"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ปฏิวัติฝรั่งเศส ตอน 3 ห้วงกำเนิด-สาเหตุเศรษฐกิจและเหตุอื่น

โดย ภูพาเนช มะเด็ง



มี 3 สาเหตุ คือ

1.ยากเข็ญทุกหย่อมหญ้า - ปัญหาเศรษฐกิจ
2.สังคมไม่ยุติธรรม
3.การปกครองบ้านเมืองหน่อมแน้ม

ที่จริง สาเหตุอาจจะมีมากกว่านั้น หรืออาจจะน้อยกว่านั้น หรืออาจจะแตกต่างไปจากนั้น เพราะว่าตราบจนบัดนี้ความเห็นของนักการเมืองและนักวิชาการ เกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ยังไม่ลงตัวตรงกันแต่ประการใด ที่เห็นตรงกันมีอยู่ประเด็นเดียว คือประเด็นที่ว่า ในปี 1789 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในประเทศฝรั่งเศส อันจะละเลยเพิกเฉยมองข้ามเสียมิได้ เพราะเหตุการณ์นั้นส่งผลกระทบในวงกว้าง ระดับนานาชาติ ในลำดับต่อมา

เนื่องจากความหลากหลายมัลติคัลเลอร์ของความคิดเห็น เพราะฉะนั้นผู้เขียนจะขออนุญาตท่านผู้อ่านยึด 3 ประเด็นข้างบนนั้นเป็นห้วงกำเนิดของการปฏิวัติแล้วกันครับ เพื่อจะได้เขียนบทความเรื่องนี้ให้จบลงได้งัย เพราะถ้ายกมาหมดทุกความเห็นจะไม่มีวันเขียนจบ แต่ถ้าท่านผู้อ่านมีความต่างต้องการจะอภิปรายระหว่างผู้อ่านด้วยกัน หรือต้องการให้คำแนะนำใด ๆ ต่อผู้เขียน (ซึ่งผู้เขียนก็จะน้อมรับด้วยความขอบพระคุณมาก ๆ) ท่านสามารถอภิปรายได้ที่บล็อกของผู้เขียน ในส่วนท้ายของบทความซึ่งได้จัดที่ไว้ให้แสดงความเห็นแล้วครับ ที่ www.devnapya.blogspot.com

1. ยากเข็ญทุกหย่อมหญ้า - ปัญหาเศรษฐกิจ

ประธานาธิบดีทรูแมนเคยพูดว่า “ไหนช่วยส่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจที่มีแขนข้างเดียว มาให้ผมสักคนเด้ะ...” นักเศรษฐศาสตร์แขนด้วน มีแขนข้างเดียว เป็นที่ต้องการของนักการเมือง อย่างเช่นประธานาธิบดีทรูแมน เป็นต้น เพราะว่า นักการเมืองนึกรำคาญบรรดาที่ปรึกษาเศรษฐกิจทั้งหลาย ที่ชอบให้คำแนะนำวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยกล่าวว่า

“On one hand, if……….”
พอพูดจบ ก็พูดใหม่ต่อไปอีกว่า
“On the other hand, if………”
พร้อมกับสรุปว่า มันมีทางเป็นไปได้ทั้งสองทาง

ประธานาธิบดีทรูแมนได้ยินแล้วท่านวางนโยบายไม่ถูก ท่านจึงตบอกผางอุทานว่า “พับผ่า! ไหนช่วยส่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจที่มีแขนข้างเดียว มาให้ผมสักคนเด้ะ”

หลุยส์ที่ 16 โชคดีกว่าประธานาธิบดีทรูแมนมากในประเด็นนี้ เพราะเสนาบดีคลังยุคนั้น
อันได้แก่ ฌาคส์ เน็คแกร์(Jaques Necker)  ท่าน“ฟันธง”ลูกเดียว................


