"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สำนึกในความยุติธรรม-สิ่งที่ถูกที่ควรอันพึงทำ Episode 02/12 "ค่าของคน กับ ความสุขสันต์หรรษา"

Episode 02 part 1 ติดป้าย บอกราคาชีวิตมนุษย์ ได้ด้วยหรือ

ปัจจุบันนี้ การแสดงเหตุผลแบบอิงประโยชน์ หรือ “ผลดี-อย่างใหญ่สุด แก่คน-จำนวนมากสุด” ตามความคิดอาจารย์เจอเรมี เบ็นแธม ถูกนำมาใช้ประเมินความคุ้มค่าของการลงทุน และประเมินความควร/ไม่ควร ในอันที่จะลงมือทำกิจกรรมใด ๆ ทั้งในบริษัทเอกชนและหน่วยงานราชการ ตลอดจนใช้เพื่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน ของเราท่านทั้งหลาย ทั้งนี้โดยเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่าย กับ ประโยชน์ที่จะได้รับ  จากกิจกรรมนั้น หรือบางท่านเรียกเป็นภาษาไทย ว่า การวิเคราะห์ความคุ้มค่า

บริษัทบุหรี่ ฟิลลิป มอริส วิเคราะห์ความคุ้มค่าของการสูบบุหรี่ ให้กับประเทศสาธารณรัฐเช็ค ซึ่งสมัยหนึ่งมีคนสูบบุหรี่มาก บริษัทฟิลลิป มอริส ดำเนินธุรกิจมีผลกำไรอยู่ที่นั่น ผลการศึกษาของฟิลลิป มอริส ได้ความว่า ประเทศสาธารณรัฐเช็คจะได้ประโยชน์จากการปล่อยให้ประชาชนสูบบุหรี่ เพราะว่า จะมีรายได้ภาษีบุหรี่ และคนจะตายไวขึ้น ทำให้ประหยัดค่ารักษาพยาบาล และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายดูแลคนแก่ (at 05:50 Episode 02) อย่างไรก็ดี ศ.แซนเดลเล่าว่า ต่อมา บริษัทฟิลลิป มอริส ได้ออกมาขอโทษสาธารณชน เกี่ยวกับการศึกษาความคุ้มค่า ที่ใจดำและไร้จิตสำนึกเรื่องนี้

ตัวอย่างการประเมินความคุ้มค่า มีชื่อเสียงอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ศ.แซนเดล ยกขึ้นมาสาธก ได้แก่ กรณีศึกษาความคุ้มค่าการออกแบบรถ ฟอร์ด ปินโต เพื่อให้ปลอดภัยขึ้น ซึ่งมีการตีค่าคนตายและบาดเจ็บออกมาเป็นตัวเงิน ผลการประเมินความคุ้มค่าระบุว่า ไม่คุ้มค่าที่บริษัทจะเพิ่มชิ้นส่วนเพื่อความปลอดภัย ไว้ในแบบรถยนต์ ผลการศึกษาถูกนำขึ้นแถลงในศาล เพราะบริษัทถูกผู้ได้รับความเสียหายฟ้องคดี คณะลูกขุนห่อเหี่ยวกับความใจดำและไร้จิตสำนึก ของบริษัทฟอร์ด และได้ตัดสินคดี ให้บริษัทชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนมาก

ถึงแม้ การกำหนดราคาชีวิตมนุษย์จะมีปัญหายุ่งยาก กับมีข้อพิจารณาว่าจะเหมาะสมหรือไม่ แต่ ศ.แซนเดล ได้ถามนักศึกษาว่า โดยภาพรวมแล้วนักศึกษา เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับแนวคิดศิลธรรมแบบ “ผลดีอย่างใหญ่สุด แก่คนจำนวนมากสุด” (GHGN = Greatest Happiness, for Greater Number of people) ผลการยกมือปรากฏว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ เห็นด้วย  นักศึกษาที่ ไม่เห็นด้วย เป็นคนส่วนน้อย ศ.แซนเดล ขอให้นักศึกษาฝ่ายข้างน้อย ซึ่งไม่เห็นด้วย ได้แสดงเหตุผลก่อน

