"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันศุกร์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ฝันถึงบางกอกยูโทเปีย ตอนที่ 1

ฝันถึง “บางกอกยูโทเปีย”
-บนรถเมล์สาย 2 สำโรง-ปากคลองตลาด (ตอน 1)

โดย เดฟ นาพญา




ผู้เขียนเตรียมตัวนานเดือน เพื่อการเดินทางสั้น ๆ ภายในหนึ่งวันเที่ยวนี้ บางทีก็เกิดความรู้สึกอย่างออกจะดัดจริตว่า ไปปารีสยังไม่น่าตื่นเต้นเท่ากับที่ได้มานั่งรถเมล์สาย 2 สำโรง-ปากคลองตลาดครั้งนี้ สำหรับคนที่นั่งรถเมล์สายนั้นประจำทุกวัน ความรู้สึกทำนองดังกล่าวของผู้เขียนจะต้องน่าหมั่นไส้ แต่สำหรับผู้เขียนแล้วคิดว่ามีความรู้สึกจริง ๆ แฝงอยู่ไม่น้อย เพราะว่าช่วงของชีวิตระยะหลัง ๆ ผู้เขียนรู้สึกคุ้นเคยกับระบบขนส่งมวลชนในกรุงปารีสมากกว่าในกรุงเทพฯ พูดอย่างนี้ใครจะนึกว่ากวนโอ๊ยก็ยอม เราไม่ว่ากัน มีเหตุผลเยอะแยะว่าทำไมจึงได้รู้สึกอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่ตามจริงนั้นใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯนานปีกว่าปารีส มากมาย


เพื่อที่จะเขียนถึงรถเมล์สาย 2 อุปกรณ์สำคัญในการทำงานไม่ใช่ปากกา แต่เป็นกล้องวีดีโอดิจิทัลที่ชาร์จแบตเตอรี่ไว้ตลอดคืน ภาพที่บันทึกได้จะช่วยงานเขียนในวันหน้า วันทำงานชิ้นนี้ผู้เขียนออกเดินทางแต่เช้ามืดด้วยรถแท็กซี่ จากที่พักชานกรุงซึ่งอยู่มุมเมืองด้านหนึ่ง ไปยังมุมเมืองอีกด้านหนึ่งที่สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นต้นสายรถเมล์สาย 2 อันเก่าแก่ ก่อนหน้านี้เคยมีรถปอ.2 อันเป็นรถเมล์ปรับอากาศสีน้ำเงินขาววิ่งอยู่ด้วย บัดนี้ปอ.2 ถูกยกเลิกแล้ว ชาวบ้านบอกว่าต้นสายรถเมล์อยู่เลย “อนุสาวรีย์ช้างสามเศียร” ไปเล็กน้อย เช้ามืดวันนั้นการจราจรเบาบาง...

ไปถึงต้นสายรถเมล์ที่สำโรงเวลายังเช้ามาก ที่บ้านอำเภอหลังสวนเรียกเวลายามเช้าขนาดนี้ว่าเวลา “หัวรุ่ง” เห็นพระสงฆ์เดินบิณฑบาตอย่างสงบสำรวมอยู่ไม่ไกลนัก ผู้เขียนหันกล้องไปบันทึกภาพนั้นไว้ อันเป็นภาพที่ทำให้คนรู้ทันทีที่เห็นว่านี่คือกรุงเทพฯแน่เลย ไม่ใช่ปารีสหรือบอร์โดส์หรือชิคาโกหรือบรัสเซลส์ เมืองใหญ่อีกสี่เมืองที่ผู้เขียนพอจะคุ้นเคยอยู่บ้าง ยามเช้าตรู่ บรรยากาศของกรุงเทพฯอ่อนโยนมิใช่น้อย...(เนื้อเต็มจะตีพิมพ์ในนิตยสาร MBA มีนาคม 2510)

๓ ความคิดเห็น:

  1. โปรดแสดงความเห็นติชม ตำหนิ ด่าว่า ฯลฯ
    ตามสบายครับ-ไม่โกรธ ทำใจได้หมดแล้ว!

    ตอบลบ
  2. มีให้อ่านฉบับเต็มบน web ไม่ได้เหรอครับ อยากอ่านต่ออะ

    ตอบลบ
  3. ได้ครับ แต่ต้องให้เวลาผ่านไประยะหนึ่งนะครับ จึงจะมีสิทธิอัพขึ้นมาได้

    ตอบลบ