(บทความเนื้อเต็มจะพิมพ์ในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนกรกฏาคม 2553
หรือ ท่านสามารถอ่านทั้งหมดได้ โดยคลิกแท็ป "ปฏิวัติฝรั่งเศส" แท็ปอยู่ใต้ชื่อบล็อคครับ)

วันพฤหัสบดีที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ปฏิวัติฝรั่งเศส ตอน 2 แรงบันดาลใจจากยุคฟ้าแจ้งจางปาง (โพสต์ทั้งบท)

โดย ภูพาเนช มะเด็ง

ปฏิวัติฝรั่งเศส ตอน 2 แรงบันดาลใจจากยุคฟ้าแจ้งจางปาง

โดย ภูพาเนช มะเด็ง 

หมายเหตุ-กำลังรวบรวมบทความเรื่องการปฏิวัติฝรั่งเศส  ไปไว้ด้วยกันในหน้าเดียวในบล็อคนี้...โดยจะเปิดหน้าใหม่เพิ่มขึ้นชื่อ "หน้ารวมเรื่องปฏิวัติฝรั่งเศส" ครับ


พอศอสองพันห้าร้อยสี่
ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม
มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี


ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว
ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า * (ซ้ำ)
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร


ฝ่ายตาสีหัวคลอน
ถามว่า สุกร นั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด * (ซ้ำ)
สุกรนั้นไซร้ คือ หมาน้อยธรรมดา
หมาน้อย หมาน้อย ธรรมดา * (ซ้ำ)


สายัณห์ตะวันร้อนฉี่
ผู้ใหญ่ลีขี่ม้าบักจอน
แดดฮ้อนๆใส่แว่นตาดำ
ผู้ใหญ่ลีกลัวฝนจะตกพรำ * (ซ้ำ)
ถอดแว่นตาดำ ฟ้าแจ้งจางปาง
ฟ้าแจ้ง ฟ้าแจ้ง จางปาง * (ซ้ำ)
ฯลฯ


“เชื่อโชคลาง-งมงาย-ไร้เหตุผล-ไม่มีวิจารณญาณของตัวเอง-นับถือไสยศาสตร์-ถูกข่มขู่ได้ง่ายด้วยนรกและสวรรค์” อีกนัยหนึ่ง “อวิชชาสุด ๆ” นั่นก็คือภาพลักษณ์ของคนฝรั่งเศสก่อนฟ้าแจ้งจางปาง(คือก่อน 1700-1800) ยุคฟ้าแจ้งจากปาหรือ the Age of Enlightenment หรือ Le siècle des Lumières (ประมาณปี 1700-1800) เป็นยุคที่แพร่สะพัดเรื่อง ความคิดอ่านแบบมีเหตุผล เช่น วิทยาศาสตร์(มีเหตุผล) วิทยาการ(มีเหตุผล) เรื่องของความคิดความอ่านทางสังคม(ที่มีเหตุผล) ซึ่งยุคฟ้าแจ้งจางปางจะโดดเด่นเรื่องการใช้เหตุผลกับสังคม โดยได้ยืมใช้เหตุผลแบบที่วิทยาศาสตร์ได้ใช้อธิบายสิ่งแวดล้อมวัตถุธรรมแจ่มแจ้งมาแล้วในศตวรรษก่อน มาเน้นอธิบายสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่วัตถุธรรมของมนุษย์บ้าง(เช่น เรื่องสังคม การเมือง และวัฒนธรรม) ความคิดความอ่านแบบมีเหตุผลในเชิงที่ไม่ใช่วัตถุธรรมนี้ กระจายออกไปในวงที่กว้างมากขึ้นในศตวรรษนี้ ขยายทั่วไปหมดทุกหมู่เหล่าและทุกชั้นชนไม่เลือกหน้า ระดับการอ่านหนังสือออกของผู้คน ทั้งคนมีและคนจนทั้งคนชั้นบนและคนชั้นล่างเพิ่มขึ้น ที่สำคัญก็คือมีหนังสือให้อ่านมากขึ้น หลากหลายขึ้น ราคาไม่แพงเนื่องจากระบบการพิมพ์สมัยใหม่ก็ได้เกิดขึ้นนานแล้ว (กูเต็นเบิร์ก คิดค้นสมบูรณ์ทั้งระบบการพิมพ์ หนังสือเล่มแรกที่พิมพ์ด้วยระบบใหม่นี้ซึ่งมีคุณภาพดีและราคาถูกได้แก่ “กูเต็นเบิร์ก ไบเบิล” พิมพ์ค.ศ. 1455 กว่าสองร้อยปีก่อนยุคฟ้าแจ้งจางปาง)


