"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันเสาร์ที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

Freedom of speech in Thailand, the compromising reporting morality of the BBC, listened in southern Thailand on December 15, 2011, case in point: Da Torpedo วิวาทวิทยุบีบีซี วิจารณ์รายงานข่าว พฤหัสที่ 15 ธันวาคม 2554 กรณีน้องดา (ผู้อยากมี)ตอร์ปิโด


Please note that this blog is registered to be used with my real name as well as pennames. I am a practitioner and one of the true believers in freedom of speech. But hearing Da Topedo violently throwing up the solid waste that has been STRATEGICALLY shitted into her opening mouth in want, is disturbing indeed. I am not amused.


According to the reporting morality of the BBC as I understand it, how can it be that this scum of the earth could have been reported as "an activist" ? Sans blaque! I hope lesbian sisters won't be offended or will pardon me, but checking on her miserable lesbian record it would only happen in the realm of magic if she, "an activist", could ever activate anything other than her own clitoral agitation. And since when has the BBC subscribed to this theory of activism?


Why is it that the radio broadcaster with truely global perspective, the BBC, cannot get real at the telling detail of her pseudonym which unmistakably means to read, "Da who want her clitoris be inflated and become a silicone torpedo." ?

          Comprenez-vous, justement, son malheur d'après avoir entendu la
          justice prononcée; qui réduit 18 ans de prison á 15? Ça sera trois ans
          de moins pour une vie lesbo gratuite, logée et nourrie.

Imaginons-nous maintenant l’horreur chez les filles en prison qui, en attendant, se demandent si elle viendrait avec sa TORPE-DILDO du type strapped-on ou bien hand-held, mais motorisée?  Á suivre….chez la BBC.

--------------------------------------------------------------------------------
Terrorizing the Arab world: Bonjour.
http://devnapya.blogspot.com/2012/01/euro-zone-beware-arab-world-terrorized.html

วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สำนึกในความยุติธรรม-สิ่งที่ถูกที่ควรอันพึงทำ Episode 02/12 "ค่าของคน กับ ความสุขสันต์หรรษา"

Episode 02 part 1 ติดป้าย บอกราคาชีวิตมนุษย์ ได้ด้วยหรือ

ปัจจุบันนี้ การแสดงเหตุผลแบบอิงประโยชน์ หรือ “ผลดี-อย่างใหญ่สุด แก่คน-จำนวนมากสุด” ตามความคิดอาจารย์เจอเรมี เบ็นแธม ถูกนำมาใช้ประเมินความคุ้มค่าของการลงทุน และประเมินความควร/ไม่ควร ในอันที่จะลงมือทำกิจกรรมใด ๆ ทั้งในบริษัทเอกชนและหน่วยงานราชการ ตลอดจนใช้เพื่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน ของเราท่านทั้งหลาย ทั้งนี้โดยเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่าย กับ ประโยชน์ที่จะได้รับ  จากกิจกรรมนั้น หรือบางท่านเรียกเป็นภาษาไทย ว่า การวิเคราะห์ความคุ้มค่า

บริษัทบุหรี่ ฟิลลิป มอริส วิเคราะห์ความคุ้มค่าของการสูบบุหรี่ ให้กับประเทศสาธารณรัฐเช็ค ซึ่งสมัยหนึ่งมีคนสูบบุหรี่มาก บริษัทฟิลลิป มอริส ดำเนินธุรกิจมีผลกำไรอยู่ที่นั่น ผลการศึกษาของฟิลลิป มอริส ได้ความว่า ประเทศสาธารณรัฐเช็คจะได้ประโยชน์จากการปล่อยให้ประชาชนสูบบุหรี่ เพราะว่า จะมีรายได้ภาษีบุหรี่ และคนจะตายไวขึ้น ทำให้ประหยัดค่ารักษาพยาบาล และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายดูแลคนแก่ (at 05:50 Episode 02) อย่างไรก็ดี ศ.แซนเดลเล่าว่า ต่อมา บริษัทฟิลลิป มอริส ได้ออกมาขอโทษสาธารณชน เกี่ยวกับการศึกษาความคุ้มค่า ที่ใจดำและไร้จิตสำนึกเรื่องนี้

