de Ho Chi Minh Ville (SGN) à 19:50, Ven. 25 juin 10
Arrivée prévue à Bangkok (BKK) à 21:20, Ven. 25 juin 10
Départ prévu de Bangkok (BKK) à 22:45, Ven. 25 juin 10
Arrivée prévue à Paris (CDG) à 06:00, Sam. 26 juin 10

เที่ยวบิน AF 169 ของสายการบินแอร์ฟร้านซ์ ยังคงไปถึงปารีสเวลาเช้าตรู่ เช่นเดียวกับวันที่ผู้เขียนเดินทางไปถึงในฐานะนักเรียน เมื่อหลายปีก่อนโน้น  ตอนเย็นวันที่เดินทางไปถึง ผู้เขียนก็ได้เที่ยวเล่น  ด้วยการนั่งรถไฟใต้ติน จากย่านการ์ติเย่ ละแต็ง อันเป็นถิ่นที่พำนัก  ไปโผล่ที่กลางกรุง  โดยมิได้มีจุดหมายใด ๆ เฉพาะเจาะจง.......................................................

(บทความเนื้อเต็ม  ติดตามได้ที่นิตยสาร MBA ประจำเดือนกันยายน 53
และ ท่านสามารถอ่านบทความเนื้อเต็ม โดยคลิกแท็ป "ปฏิวัติฝรั่งเศส" ด้านบน ใต้ชื่อบล็อค)

วันพุธที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓

วิจารณ์ พระวัด(ระฆัง)โฆสิตาราม กับ เมืองแมว [โพสต์ทั้งบท]

โดย เดฟ นาพญา


[บทความ-โพสต์ทั้งบท]
รถไฟด่วนขบวนกลางคืนออกจากกัลกัตตา แล่นมาตลอดทั้งคืนกระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้น เวลาสายแก่ ๆ ก็ชะลอความเร็วเข้าเทียบชานชลาสถานีอัลละหะบัด ซึ่งก่อนจะเดินทางมาผู้เขียนก็ได้กดซอฟแวร์ กูเกิ้ล เอิร์ธ ตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียม ดูทางหนีทีไล่ของสถานี พบว่าเป็นสถานีใหญ่และทางหนีทีไล่ที่สำคัญสำหรับคนเดินทางแบกเป้ใบเดียวแบบผู้เขียน ก็คือต้นสายรถเมล์อยู่ไม่ไกลจากบริเวณหน้าสถานีรถไฟ (-แบบนี้ค่อยยังชั่วหน่อย)

มาทำไม? เมืองอัลละหะบัดมีความสำคัญต่ออินเดียตั้งแต่โบราณมาจนปัจจุบัน ทั้งความสำคัญด้านจิตวิญญาณและด้านเทคโนโลยี จนไม่สามารถจะประมวลมาเขียนได้หมดในบทความชิ้นเล็ก ๆ ชิ้นนี้ จึงตัดสินใจว่าจะไม่เขียนถึงอัลละหะบัดแล้วกัน เพราะอัลละหะบัดไม่ใช่จุดหมายปลายทาง เป็นเพียงเมืองที่เป็นทางรถไฟผ่านเพื่อมาต่อรถเมล์ไปโกสัมพีเท่านั้น

เมื่อได้กด กูเกิ้ล เอิร์ธ ดูภาพถ่ายดาวเทียมอีกครั้งก็พบว่า เมืองโกสัมพี ( ) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนานั้น ในเวลานี้ที่ดาวเทียมถ่ายให้ดู เห็นว่าเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้กับโกสัมพีได้แก่เมืองอัลละหะบัด แล้วแม่น้ำยมุนาก็ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำคงคาตรงใจกลางชมพูทวีปที่เมืองนี้ ครั้นตรวจสอบแผนที่ภาคพื้นดินก็พบว่า ใช่แล้ว...ถ้าจะไปโกสัมพีต้องมาที่นี่ก่อน แล้วจะสะดวกในการหาพาหนะเดินทางต่อไป และเมื่อศึกษาตารางรถไฟอินเดียแล้วก็ทราบว่าจากกัลกัตตานั้น ถ้าจะไปโกสัมพีให้ลงรถไฟที่อัลละหะบัดจะสะดวกที่สุด และจากกัลกัตตาก็มีรถไฟขบวนค่ำชื่อ

 ”เฮาราห์ มุมไบ เมล์” ซึ่งจะมาถึงอัลละหะบัดช่วงสายแก่ ๆ ของวันรุ่งขึ้น