"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันจันทร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

“freely elected Prime Minister of…กระบือแลนด์”

บทความเรื่อง  “freely elected Prime Minister of…กระบือแลนด์

แดง ใบเล่
เผยแพร่แล้ว ทางสื่อสิ่งพิมพ์
เมื่อ มกราคม 2551

บ้านเมืองที่ระบบกฎหมายเจริญวัย มีวุฒิภาวะ ราษฎร์-พลเมืองมีระดับวัฒนธรรมสูงกว่าทารก เข้าใจที่จะใช้วิธีอหิงสา(civility) แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างกันและกัน ทั้งข้อขัดแย้งที่เป็นงานเมืองและงานส่วนตัว ไม่ใช่เอะอะอะไร ก็จะกระโดดเข้าขย้ำคอกัน แบบไอ้ตูบข้างถนนเลย สองสิ่งนี้ ระบบการใช้กฎหมายเจริญวัย และราษฎร-พลเมืองมีวัฒนธรรมสูงกว่าทารก คือองค์ประกอบในโครงสร้าง(configuration)ของระบบการเมืองการปกครองของประเทศ ที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และสองสิ่งนี้เป็นหลักประกันให้แก่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (พอสมควร)

ศาล(ส่วนหนึ่งของระบบกฎหมาย)จะประนีประนอมความเป็นจริงทางสังคม กับ การเมืองการปกครอง ได้อย่างไร?

ศาลจะหาสมดุล ระหว่างตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับเสรีภาพ(liberty-bearing provisions) กับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับความยุติธรรม(justice-bearing provisions) ในรัฐธรรมนูญได้อย่างไร?

การเมืองการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคนจำนวนมากเห็นว่าดี และผู้เขียนก็เห็นว่า ดีกว่าระบบ “เผด็จการเสรี” พาราสาวัตถี ตามอำเภอใจ ใครมือยาวสาวได้สาวเอา เยอะเลย

อย่าหลงถือ ซื่อสัตย์ มักขัดสน

จงคิดกล ให้ได้ดัง หนึ่งกังหัน

ลมพัดกล้า มาทางไหน ไปทางนั้น

หมุนให้มัน รอบตัว กลัวทำไม

แม้นมีมิตร แล้วจงคิด ทำลายล้าง

ตัดหนทาง โกงเจ้า เอาแต่ได้

สละซื่อ ถือดังนี้ ดีสุดใจ

อย่าเลือกหน้า ว่าผู้ใด ใส่ให้พอ

-เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)


อะไรเป็นปัญหาหรือ การเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีปัญหาใหญ่เกี่ยวกับการที่ชัดเจนเรื่อง “สิทธิ” แต่ไม่ชัดเจนเรื่อง “ความยุติธรรม”

ในห้วงมหาสมุทร์แห่ง “สิทธิ” นั้น ในที่สุดแล้ว ก็จะจบลงกับเรือลำน้อยของ “สิทธิตามกฎหมาย” ซึ่งผู้นิยมระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย ต่างก็รู้สึกมีความสุขที่ “สิทธิ” จบลงได้เช่นนั้น แม้จิตใจจะประหวั่นพรั่นพรึง กับการขึ้นเรือลำน้อยลำนั้น อยู่บ้างก็ตาม (เช่น ณ เดือนพฤษภาคม 2554 ตัวอย่างคือ อดีต ผ.อ. ไอเอ็มเอฟ เป็นต้น)


แต่ในทะเลแห่ง “ความยุติธรรม” เล่า โดยธรรมชาติความยุติธรรมแม้จะชัดแจ้ง แต่ก็ไม่อาจจะจบลงได้ชัดเจนมาก เท่าเรื่องของสิทธิ เพราะว่า องค์ประกอบโครงสร้าง(configuration)ของความยุติธรรม ไม่ได้ต่อพ่วง หรือ plug-in ได้อย่างไร้รอยตะเข็บ(seamless) กับตัวบทกฎหมาย หากว่า ความยุติธรรมยังขึ้นอยู่กับ “ความประพฤติปฏิบัติอย่างยุติธรรม” ด้วย พอเรามาถึงประเด็นของการประพฤติปฏิบัติ จะเห็นได้ว่า ปริมณฑลของความยุติธรรม ก็ขยายออกไปครอบคลุมถึงปฏิบัติการในทางการเมือง ของคนในคณะรัฐบาล และนักการเมืองทั้งหลาย แม้ไม่ได้อยู่ในรัฐบาล