ตัวอย่างการประเมินความคุ้มค่า มีชื่อเสียงอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ศ.แซนเดล ยกขึ้นมาสาธก ได้แก่ กรณีศึกษาความคุ้มค่าการออกแบบรถ ฟอร์ด ปินโต เพื่อให้ปลอดภัยขึ้น ซึ่งมีการตีค่าคนตายและบาดเจ็บออกมาเป็นตัวเงิน ผลการประเมินความคุ้มค่าระบุว่า ไม่คุ้มค่าที่บริษัทจะเพิ่มชิ้นส่วนเพื่อความปลอดภัย ไว้ในแบบรถยนต์ ผลการศึกษาถูกนำขึ้นแถลงในศาล เพราะบริษัทถูกผู้ได้รับความเสียหายฟ้องคดี คณะลูกขุนห่อเหี่ยวกับความใจดำและไร้จิตสำนึก ของบริษัทฟอร์ด และได้ตัดสินคดี ให้บริษัทชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนมาก

ถึงแม้ การกำหนดราคาชีวิตมนุษย์จะมีปัญหายุ่งยาก กับมีข้อพิจารณาว่าจะเหมาะสมหรือไม่ แต่ ศ.แซนเดล ได้ถามนักศึกษาว่า โดยภาพรวมแล้วนักศึกษา เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับแนวคิดศิลธรรมแบบ “ผลดีอย่างใหญ่สุด แก่คนจำนวนมากสุด” (GHGN = Greatest Happiness, for Greater Number of people) ผลการยกมือปรากฏว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ เห็นด้วย  นักศึกษาที่ ไม่เห็นด้วย เป็นคนส่วนน้อย ศ.แซนเดล ขอให้นักศึกษาฝ่ายข้างน้อย ซึ่งไม่เห็นด้วย ได้แสดงเหตุผลก่อน

ก่อนที่จะสรุปผลการแสดงเหตุผล ศ.แซนเดล ได้ยกตัวอย่าง เรื่องราวในยุคโรมัน ที่ชาวโรมันโยนคนคริสเตียนให้สิงโตกินในสนามโคลีเซียม เพื่อจะได้ชมการต่อสู้มือเปล่า ระหว่างคนกับสิงโต เป็นรายการบันเทิงยอดนิยมในกรุงโรมยุคหนึ่ง ความทุกข์ทรมานของคริสเตียน ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยนิด ถ้าจะเทียบกับความสุขสนุกสนานของชาวโรมันที่เป็นคนส่วนใหญ่ คิดตามหลัก“ผลดีอย่างใหญ่สุด แก่คนจำนวนมากสุด” แล้ว การโยนคนคริสเตียนให้สิงโตกินในโคลีเซียม ถือได้ว่า เป็นสิ่งที่ถูกที่ควรอันพึงทำ ถูกต้องตามครรลองของศิลธรรมทางแพ่ง แนวประโยชน์นิยม

สรุปฝ่ายค้าน ศ.แซนเดล สรุปว่า คำค้านแบ่งออกได้เป็นสองประเด็น คือ

  1. ศิลธรรมประโยชน์นิยมที่ยึดถือ “ผลดีใหญ่สุด สำหรับคนมากสุด” นั้น ได้ให้ความเคารพต่อเสียงข้างน้อย พอหรือยัง? และได้มองข้าม “ขวัญ” หรือ สิทธิพื้นฐานของปัจเจกชนแต่ละคน ไปหรือเปล่า? ว่า “ขวัญ” หรือสิทธิพื้นฐาน เป็นสิ่งที่กำเนิดติดมาคู่อยู่กับชีวิตทุกชีวิต (อีกนัยหนึ่ง ผู้เขียนบทสรุปภาษาไทย ขอสรุปว่า ในประเทศไทย คนมุสลิมเป็นคนส่วนน้อย เพราะฉะนั้น เพื่อประโยชน์สุข และ “ผลดีใหญ่สุด สำหรับคนมากสุด” เราจะทำย่ำยีคนมุสลิมอย่างไรก็จะดีไปหมด เช่น อุ้มฆ่าทนายความสมชาย เป็นต้น หรือในทางกลับกัน ในประเทศบังคลาเทศคนพุทธเป็นคนส่วนน้อย อยู่กันแถวเมืองจิตตะกองเท่านั้น เพราะฉะนั้น เพื่อ “ผลดีใหญ่สุด สำหรับคนมากสุด” เราจะทำอย่างไรกับคนพุทธก็จะดีไปหมด เช่นสมมุติว่า จะอุ้มฆ่าท่านทูต อรรนพ กุมาร จักกะมะ เอกอัครราชทูตบังคลาเทศคนปัจจุบัน ที่ประจำประเทศพม่า ซึ่งท่านเป็นคนพุทธ เป็นต้น)
  2. ความทรงคุณค่า ของสิ่งทั้งหลายในโลกมนุษย์ทุก ๆ เรื่อง สามารถตีออกมาเป็นหน่วยเงินตรา เพื่อจะได้รวมตัวเลข ออกยอดเป็น ผลดีอย่างใหญ่สุด ได้จริงหรือ?
เพื่อ สรุปให้กับฝ่ายสนับสนุน ศ.แซนเดล ยกตัวอย่างงานวิจัยด้านจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่ง ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในโลกตะวันตก เมื่อทศวรรษที่ 30 งานวิจัยชิ้นนั้นพยายามพิสูจน์ว่า คุณค่าทั้งหลายในโลกมนุษย์ทุกเรื่อง สามารถตีราคาออกมาได้เป็นหน่วยเงินตรา  โดยผู้วิจัยได้สอบถามผู้ประสบภัยเศรษฐกิจวิบัติ ที่มาขอรับการสงเคราะห์ ว่าถ้าจะให้ทำกิจกรรมอันน่าสะอิดสะเอียน หรือเจ็บปวด ไม่น่าพึงปรารถนา ดังต่อไปนี้ เขาอยากได้เงินจำนวนเท่าใด จึงจะยอมทำ เช่น 1)ดึงฟันหน้าให้หลุด หนึ่งซี่ 2)ตัดนิ้วเท้าก้อย หนึ่งนิ้ว 3)กินใส้เดือนตัวยาวที่ยังมีชีวิต หนึ่งตัว 4)ใช้ชีวิตที่ยังเหลือทั้งชีวิต ในไร่นาในมลรัฐแคนซัส - ซึ่งถือกันในสมัยนั้นว่า ล้าหลัง น่าเบื่อหน่าย 5)บีบคอแมวเรร่อนตัวหนึ่ง จนตายคามือ ผลการสอบถามพบว่า ข้อ 4 จะต้องจ่ายเงินมากที่สุด รองลงมาคือ ข้อ 3 ฯลฯ