ประวัติศาสตร์ยุโรปมีศัพท์แสงเกี่ยวกับยุคเฟื่องสติปัญญาอยู่หลายยุค เพื่อที่ท่านผู้อ่านผู้เพิ่งจะเริ่มสนใจประวัติศาสตร์ จะได้ไม่จมทะเลศัพท์เทคนิคสำลักเสียก่อน จะขอสรุปหยาบ ๆ ง่าย ๆ ว่ากันคร่าว ๆ ลวก ๆ แบบลวกเส้นก๋วยเตี๋ยว สุก ๆ ดิบ ๆ อาจไม่ถูกต้องนักแต่ชัดเจนพอสมควรว่า ก่อนจะถึงยุคฟ้าแจ้งจางปาง -the Age of Enlightenment- ซึ่งคำ ๆ นี้นักปรัชญาเยอรมัน(Emmanuel Kant)เป็นคนคิดเรียกนั้น ยุโรปได้ผ่านยุคปรับปรุงศาสนาที่เรียกว่า ยุคปฏิรูปศรัทธา(the Reformation) มาก่อนแล้ว ยุคปฏิรูปศรัทธาวิพากษ์ วิจารณ์ศาสนจักรโรมันคาธอลิค แล้วชวนกันย้อนกลับไปปลื้มศาสนาคริสต์สมัยต้นศักราชโน่น เพราะเห็นว่าเรียบง่าย-น่ารัก-เป็นกันเอง ไม่รกรุงด้วยเยียรบับแบบที่ปกาศิตมาจากสำนักวาติกัน-ซึ่งอีรุงตุงนังชวนให้ง่วงเหงาหาวนอน โคดน่าเบื่อ


เทคนิคการอ่านประวัติศาสตร์ยุโรปอีกนิดหนึ่งนะครับ ทำไมชอบเขียนว่าศาสนจักรโรมันคาธอลิค? มันน่ารำคาญอ่ะ เรียกศาสนาคริสต์เฉย ๆ ไม่ได้หรือ? ตอบว่า-ไม่ได้ดอก เราเขียนกันตามข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ เพราะยุโรปสมัยโบราณมีศาสนาคริสต์อยู่สองสายใหญ่ คือ ศาสนาคริสต์ละติน มีองค์สันตะปาปาอยู่ที่โรม กับ ศาสนาคริสต์กรีกหรือศาสนจักรตะวันออก สันตะปาปาอยู่ที่กรุงคอนสแตนตินติโนเปิล(ก่อนที่แขกเตอร์กจะยึด) ดินแดนยุโรปตะวันตกอันเป็นยุโรปที่เราศึกษากัน รู้จักกัน เข้าใจกัน เขามีปัญหากับศาสนาคริสต์ละติน หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า“ศาสนจักรโรมันคาธอลิค” เพื่อจะแยกให้ชัด จากคริสต์กรีก งัย ภาษาฝรั่งเศสจะเรียกว่า l’eglise catholique romaine ซึ่งแยกคำได้ดังนี้ เป็นศาสนจักร-l’eglise-คือมีวัดมีพระมีระบบการปกครอง เป็นคาธอลิค-catholique-ซึ่งมาจากคำกรีกแปลว่า “สากล” กล่าวคือศาสนานี้ไม่กีดกันใคร เพื่อมนุษย์ทุกคนบนพื้นพิภพนี้ และสุดท้ายเป็นโรมัน-romaine-เพื่อแยกว่าไม่ใช่ศาสนจักรกรีกหรือศาสนจักรตะวันออก เป็นของกรุงโรมไม่ใช่กรุงคอนสแตนติโนเปิล