บ้านเมืองที่ระบบกฎหมายเจริญวัย มีวุฒิภาวะแล้ว กับพลเมืองมีวัฒนธรรมที่จะใช้วิธีอหิงสา(civility)แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างกันและกัน ทั้งข้อขัดแย้งที่เป็นงานเมืองและงานส่วนตัว ไม่ใช่เอะอะอะไรก็จะกระโดดเข้าขย้ำคอกัน แบบไอ้ตูบข้างถนน นักการเมืองที่นิยมระบอบสนตะพาย และกดขี่ข่มเหง เผด็จการเสรี พาราสาวัตถี ตามอำเภอใจมือยาวสาวได้สาวเอา เวลาแพ้ภัยของตัวเอง หรือพ่ายแพ้ในสนามการเมืองแท้จริง(Realpolitik) ที่ไม่ใช่สนามการเมืองภาพสร้างและเหตุการณ์เทียม แล้วเขาถูก eject ออกทางช่องซีดีรอม ก็จะแสวงหาคุณประโยชน์ที่จะได้จากสังคมอื่น ซึ่งเป็นสังคมที่ระบบกฎหมายเจริญวัยมีวุฒิภาวะแล้ว และมีวัฒนธรรมตามรัฐธรรมนูญ(civility) กล่าวเป็นรูปธรรมชัดเจน คือ จะพยายามแสวงหาที่หลบภัย จากความพ่ายแพ้ของการเมืองเวอร์ชั่น“การเมืองแท้จริง” ไปหลบอยู่ในสังคมที่กฎหมายมีวุฒิภาวะและมี civility ทั้ง ๆ ที่เวลาตนเองมีอำนาจ เคยประพฤติ เผด็จการเสรี ตามอำเภอใจ มือยาวสาวได้สาวเอา เหยียบย่ำทำลายระบบกฎหมาย และ civility อย่างส่อนิสัยฝังลึก ชนิดที่ permanently embedded พูดอีกแบบว่า เป็นนิสัยชนิด on-board และ board ที่ว่านั่นหมายถึง mother board ซึ่งถ้าจะเขียนว่า สันดานแห่งกำพืด เดี๋ยวจะหยาบ ก็เลยเขียนเสียว่านิสัย on-board เขาเห็นว่า ระบบความยุติธรรมตามตัวบทกฎหมาย และตามวัฒนธรรมของรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่อง “โจ๊ก” แบบว่า “ขำอ่ะ...”

ตรงนี้ ขอแทรกเพลง Country Music สักหนึ่งเพลง...ซึ่งสำหรับท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านที่นิยมดนตรีแนวนี้ ย่อมรู้จักเพลงนี้ ดีอยู่แล้ว พร้อมกับ คำแปลเนื้อเพลงตามอำเภอใจ(free translation) เพลงนี้มีโพสต์อยู่ในยูทูบ หลายต้นฉบับ

เพลง“Midnight Special”               หรือ “เมื่อไอ้เท่งไป แซม ฮุสตัน”

If you ever go to Houston,               เมื่อ ไอ้เท่ง ไป แซม ฮุสตัน
Oh You better walk right;                โห...ไอ้เท่ง เดินตัวตรงไว้ล่ะดี
You better not stagger                     อย่าตะแบงเดินตัวเอียง จะเพลี่ยงพล้ำ
And you better not fight.                  เกล็ดก็แห้ง แร้งก็แห่แล้ว
For the sheriff will arrest you,           นายอำเภอจะจับตัว
He'll surely take you down;               ลากคอ ไอ้เท่ง ลงมา
When the judge found you guilty,      เมื่อ ผู้พิพากษาตัดสินว่า ผิด
Then you're prison bound.               ไอ้เท่ง มุ่งหน้า หาตะราง ลูกเดียว