ผู้ทำการวิจัย ได้ข้อสรุปว่า กิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งปวงของมนุษย์ มีอยู่  ใน “ปริมาณหนึ่ง” มากน้อยต่างกันไป  สังเกตดูเถิด คนเราไม่ได้รู้สึกอยากอะไร ในปริมาณความอยากที่เท่า ๆ กันเสมอไปทุกครั้ง ทุกกรณี หรือเหมือน ๆ กันทุกคน ก็ในเมื่อกิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งปวง มีอยู่ ในปริมาณหนึ่ง  เพราะฉะนั้น ความอยากทั้งหลายนี้ ย่อมจะต้องวัดค่าออกมาได้ เพราะความที่มันมี “ปริมาณ” อยู่นั่นเอง

แต่ จริงหรือว่า  ผลของงานวิจัยชิ้นนี้ สนับสนุนศิลธรรมแนวประโยชน์นิยม ที่ว่าคุณค่าและความมีราคาทั้งปวง สามารถตีออกมาได้ด้วยหน่วยวัด ที่เป็นเอกภาพเดียวกันทั่วไปหมด เช่น หน่วยเงินตรา เป็นต้น ดังนั้น จึงสามารถนำมาบวกรวมกันได้ เพื่อหาผลดีอย่างใหญ่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุด

หรือว่าการณ์ตรงกันข้าม  คือพิจารณาอีกทางหนึ่ง สิ่งทรงคุณค่าและมีราคาทั้งหลายทั้งปวงในมนุษยโลกนั้น นอกจากจะหลากหลายแล้ว ยังผิดกันไกลและสถิตอยู่ในต่างมิติกัน  จนเราไม่สามารถใช้หน่วยวัดค่า หน่วยเดียวอย่างมีเอกภาพ ไปวัดมาได้ เช่น ระยะทางวัดด้วยหน่วยวัดเป็นกิโลเมตร แต่วัดน้ำหนักกลับใช้หน่วยกิโลกรัม เป็นต้น โดยที่ หนึ่งกิโลเมตร ไม่ใช่  หนึ่งกิโลกรัม และไม่ใช่  หนึ่งกิโลวัตต์ หรือไม่ใช่  หนึ่งกิโลไบต์

ซึ่ง ก็ในเมื่อ เราไม่สามารถตีราคา สิ่งมีค่าทั้งหลายในสากลโลก ออกมาได้โดยใช้หน่วยวัดเดียวกันอย่างมีเอกภาพ เมื่อนั้น อะไรจะเกิดขึ้นกับปรัชญาประโยชน์นิยม อันวางอยู่บนพื้นฐานเรื่องการรวมค่าผลดีนานาชนิดของนานาบุคคล เข้าด้วยกัน เพื่อหาผลดีอย่างใหญ่สุด มาเป็นตัวกำหนดศิลธรรม?