ก่อนที่จะสรุปผลการแสดงเหตุผล ศ.แซนเดล ได้ยกตัวอย่าง เรื่องราวในยุคโรมัน ที่ชาวโรมันโยนคนคริสเตียนให้สิงโตกินในสนามโคลีเซียม เพื่อจะได้ชมการต่อสู้มือเปล่า ระหว่างคนกับสิงโต เป็นรายการบันเทิงยอดนิยมในกรุงโรมยุคหนึ่ง ความทุกข์ทรมานของคริสเตียน ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยนิด ถ้าจะเทียบกับความสุขสนุกสนานของชาวโรมันที่เป็นคนส่วนใหญ่ คิดตามหลัก“ผลดีอย่างใหญ่สุด แก่คนจำนวนมากสุด” แล้ว การโยนคนคริสเตียนให้สิงโตกินในโคลีเซียม ถือได้ว่า เป็นสิ่งที่ถูกที่ควรอันพึงทำ ถูกต้องตามครรลองของศิลธรรมทางแพ่ง แนวประโยชน์นิยม

สรุปฝ่ายค้าน ศ.แซนเดล สรุปว่า คำค้านแบ่งออกได้เป็นสองประเด็น คือ

  1. ศิลธรรมประโยชน์นิยมที่ยึดถือ “ผลดีใหญ่สุด สำหรับคนมากสุด” นั้น ได้ให้ความเคารพต่อเสียงข้างน้อย พอหรือยัง? และได้มองข้าม “ขวัญ” หรือ สิทธิพื้นฐานของปัจเจกชนแต่ละคน ไปหรือเปล่า? ว่า “ขวัญ” หรือสิทธิพื้นฐาน เป็นสิ่งที่กำเนิดติดมาคู่อยู่กับชีวิตทุกชีวิต (อีกนัยหนึ่ง ผู้เขียนบทสรุปภาษาไทย ขอสรุปว่า ในประเทศไทย คนมุสลิมเป็นคนส่วนน้อย เพราะฉะนั้น เพื่อประโยชน์สุข และ “ผลดีใหญ่สุด สำหรับคนมากสุด” เราจะทำย่ำยีคนมุสลิมอย่างไรก็จะดีไปหมด เช่น อุ้มฆ่าทนายความสมชาย เป็นต้น หรือในทางกลับกัน ในประเทศบังคลาเทศคนพุทธเป็นคนส่วนน้อย อยู่กันแถวเมืองจิตตะกองเท่านั้น เพราะฉะนั้น เพื่อ “ผลดีใหญ่สุด สำหรับคนมากสุด” เราจะทำอย่างไรกับคนพุทธก็จะดีไปหมด เช่นสมมุติว่า จะอุ้มฆ่าท่านทูต อรรนพ กุมาร จักกะมะ เอกอัครราชทูตบังคลาเทศคนปัจจุบัน ที่ประจำประเทศพม่า ซึ่งท่านเป็นคนพุทธ เป็นต้น)
  2. ความทรงคุณค่า ของสิ่งทั้งหลายในโลกมนุษย์ทุก ๆ เรื่อง สามารถตีออกมาเป็นหน่วยเงินตรา เพื่อจะได้รวมตัวเลข ออกยอดเป็น ผลดีอย่างใหญ่สุด ได้จริงหรือ?
เพื่อ สรุปให้กับฝ่ายสนับสนุน ศ.แซนเดล ยกตัวอย่างงานวิจัยด้านจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่ง ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในโลกตะวันตก เมื่อทศวรรษที่ 30 งานวิจัยชิ้นนั้นพยายามพิสูจน์ว่า คุณค่าทั้งหลายในโลกมนุษย์ทุกเรื่อง สามารถตีราคาออกมาได้เป็นหน่วยเงินตรา  โดยผู้วิจัยได้สอบถามผู้ประสบภัยเศรษฐกิจวิบัติ ที่มาขอรับการสงเคราะห์ ว่าถ้าจะให้ทำกิจกรรมอันน่าสะอิดสะเอียน หรือเจ็บปวด ไม่น่าพึงปรารถนา ดังต่อไปนี้ เขาอยากได้เงินจำนวนเท่าใด จึงจะยอมทำ เช่น 1)ดึงฟันหน้าให้หลุด หนึ่งซี่ 2)ตัดนิ้วเท้าก้อย หนึ่งนิ้ว 3)กินใส้เดือนตัวยาวที่ยังมีชีวิต หนึ่งตัว 4)ใช้ชีวิตที่ยังเหลือทั้งชีวิต ในไร่นาในมลรัฐแคนซัส - ซึ่งถือกันในสมัยนั้นว่า ล้าหลัง น่าเบื่อหน่าย 5)บีบคอแมวเรร่อนตัวหนึ่ง จนตายคามือ ผลการสอบถามพบว่า ข้อ 4 จะต้องจ่ายเงินมากที่สุด รองลงมาคือ ข้อ 3 ฯลฯ