แต่...อนิจจานักการเมืองที่ถูก eject ออกทางซีดีรอม ไปอยู่นอกประเทศ แล้วไม่อาจคิดได้ ตามท่วงทำนองเพลง Midnight Special ก็มีอยู่เหมือนกัน คือไม่แสวงหาที่หลบลี้หนีหน้าทางการเมือง จากความพ่ายแพ้ในเกมการเมืองเวอร์ชั่น “การเมืองแท้จริง” ไปอยู่กับสังคมที่กฎหมายมีวุฒิภาวะและมี civility

นักการเมืองท่านนั้น ชื่อ ทร็อทสกี้ เป็นนักการเมืองในประเทศรัสเซีย สมัยที่ประเทศนั้น ยังใช้ชื่อประเทศว่า “สหภาพโซเวียต”

ทร็อทสกี้ เป็นคนยิว เดิมเป็นนักการเมืองสาย “populist” หรือภาษารัสเซียอ่านออกเสียงว่าพวก narodnik ครั้นพ่ายแพ้ภัยตัวเอง ในสนามการเมืองเวอร์ชั่นการเมืองแท้จริง แต่ตัวเองคิดว่ายังมีโอกาสชนะอยู่ ในสนามแห่งความสติฟั่นเฟือนเฟอะฟะทางการเมือง หรือพูดแบบวิชาการชั้นสูงว่าการเมืองภาพสร้าง เมื่อท่านโดน eject ออกจากสหภาพโซเวียตทางช่องซีดีรอม ท่านก็เดินทางไปอยู่ในต่างประเทศหลายประเทศ ในที่สุดก็ได้หนีไปอยู่ไกล ถึงประเทศเม็กซิโก คิดว่าไกลสุด ๆ หรือไป ไกลจนไม่ได้ยินเสียงกลอง แล้วนะนั่น หลังจากนั้น ท่านได้ใช้พื้นที่สื่อสมัยนั้น กระทำทุกอย่างทุกประการ เพื่อให้ได้อำนาจในการเมืองเวอร์ชั่นภาพสร้าง กลับคืนมา

เขาได้ทำ ไปมากแค่ไหน?

สมัยนั้น ยังไม่มีอินเตอร์เนต และยังไม่มี YouTubues และแม้กระทั่ง พ.ร.บ.เปิดเผยข้อมูลล็อบบี้ (Lobbying and Disclosure Act of 1995)ในสหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่เกิด และในสหรัฐอเมริกา ก็กะลังแอนตี้คอมมิวนิสต์แบบ “อุจจาระขึ้นสมอง” โดยที่สภาผู้แทนราษฎรอเมริกัน ตั้งคณะกรรมการไล่บี้คอมมิวนิสต์ในสหรัฐฯ ใช้ชื่อหรูว่า “Un-American Activities Committee” พยายามจะกระทำการหลาย ๆ อย่าง เพื่อทำลายพวกคอมมิวนิสต์ในสหรัฐฯ แต่โดยทางการจะบอกว่า ทำไปเพื่อจัดระเบียบของความประพฤติที่ไม่เป็นอเมริกัน (แปลว่าอะไรก็ไม่รู้? ความประพฤติแบบจีน หรือแบบฮินดูเนี่ยะ มัน un-American เปล่า?)