-------------------------------------------------------------------------------------------

คลิกชมวีดีโอ การอภิปรายของนักศึกษา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  และคำสอน ศ.แซนเดล
Episode 02/12 ค่าของคน กับ ความสุขสันต์หรรษา PUTTING A PRICE TAG ON LIFE
--แม้ว่า ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ก็ควรคลิกชมครับ ท่านจะได้อะไรไป มากกว่าอ่านบทสรุปของผู้เขียน อย่างเดียว  เขาพิมพ์ บทพูด เป็นภาษาอังกฤษ ไว้ให้ดูด้วย
-------------------------------------------------------------------------------------------
Episode 02 part 2 จะวัดความสุขสันต์หรรษา ได้อย่างไร
จะโพสต์ต่อ ที่นี่ สุดสัปดาห์หน้า 4 พฤศจิกายน ครับ

คลิก-->>กลับหน้า โหมโรง




วันศุกร์ที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สำนึกในความยุติธรรม-สิ่งที่ถูกที่ควรอันพึงทำ Episode 01/12 "ฆาตกรรม และ คนกินคน"

   เป็นคนคิดแล้วจึ่ง         เจรจา
เลือกสรรหมั่นปัญญา      ตรองตรึก
อย่ามลนหลับตา            แต่ได้
สติริรอบให้                   ถูกแล้วจึงทำ
                                                  -โคลงโลกนิติ (มลน=ลนลาน)
------------------------------------------------------------------------------------

Episode 01 part 1 ฆาตกรรม พิจารณาแง่ศิลธรรม

ถ้าท่านต้องเลือกกระทำการ (1) ฆ่าคนหนึ่งคน เพื่อรักษาชีวิตคนห้าคนเอาไว้ หรือ (2) นิ่งเฉย ไม่ทำอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า คนห้าคนจะต้องตายต่อหน้าต่อตาท่าน ระหว่างสองกรณีนี้ ท่านจะเลือกทำประการใด กรณีใดเป็นเรื่องที่ถูกที่ควร อันพึงกระทำ

ศ.แซนเดล ยกตัวอย่างเหตุการณ์สมมติ ขึ้นเป็นอุทาหรณ์ เพื่อประกอบการสอนเรื่อง การคิดหาเหตุผลเชิงศิลธรรม ที่ท่านสอนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

นักศึกษาส่วนมาก ออกเสียงลงคะแนน ให้ฆ่าคน ๆ เดียว เพื่อรักษาชีวิตคนห้าคนเอาไว้ ศ.แซนเดล เล่าปริศนาศิลธรรมสามเรื่อง แต่ละเรื่อง ออกแบบอย่างพิถีพิถัน ให้คิดอ่านตัดสินใจยากขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้

เรื่องที่ 1 รถสิบล้อคันหนึ่ง เบรกแตกแต่พวงมาลัยยังใช้ได้ เสียหลักพุ่งมาด้วยความเร็วสูงถึงทางสองแพร่ง (ทางสองแพร่ง มักเป็นตัวอย่างยอดฮิต ในการยกสาธกเรื่องปรัชญา) ทางหนึ่งมีคนยืนอยู่คนเดียว อีกทางหนึ่งยืนอยู่ห้าคน ท่านซึ่งเป็นคนขับรถ จะหมุนพวงมาลัยไปทางใด

เรื่องที่ 2 เรื่องคล้ายกัน แต่เป็นทางตรงที่มีคนห้าคนยืนอยู่ ซึ่งขณะนั้นท่านยืนอยู่บนสะพานลอยเหนือถนน เป็นสะพานลอยที่ปราศจากราวสะพาน บนสะพานลอยมีชายอ้วนมากคนหนึ่งยืนมองเหตุการณ์ ถ้าท่านผลักคนอ้วนตกสะพานลอย เขาจะลงไปขวางทางรถในจังหวะนั้นพอดีเลย รถสิบล้อก็จะชนคนอ้วนตาย แล้วแฉลบเสียหลัก คนห้าคนรอดตาย ท่านจะนิ่งเฉยปล่อยให้คนห้าคนตาย หรือว่าท่านจะผลักชายอ้วนลงไป

เรื่องที่ 3 เหมือนเรื่องที่ 2 ทุกอย่าง แต่ท่านไม่ต้องลงมือผลักคนอ้วนด้วยตนเอง เพราะว่าเขายืนอยู่บนพื้นที่เป็นกระดานกล มีกระเดื่องกลผูกเชือกโยงมาไกลหลายวา จนถึงจุดที่ท่านยืนอยู่ เพียงแต่ท่านกระตุกเชือกกระเดื่องกลนิดเดียว พื้นกระดานกลที่คนอ้วนยืนอยู่นั้น จะกระดกเทคนอ้วนตกลงไปขวางทางรถด้านล่าง ท่านก็รักษาชีวิตคนห้าคนนั้นไว้ได้ คนอ้วนตายคนเดียว