ผู้ทำการวิจัย ได้ข้อสรุปว่า กิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งปวงของมนุษย์ มีอยู่  ใน “ปริมาณหนึ่ง” มากน้อยต่างกันไป  สังเกตดูเถิด คนเราไม่ได้รู้สึกอยากอะไร ในปริมาณความอยากที่เท่า ๆ กันเสมอไปทุกครั้ง ทุกกรณี หรือเหมือน ๆ กันทุกคน ก็ในเมื่อกิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งปวง มีอยู่ ในปริมาณหนึ่ง  เพราะฉะนั้น ความอยากทั้งหลายนี้ ย่อมจะต้องวัดค่าออกมาได้ เพราะความที่มันมี “ปริมาณ” อยู่นั่นเอง

แต่ จริงหรือว่า  ผลของงานวิจัยชิ้นนี้ สนับสนุนศิลธรรมแนวประโยชน์นิยม ที่ว่าคุณค่าและความมีราคาทั้งปวง สามารถตีออกมาได้ด้วยหน่วยวัด ที่เป็นเอกภาพเดียวกันทั่วไปหมด เช่น หน่วยเงินตรา เป็นต้น ดังนั้น จึงสามารถนำมาบวกรวมกันได้ เพื่อหาผลดีอย่างใหญ่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุด

หรือว่าการณ์ตรงกันข้าม  คือพิจารณาอีกทางหนึ่ง สิ่งทรงคุณค่าและมีราคาทั้งหลายทั้งปวงในมนุษยโลกนั้น นอกจากจะหลากหลายแล้ว ยังผิดกันไกลและสถิตอยู่ในต่างมิติกัน  จนเราไม่สามารถใช้หน่วยวัดค่า หน่วยเดียวอย่างมีเอกภาพ ไปวัดมาได้ เช่น ระยะทางวัดด้วยหน่วยวัดเป็นกิโลเมตร แต่วัดน้ำหนักกลับใช้หน่วยกิโลกรัม เป็นต้น โดยที่ หนึ่งกิโลเมตร ไม่ใช่  หนึ่งกิโลกรัม และไม่ใช่  หนึ่งกิโลวัตต์ หรือไม่ใช่  หนึ่งกิโลไบต์

ซึ่ง ก็ในเมื่อ เราไม่สามารถตีราคา สิ่งมีค่าทั้งหลายในสากลโลก ออกมาได้โดยใช้หน่วยวัดเดียวกันอย่างมีเอกภาพ เมื่อนั้น อะไรจะเกิดขึ้นกับปรัชญาประโยชน์นิยม อันวางอยู่บนพื้นฐานเรื่องการรวมค่าผลดีนานาชนิดของนานาบุคคล เข้าด้วยกัน เพื่อหาผลดีอย่างใหญ่สุด มาเป็นตัวกำหนดศิลธรรม?

-------------------------------------------------------------------------------------------

คลิกชมวีดีโอ การอภิปรายของนักศึกษา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  และคำสอน ศ.แซนเดล
Episode 02/12 ค่าของคน กับ ความสุขสันต์หรรษา PUTTING A PRICE TAG ON LIFE
--แม้ว่า ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ก็ควรคลิกชมครับ ท่านจะได้อะไรไป มากกว่าอ่านบทสรุปของผู้เขียน อย่างเดียว  เขาพิมพ์ บทพูด เป็นภาษาอังกฤษ ไว้ให้ดูด้วย
-------------------------------------------------------------------------------------------
Episode 02 part 2 จะวัดความสุขสันต์หรรษา ได้อย่างไร
จะโพสต์ต่อ ที่นี่ สุดสัปดาห์หน้า 4 พฤศจิกายน ครับ

คลิก-->>กลับหน้า โหมโรง




1 ความคิดเห็น:

  1. dear readers,
    this is my former blog which has been compromised. i cannot update it or do anything about it any more. however, i have my new blog at www.pricha123.blogspot.com

    thank for your visits.
    pricha

    ตอบลบ