กิจกรรมของคณะกรรมการ Un-American Activities Committee โด่งดังเป็นพลุแตกในสหรัฐฯ สมัยนั้น ดังมากกว่าที่ทีมฟุตบอลสโมสรอังกฤษ จะโด่งดังในสหรัฐฯสมัยนี้เสียอีก ความข้อนี้รู้ไปเข้าหู ทร็อทสกี้ ซึ่งท่านมีนิสัยชอบที่จะอยู่ใน spotlight ถ้าสมัยนี้ ก็ถือว่าเป็นพวกต่อพ่วงประเภท Always-On ท่านไม่ชอบอยู่ในความสงัด มันวังเวงใจ

ทั้ง ๆ ที่เป็นคอมมิวนิสต์แท้ ๆ ชนิดไม่มีเชื้ออื่นปนเลย แต่ท่านก็ยังอุตส่าห์เสนอตัว ขายตัวให้นายทุน โดยอาสาจะไปเป็นพยานปากเอก ในการสอบสวนของคณะกรรมการดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา กะจะบิดเบือนเวทีที่กำลังเป็นกระแสในสหรัฐฯ มารับใช้ private agenda(วาระส่วนตัว)ของท่านเอง คณะกรรมการ Un-American Activities Committee ของสหรัฐฯ แม้จะไม่ฉลาดในหลาย ๆ เรื่อง แต่สำหรับเรื่องนี้พอจะรู้ทัน ทร็อทสกี้ จึงปฏิเสธข้อเสนอ และสหรัฐฯไม่ยอมออกวีซ่าให้ทร็อทสกี้ เดินทางเข้าประเทศ ทางฝ่ายพวกที่แอนตี้ทร็อทสกี้ในประเทศรัสเซีย ซึ่งขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า สหภาพโซเวียต รู้ความข้อนี้ ดีใจกันใหญ่ ใส่สีตีไข่กันต่อไปว่า ทร็อทสกี้ รับทรัพย์จากนายทุนอเมริกัน และเป็นสายให้เอฟบีไอ

ประเทศเม็กซิโกสมัยนั้น ระบบความยุติธรรมตามตัวบทกฎหมาย และตามวัฒนธรรมของรัฐธรรมนูญ(civility)ยังหน่อมแน้มมาก ประเทศละตินอเมริกันในอดีต มักจะมีชื่อเสียงเรื่องความอ่อนแอของระบบความยุติธรรมตามตัวบทกฎหมาย นิยมหาความยุติธรรมให้กับตัวเองกันมากกว่า เช่น อุ้มฆ่ากับล่าสังหาร เป็นต้น แม้แต่ในสมัยนี้ ใครยังคิดบ้างว่า ประเทศละตินอเมริกาหลาย ๆ ประเทศ ปลอดภัยมีสวัสดิภาพดี วางใจได้ ตัวบทกฎหมายทำงานได้ดีแค่ไหนเพียงใด สงสัยอยู่ การเมืองในละตินอเมริกา ซึ่งในอดีตนักเขียนสหรัฐฯ อย่าง โอ เฮนรี่ ขนานนามว่า ประเทศสาธารณรัฐกล้วย(banana republics) เป็นอย่างไร

ทร็อทสกี้ เดินทางไปหลีกลี้หนีการแพ้ภัยการเมือง เวอร์ชั่นการเมืองแท้จริง(Realpolitik) ในประเทศเม็กซิโก ทั้ง ๆ ที่ ทร็อทสกี้ น่าจะรู้ความจริงข้อนี้ดีกว่าผู้เขียนเป็นไหน ๆ แต่ไม่รู้เป็นไง แกก็ยังขืนเลือกไปเล่นซ่อนหาทางการเมือง อยู่ในละตินอเมริกา คือ ในประเทศเม็กซิโก อาจตั้งความหวังอยากจะ plug-in ตัวเอง เข้าไปอยู่ในอเมริกาก็เป็นได้ การคมนาคมและการโทรคมนาคมของโลกสมัยนั้น ถ้ามองไปจากกรุงมอสโคว์ ถือได้ว่า เม็กซิโกอยู่ไกลจนสุดหล้าฟ้าเขียว แม้จันทร์จะส่องหล้าแล้ว...ก็ยังแลไม่เห็นกัน