ระหว่างที่นักศึกษายืนพูด แสดงเหตุผลปกป้องการเลือกลงมือกระทำ อย่างหนึ่งอย่างใด ของตนนั้น  การที่นักศึกษาส่วนมาก ออกเสียงลงคะแนนให้ฆ่าคน ๆ เดียว เพื่อรักษาชีวิตคนห้าคนเอาไว้ตามตัวอย่างเรื่องแรก ก็น่าจะสอดคล้องกับความคิดอ่านเรื่องเสียงข้างมากเป็นใหญ่  แต่ในตัวอย่างต่อมา นักศึกษาเริ่มรวนเร ชักไม่แน่ใจว่า เสียงข้างมากจะเป็นสิ่งที่ถูกที่ควรเสมอไปทุกกรณี-จริงหรือไม่  เพราะในตัวอย่างที่ 2 นักศึกษาทั้งหลายก็ไม่อยากผลักชายอ้วน ให้ตกลงไปตาย  แม้ตามตัวอย่างที่ 3 ก็ไม่อยากดึงกระเดื่องกระดานกล 

ทำให้เราพลอยเห็นกระจ่างไปด้วยว่า  ความคิดความอ่าน ที่รองรับศิลธรรมของเราท่านอยู่นั้น มักจะเป็นความคิดอ่านที่ขัดแย้งกันอยู่  เพราะฉะนั้น ข้อปุจฉาปริศนาศิลธรรม ที่ว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรดีอะไรเลว จึงอาจจะไม่ได้มีคำตอบที่เด็ดขาดชัดเจน ดุจสีขาวตัดกับสีดำ เสมอไปทุกกรณี

เรื่องที่ 4 สมมติว่าท่านเป็นแพทย์ผ่าตัด มีผู้ป่วยหนักจะต้องตาย จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนอวัยวะอยู่ในความดูแลรวมห้าคน คนหนึ่งต้องเปลี่ยนตับ อีกคนต้องเปลี่ยนไต ฯลฯ แต่เวลานั้นไม่มีผู้บริจาคอวัยวะเลย ขณะนั้นบังเอิญว่า มีชายสุขภาพดีคนหนึ่ง แวะมาตรวจสุขภาพตามปกติ กำลังนอนหลับอยู่ในห้องข้าง ๆ ท่านสามารถเข้าไปควักเอาอวัยวะทั้งห้าออกจากร่างเขา มาเปลี่ยนให้คนใข้ห้าคนของท่านได้ ท่านจะทำหรือไม่ เพราะถ้าทำตามหลักเสียงข้างมาก คนตายคนเดียว จะมีคนรอดตายห้าคน

กรณีนี้นั้น นักศึกษาส่วนมากยกมือว่า จะไม่ฆ่าคน ๆ เดียวเพื่อรักษาชีวิตคนห้าคน ซึ่งเป็นการยกมือที่ขัดแย้งกับหลักเสียงข้างมาก หรือเสียงส่วนใหญ่

 สรุปวิธีคิด เพื่อความกระจ่างแจ้งในการพิจารณาปัญหาข้อศิลธรรมทางแพ่ง ศ.แซนเดล ได้สรุปวิธีคิดเพื่อการแสดงเหตุผลเชิงศิลธรรมทางแพ่งในปรัชญาตะวันตก ว่า เรามีวิธีคิดเรื่องนี้สองอย่าง คือ ศิลธรรม ขึ้นอยู่กับผลที่ตามมา จากการกระทำ กับอีกวิธีหนึ่ง คือ ศิลธรรม พิจารณาที่ตัวการกระทำนั้นเอง ไม่เกี่ยวกับผลที่จะตามมา (สไลด์ at 14:04 ในวีดีโอคำบรรยาย)