ยุคปฏิรูปศรัทธาก่อให้เกิดศาสนาคริสต์ นิกายประท้วง(โปรเตสแตนต์ = ผู้ประท้วง) และอีกสารพัดนิกายแทรกขึ้นมาในเขตอิทธิพลของศาสนาคริสต์ละติน ประวัติศาสตร์ก่อนหน้ายุคปฏิรูปศรัทธา ทวนน้ำย้อนขึ้นไปอีก ยุโรปก็ได้ผ่านยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)ที่ผู้รู้ทั้งหลายหันกลับไปรื้อฟื้นและพากันปลื้มกับตำรับตำรา ความคิดความอ่าน และรูปแบบศิลปะ ของสมัยกรีกและโรมันโน่น – คนในกระแสสมัยนั้นบอกว่า ของเก่าของเดิม เจ๋งครับพี่ เจ๋ง! ขอยกตัวอย่างสักตัวอย่างเดียวพอเป็นกระสาย คือ เรื่องกฎบัตรกฎหมาย เมื่อผู้พิพากษายุคนั้นกลับไปอ่านประมวลกฎหมายโรมันดั้งเดิมก็เห็นว่า“เข้าท่า” จึงนำมาอ้างอิงตัดสินคดีความ ผลปรากฏว่า “ดีแฮะ” คำพิพากษาเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายว่ายุติธรรมดี จึงศึกษาและปลื้มกันใหญ่ กฎหมายโรมันจึงได้แพร่หลายกลายพันธ์(-มาหลายชั้น)จนเป็นประมวลกฎหมายที่ใช้ตามประเทศต่าง ๆ ส่วนมากในโลกปัจจุบัน-รวมทั้งประเทศไทย ญี่ปุ่น และจีนด้วย เป็นต้น


แต่ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งปลื้มมั่วไปตามลีลาการเขียน โปรดได้สังเกตว่าทั้งยุคปฏิรูปศรัทธาและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ต่างล้วนมีลักษณะ มองกระจกส่องหลัง หันกลับไปปลื้มอดีตด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อพ้นยุคปลื้มอดีตทั้งสองยุคนั้นมาแล้ว ยุโรปจึงได้เปิดตัว ยุคฟ้าแจ้งจางปาง ของเรา ที่มีลักษณะการโปรโมชันแบบ แลไปข้างหน้า ผู้คนในกระแสพากันกลับหลังหัน เปลี่ยนมาเชื่อใหม่ว่า พรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้แน่ พวกเขาละสายตาจากกระจกส่องหลัง ผินไปข้างหน้า มองไปยังทิศที่ฟ้าแจ้งจางปาง...


ทิศาปาโมกข์(= “อาจารย์ดัง” )แห่งยุค ผู้ชูประทีปส่องทาง สาดความกระจ่างให้แก่จิตใจคนยุคนั้น ปรากฏรายนามตามตารางเล็ก ๆ ข้างล่างนี้ โปรดสังเกตว่าทิศาปาโมกข์มีอยู่ทั้งในโลกเก่า(ยุโรป)และโลกใหม่(ทวีปอเมริกา) อีกประการหนึ่ง การค้นพบโลกใหม่เมื่อสองร้อยปีก่อนหน้านั้น(ปี 1492) และการเดินทางไปตั้งอาณานิคมรอบโลกของชาวยุโรป ก็มีส่วนทำให้พวกเขาหูตาสว่าง แล้วหันกลับมาตั้งคำถามปรัชญาเอากับโลกเก่าของตน ตารางข้างล่างนี้ใช่ว่าจะรวมชื่ออาจารย์ดังไว้หมดทุกคนนะ แต่รวมไว้เยอะเท่านั้น............
(โปรดติดตามบทความเนื้อเต็ม ในนิตยสารเอ็มบีเอ)