นักการเมือง “ฉลาด ๆ” รวมทั้ง นักการเมืองโง่เง่าแต่ทำท่าคล้ายจะเหลี่ยมจัด(cunning idiot)ยุคต่อ ๆ มา ไม่นิยมหลบภัยทางการเมืองในละตินอเมริกา ทั้งนี้เพราะว่า “configuration” เรื่องความยุติธรรมก็ดี civility ก็ดี ในละตินอเมริกานั้น อาจไม่มั่นคงพอ ประเภทที่ว่า พอเจอหน้ากันก็ทักทายว่า “Hey, this is Latin America, man!” อะไรประมาณนั้น นักการเมืองฉลาด ๆ รวมทั้งนักการเมืองโง่เง่าแต่ทำท่าคล้ายจะเหลี่ยมจัด(cunning idiot) จึงนิยมลี้การแพ้ภัยการเมืองเวอร์ชั่น Realpolitik กัน ในประเทศที่มีระบบกฎหมายเข้มแข็ง มีความยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ มีตำรวจที่พอจะไว้วางใจได้ มีสื่อมวลชนที่เป็นอิสระจากเอเยนซี่โฆษณา มีสติปัญญา มีจิตใจยุติธรรมพอสมควร ไม่ใช่เพราะพลาดงานจากบริษัทโฆษณา พาให้เสียศูนย์ ก็เลยมาทำงานสื่อ ประเทศลักษณะเช่นนี้ได้แก่ ประเทศอังกฤษ เป็นต้น

ไม่มีใครนิยมลี้ภัยการเมืองในทวีปอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามประเทศในทวีปอเมริกา ที่ตั้งอยู่ ล่างลงไปจากแม่น้ำ ริโอ แกรนด์

ศูนย์ศึกษาอเมริกา-เม็กซิกัน ของมหาวิทยาลัยแห่งคาลิฟฟอร์เนีย-ซานดิเอโก น่าจะเป็นแหล่งตอบคำถาม เกี่ยวกับระบบกฎหมายและความยุติธรรมในเม็กซิโกได้ดี สนใจโปรดติดต่อที่ Center for U.S.-Mexican Studies, University of California, San Diego
9500 Gilman Drive, Dept. 0510, La Jolla, CA 92093-0510, U.S.A. หรือง่าย ๆ ลองเคาะเว็บ http://usmex.ucsd.edu/research/research_governance.php

แล้ว ทร็อทสกี้ ผู้ลี้ภัยการเมืองชนิด “การเมืองแท้จริง” อยู่ที่ เม็กซิโก ได้รับผลอย่างไร?

อยู่มาวันหนึ่ง...ชายผู้หนึ่งมาเยือนทร็อทสกี้ ถึงในเรือน นัยว่า จะมาหารือเรื่องการเมืองกะท่าน เข้าใจว่า จะหารือเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ หรืออะไรเฟอะฟะ ทำนองนั้น พอท่านกำลังก้มหน้าก้มตา ลงอ่านปฏิญญาเฟอะฟะอะไรนั่น เพลิน ๆ ชายผู้นั้น ก็หยิบขวานเจาะน้ำแข็ง(ice axe)ที่นำติดมือมาด้วย-โดยเจตนา ฉวยออกมาเงื้อง่าราคาแพง-โดยเจตนา แล้วจามกบาลท่านโครมเข้าให้-โดยเจตนาจะฆ่าให้ตาย (ผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น...) แต่ ทร็อทสกี้ท่านเป็นคนหัวแข็ง ท่านไม่ตายทันที (กรณีจึงปรับใช้มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิด ฐานทำร้ายร่างกาย...) บอร์ดี้การ์ดในบ้านของทร็อทสกี้ ตรูกันเข้ามาจะฆ่าชายผู้นั้นเอาคืน แต่ทำยังไม่ทันจะสำเร็จ (มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิด แต่กระทำไปไม่ตลอด...) ทร็อทสกี้ ยังมีสติดีอยู่ แม้กบาลจะแยกแล้ว ท่านร้องตะโกนว่า “อย่าฆ่าเขา-อย่าฆ่าเขา เขามีเรื่องจะเล่า...” (Don’t kill him. This man has a story to tell.) กรณีการร้องตะโกนดังกล่าว ของทร็อทสกี้ รอดตัวไป ไม่สามารถปรับเข้ามาตรา 85 ผู้ใดโฆษณา หรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป ให้กระทำความผิด...