ถ้าเราหมุนพวงมาลัยรถสิบล้อเบรกแตก เข้าทางที่มีคนอยู่เพียงคนเดียว ก็เป็นเพราะเราเห็นว่า “ศิลธรรม ขึ้นอยู่กับผลที่ตามมา จากการกระทำ” กล่าวคือ คนรอดตายห้าคน ดีกว่าคนรอดตายคนเดียว กรณีที่เราเป็นแพทย์ผ่าตัด แล้วปล่อยให้คนใข้ตายห้าคน เราไม่ยอมควักอวัยวะห้าชิ้น ออกมาจากคนสุขภาพดี ก็เพราะเราเห็นว่า “ศิลธรรม พิจารณากันที่ตัวการกระทำนั้นเอง ไม่เกี่ยวกับผลที่จะตามมา” กล่าวคือ เราไม่ยอมฆ่าชายสุขภาพดี ที่นอนอยู่ในห้องข้าง ๆ เพื่อควักอวัยวะออกมาช่วยคนห้าคนที่กำลังจะตาย ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าการฆ่านั้น จะช่วยชีวิตคนถึงห้าคนได้ก็ตาม เราก็ไม่ทำ เพราะเราถือว่าการฆ่าคน เป็นเรื่องไม่ดีมาก ๆ อยู่ในตัวของมันเอง

ท้ายที่สุด ศ.แซนเดล ท่านเตือนไว้แต่ต้น ว่าเรื่องศิลธรรมทางแพ่งนี้ เป็นเรื่องสอนยาก เพราะเป็นเรื่องที่นักศึกษาทั้งหลาย “รู้ ๆ กันอยู่แล้ว” ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ อย่างไรก็ดี ท่านประกันว่า หลังจากจบการบรรยายทั้งหมดของท่านแล้ว เรื่องที่นักศึกษารู้ ๆ กันอยู่แล้วนั้น จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โลกของนักศึกษาจะเปลี่ยนไป...

----------------------------------------------------------------------------------------------------

คลิกชมวีดีโอคำสอน ของ ศ.แซนเดล และการอภิปรายของนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด 
--แม้ว่า ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ก็ควรคลิกชมครับ ท่านจะได้อะไรไป มากกว่า อ่านบทสรุปของผู้เขียน แต่อย่างเดียว
วีดีโอศ.แซนเดล ม.ฮาร์วาร์ด Episode 01/12 "ฆาตกรรม และ คนกินคน" Episode 01 "THE MORAL SIDE OF MURDER"

---------------------------------------------------------------------------------------------------


Episode 01 part 2  คนกินคน คดีดังในอังกฤษ

ศ. แซนเดล แนะนำให้เรารู้จักเอตทัคคะของแนวคิด ศิลธรรม ขึ้นอยู่กับผลที่ตามมา จากการกระทำ  คือ อาจารย์เจเรมี เบนแธม ผู้ประกาศข้อศิลธรรมแนวประโยชน์นิยม ที่มีหลักเข้าใจง่าย ๆ ว่า มนุษย์ถูกบัญชาด้วยความต้องการจะ เป็นสุขกับหนีทุกข์  เพราะฉะนั้น “ประโยชน์”  ของการกระทำใด ๆ ในความเห็นของท่าน ก็คือ เมื่อหักกลบลบผลจากการกระทำแล้ว ปรากฏว่าได้ยอดออกมาเป็นสุขมากกว่าเป็นทุกข์ และท่านบัญญัติศัพท์เรียกการกระทำที่ยังผลแบบนี้ว่า กระทำที่ “มีประโยชน์

- เพราะฉะนั้น 1.ท่านจึงไม่ได้หมายถึง ประโยชน์ใช้สอย  แบบที่เราเข้าใจกันในภาษาชาวบ้าน การกระทำที่ก่อประโยชน์ใช้สอยแบบบ้าน ๆ แต่หักกลบลบผลแล้ว มีผลลัพธ์ทำให้คนทุกข์แสนสาหัส การกระทำนั้นอาจารย์เบนแธมท่านเห็นว่า “ไม่มีประโยชน์”  และผิดศิลธรรม  2.อนึ่ง การนำคำเดิม ๆ มาใช้ เช่น คำว่ามีประโยชน์ เป็นต้น แต่มอบความหมายใหม่ให้กับมัน เป็นกิจกรรมปกติอย่างหนึ่งของนักคิดนักปรัชญา ท่านเป็นกันอย่างนั้นเอง

การกระทำที่ “มีประโยชน์” อาจารย์เบนแธม ท่านถือว่าเป็นการกระทำ “ที่ถูกที่ควร” อันพึงทำ หรือเป็นการกระทำที่ “เป็นธรรม”  หรือเป็นการกระทำที่ “มีคุณค่าทางศิลธรรม”

ศิลธรรมง่าย ๆ ของอาจารย์เบนแธมนั้น ต่อมาก็มีผู้สรุปให้จำได้ง่ายขึ้นอีก ว่า หมายถึงการกระทำที่จะยังผลให้เกิด “ผลดีอย่างใหญ่สุด แก่คนจำนวนมากสุด”  บางท่านเรียกย่อ ๆ ว่า GHGN = Greatest Happiness, for Greater Number of people เช่น การที่เราหมุนพวงมาลัยรถสิบล้อ ให้ชนคนตายคนเดียว เพื่อให้คนอีกห้าคนรอดตาย เป็นต้น

