"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันอาทิตย์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓

ปฏิวัติฝรั่งเศส ตอน 6 ในทะเลบ้าของการปฏิวัติ-ลำดับเหตุการณ์จนถึงวันทำลายคุกบาสตีย์

โดย ภูพาเนช มะเด็ง


ณ บัดนั้น คนไม่ได้คิดเรื่องการปฏิวัติ เพราะการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นเรื่องสุดคิดและเกินการคาดคิด การปฏิวัติฝรั่งเศสนั้นไม่ใช่เหตุการณ์ที่มีใคร “วางแผนให้เกิด” มันเกิดขึ้นเองตามการเขม็งเกลียวและขมวดปมของเหตุการณ์ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ และแม้ภายหลังจากนั้นก็ไม่มีการปฏิวัติอื่นใดเทียบได้ การปฏิวัติฝรั่งเศสหลอกหลอน “นักปฏิวัติ” ยุคหลังทุก ๆ คน ตั้งแต่พวกบอลเชวิคในการปฏิวัติรัสเซีย จนถึงการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์จีน จนถึงการปฏิวัติต่าง ๆ บนแผ่นดินละตินอเมริกา จนถึงการปฏิวัติสังคมของอะตาเตอร์กในตุรกี และแม้กระทั่งบัดนี้...ที่อิหร่าน เล่ากันว่า ระหว่างการปฏิวัติรัสเซียเมื่อปี 1917 นั้น พวกปฏิวัติจะประชุมหารืออย่างเคร่งเครียดด้วยการยึดลำดับเหตุการณ์ในการปฏิวิติฝรั่งเศสเป็น “นางแบบ” แล้วถกเถียงกันว่า ณ ขณะนี้ เรากำลังอยู่ ณ จุดใด เมื่อเทียบกับการปฏิวัติฝรั่งเศส?

ข้อความย่อหน้าแรกนั้น คงคุ้นตาท่านอ่านเพราะผู้เขียนได้เขียนไว้ครั้งหนึ่งแล้วในตอนที่ 3 ห้วงกำเนิด-สาเหตุเศรษฐกิจและเหตุอื่น ๆ ตอนที่ 6 นี้จึงเท่ากับขยายความความคิดเห็นอันจะถูกหรือผิดก็เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ขยายความประเด็นที่ว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสนั้น ไม่ใช่เหตุการณ์ที่มีใคร “วางแผนให้เกิด” ทั้งนี้โดยจะได้ลำดับเหตุการณ์การปฏิวัติมาเรียงตามกาลเวลา แจงให้ท่านทราบพร้อมกับจะได้แทรกข้อความสั้น ๆ ไม่เยิ่นเย้อ ขยายความเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเป็นจุดหักเหของการปฏิวัติ ส่วนช่วงไหนตอนใดที่มี โรเบสปิแยร์ เกี่ยวข้อง ก็จะเน้นไว้ให้ทราบเป็นพิเศษ เพราะถึงอย่างไรการนำเสนอ(หรือ เล่าเรื่อง)ของผู้เขียนนั้น ไม่ได้อิงทฤษฎีการต่อสู้ระหว่างชนชั้น แต่จะอิงชีวิตของนักปฏิวัติทั้งหลาย

(บทความเนื้อเต็ม ตีพิมพ์ในนิตยสารเอ็มบีเอ ฉบับตุลาคม 2553
และ ท่านสามารถอ่านบทความเนื้อเต็ม โดยคลิกแท็ป "ปฏิวัติฝรั่งเศส" ด้านบน ใต้ชื่อบล็อค)