ทร็อทสกี้ ไปตายในสถานพยาบาล คนที่ฆ่าท่าน ด้วยการเอาขวานจามกบาล ชื่อ นาย ราโมน แมร์กา  เดซ เป็นชาวสเปน ได้รับการฝึกฝนเรื่องศิลปะการฆ่า วิธีการสงครามนอกแบบ และการบ่อนทำลาย มาจากมอสโคว์ เขามีเรื่องจะเล่า แบบว่ามี a story to tell โดยเล่าไว้ในระหว่างขึ้นศาลของเม็กซิโก   ตอนหนึ่งว่า

“...ผมวางเสื้อฝนลงบนโต๊ะ พอที่จะหยิบขวานที่ซ่อนอยู่ ออกจากเสื้อฝนได้สะดวก
บรรยากาศแห่งการสังหาร ช่างสดใสโอถ็อป อะไรเช่นนั้น ผมจะไม่ยอมพลาดโอกาสแบบวิน-วิน
                นี้ เลยเป็นอันขาด แล้วระหว่างที่ทร็อทสกี้ กำลังก้มลงอ่านบทความปฏิญญาฟินแลนด์
                                    ที่ผมนำไปยื่นให้ ง่วนอยู่นั้น ทร็อทสกี้ ก็ได้เปิดโอกาสแห่งบัตรทองรักษาทุกโรคให้กับผม
                                       ผมฉวยขวานที่ซ่อนในเสื้อฝนออกมา กำด้ามขวานไว้แน่น แล้วผมก็หลับตา คิดนอกกรอบ 
จามขวานเล่มนั้น ลงบนกบาลของเขาเลย ครับท่าน”

(คำเตือน-โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน เพราะว่า ข้อความข้างบนนั้น ผู้เขียน แปลแบบใส่สีตีไข่ เผด็จการเสรี ตามอำเภอใจ แปลได้แปลเอา...หรือ free translation)

นักเขียนเม็กซิกันยุคปัจจุบัน  ชื่อ  นายโฆเซ รามอน การ์มาเบลลา  ได้เขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งเมื่อปี2006  เขียนเป็นภาษาสเปน  ชื่อ  เสียงร้องโหยหวน ของ ทร็อทสกี้  (El grito de Trotsky)  ท่านผู้อ่านที่ทราบภาษาสเปน  จะอ่านได้อรรถรส เพราะเขียนด้วยลีลาอ่านเพลิน ชวนติดตาม  อ่านแล้วหวาดเสียวแทนนายทร็อทสกี้  เพราะผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น  ท่านได้ไล่สายเส้นทางอาชญากรรม มาตั้งแต่จุดกำเนิด  สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่ทราบภาษาสเปน ก็รอดตัวไป  ไม่ต้องอ่าน  และไม่ต้องเสียวไส้ (คนโชคดี!)


อย่างไรก็ตาม จะไม่ขอแนะนำหนังสือเล่มข้างบนนั้นให้พวก โลกาภิวัตน์จนตีนขวิด (lame legs globalization)ได้อ่านกัน เพราะถึงแนะนำไป ก็อ่านไม่ออก อยู่แล้ว(ผู้โชคดี-อีกคนหนึ่ง ! )

แล้ว...นักเขียนสักคนหนึ่ง ในเมืองไทย ที่อยากสร้างผลงานแบบเดียว กับงานของนักเขียนเม็กซิกันคนนั้นบ้าง จะให้เขาทำยังงัย...ต้องรออีกนานมั๊ย?

เขาจะต้อง...รออีกนาน  มั๊ยเนี่ยะ?