ในทางตรงกันข้าม เอตทัคคะของ ศิลธรรม พิจารณากันที่ตัวการกระทำนั้นเอง ไม่เกี่ยวกับผลที่จะตามมา  อันเป็นแนวคิดเชิงศิลธรรมที่ตรงกันข้าม กับศิลธรรม GHGN ได้แก่ อาจารย์เอ็มมานูเอล คานต์ นักคิดผู้มีชื่อเสียง และทรงอิทธิพลทางความคิด เป็นชาวเยอรมัน ศ.แซนเดล กล่าวว่า ท่านจะยกหลักศิลธรรมทั้งสองแนว มาเทียบเคียงกันในการบรรยายลำดับต่อ ๆ ไป

ศ.แซนเดล ยกตัวอย่างคดีฉาวในอังกฤษ ปลายศตวรรษที่สิบเก้า เรื่องลูกเรือเดนตายสามคน ที่เรือล่มกลางทะเลหลวง แล้วรอดตายด้วยการฆ่าเด็กรับใช้ในเรือ กินเลือดประทังชีพ

โดยที่หลังจากลอยทะเลอยู่ในเรือบตชูชีพได้สิบเก้าวัน กัปตันก็ตัดสินใจฆ่าลูกเรือคนที่เป็นเด็กรับใช้ประจำเรือ เพื่อให้คนอื่นอีกสามคนรอดตาย ด้วยการบริโภคเลือดและเนื้อของคนตาย

เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ที่เคยเป็นคดีดังในศาลอังกฤษ ปัจจุบันก็เป็นคดีตัวอย่างที่ศึกษากันทั่วโลก การอ้างเหตุผลแนวศิลธรรมประโยชน์นิยม ถูกยกขึ้นมาต่อสู้คดี ว่าได้กระทำไปเพื่อคนส่วนใหญ่ ศ.แซนเดล ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นข้ออภิปรายในห้องเรียน เพื่อพิจารณาศิลธรรมแบบประโยชน์นิยม ที่มีหลักว่า การกระทำที่ถูกที่ควรอันพึงทำ ได้แก่ การกระทำที่จะก่อให้เกิด “ผลดี-อย่างใหญ่สุด แก่คน-จำนวนมากสุด”  ซึ่งในกรณีนี้ ผลดีอย่างใหญ่สุด คือ การรอดชีวิตของคนเรือ คนจำนวนมากสุด คือ ลูกเรือเดนตายสามคน และ การกระทำที่ถูกที่ควรอันพึงทำ ก็คือ ฆ่าเด็กรับใช้ประจำเรือกินเป็นอาหาร

ศ.แซนเดล ขอให้นักศึกษาช่วยกันพิจารณาคดีนี้ ว่า ลูกเรือสามคนนั้น ผิด หรือ ไม่ผิด

จับใจความได้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่อภิปรายคัดค้าน การอ้างเหตุผลในครรลองศิลธรรมประโยชน์นิยมในคดีนี้ แนวความคิดคัดค้านประมวลได้สามแนว คือ (ดูสไลด์ at 51:43 ในวีดีโอคำบรรยาย Episode 01)

  1. มนุษย์เรา มีสิทธิบางอย่างบางประการ ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นคน ใช่หรือไม่? (เช่น คนเรามี “ขวัญ” ใช่ไหม? เพราะขวัญเป็นพื้นฐานของความเป็นคน ถ้าขวัญบิน หรือขวัญหนี ความเป็นคนของเราก็น้อยลง เราจะใกล้เดรัจฉาน หรือซ็อมบีผีดิบ มากขึ้น) ต้วอย่าง-เด็กรับใช้ประจำเรือ มีสิทธิในชีวิต ที่ผู้อื่นจะมาบั่นชีพเขาไม่ได้
  2. การกระทำการใด ๆ ก็ดี ที่มีขั้นตอนเป็นธรรม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ก็อาจถือได้ว่าการกระทำนั้น ๆ มีศิลธรรม ใช่ไหม? ตัวอย่าง-ถ้าคนเรือจับฉลากกัน เพื่อถูกฆ่า
  3. ความยินยอม มีบทบาทอะไร ในกระบวนการยุติธรรม? ทำไมการกระทำบางอย่าง คนเห็นว่า ผิดศิลธรรมอยู่ในตัวของมันเอง แต่ครั้นคู่กรณีให้ความยินยอม การกระทำนั้นก็พลิกตัว กลับกลายเป็นถูกศิลธรรม ตัวอย่าง-ถ้าเด็กรับใช้ประจำเรือ ยินยอมให้ฆ่าโดยสมัครใจ
ศ.แซนเดล บอกนักศึกษาว่า เพื่อจะตอบข้อสงสัยเหล่านี้ เราจะต้องอ่านงานของนักปรัชญาประโยชน์นิยมคนสำคัญสองคน คือ เจอเรมี แบนแธม กับ จอห์น สจวต มิลล์ ซึ่งท่านจะได้เสนอในการบรรยายครั้งต่อ ๆ ไป



วันพฤหัสบดีที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

นายกรัฐมนตรีหญิง ถึงคิวสังหาร-จริงหรือว่า มรณะกาลของเธอ ถูกนับถอยหลัง...มาแล้วล่วงหน้า? นางสาว เพนะซีระ ภุทโท बेनज़ीर भुट्टो ตอน 3/3

ปรีชา ทิวะหุต


การค้นคว้า เรียบเรียง นำเสนอ เรื่องการสังหารนายกรัฐมนตรีหญิง ในแดนชมพูทวีป เริ่มจากที่ลังกามาอินเดียและมาปากีสถานนั้น ลำนำข้อมูลหลากหลายที่ไหลผ่านสายตา ล้วนบ่งชัดว่า กรณีการตายของ นางสาว เพนะซีระ ภุทโท เป็นเรื่องลึกลับที่สุด กอรปด้วยปมประเด็นที่น่าฉงนสนเท่ห์ที่สุด ขณะที่ ทั้งอาชญากรรมและอาชญากร ของสองกรณีก่อนหน้านี้ คือกรณีของ นางสาว จันทริกา กุมาระตุงคะ  และ นางสาว อินทิรา ปริยัทรศินี คานธี ต่างล้วนแจ่มกระจ่าง เข้าใจได้ไม่ยาก ผู้คนทั้งหลายสามารถปิดคดีภายในจิตใจของตนลงได้ แต่กรณีฆาตกรรม นางสาวเพนะซีระ คนจำนวนมากทั้งในปากีฯ และนอกปากีฯ ยังไม่สามารถปิดคดีนี้ภายในจิตใจของตน ลงได้ง่าย ๆ เลย

ใครฆ่าเธอ?

วันอังคารที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

หน้าคำหยาบ และบทบาท ตัวอย่าง+วีดีโอ คลิกที่นี่

คำเตือน: หนังสือเรื่องคำหยาบก็จริงอยู่ แต่โปรดระวัง เพราะว่า มีคำสุภาพปนอยู่เยอะมาก


ภาพเขียนภาพนี้ เป็นภาพที่มีผู้แวะชมมากที่สุด ในพิพิธภัณฑ์ ออกเซ่ กรุงปารีส
ชื่อภาพ "โลริจีน ดู ม็งด์" (L'Origine du monde) แปลว่า "กำเนิดโลกมนุษย์"
ผลงานของศิลปินฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้นำด้านศิลปะเหมือนจริง กุสตาฟ กูร์เบต์

หมายเหตุ: ภาพเขียน ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง กับงานเขียนเล่มนี้ แต่บทกวีที่อ่านประกอบภาพ
เป็นงานเขียนชิ้นเอก สมควรที่นักเขียนทุกคน นับถือเป็นแบบอย่างได้

บทกวี ที่อ่านประกอบวีดีโอ เป็นบทกวีชิ้นเอกของอิตาลี
ชื่อ "L'Infinito" ของกวีเอก Giacomo Leopardi ศตวรรษที่ 18
ถึงไม่รู้ภาษาอิตาลี ก็ฟังเพราะ ครับ

วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

ต้นฉบับ "เศรษฐกิจภาพรวม-เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์" บทที่ ๑ เกริ่นเรื่อง

แดง ใบเล่ - เดฟ นาพญา - ปรีชา ทิวะหุต
Not for commercial use. ไม่สงวนสิทธิ์ฉบับดิจิทัล ไม่ได้เผยแพร่เชิงพาณิชย์ แต่แบ่งปันเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการศึกษา
สำนักพิมพ์ใด สนใจจะตีพิมพ์เป็นฉบับสื่อสิ่งพิมพ์ โปรดติดต่อเจ้าของงานที่อีเมล salaya123@yahoo.com -ขอบคุณครับ

บท ๑ เกริ่นเรื่อง

ไม่มีใครจะเข้าใจระบบทุนนิยมได้
ถ้าเขาไม่เข้าใจว่า ทำไมจึงเกิดการปฏิวัติของเคนส์?
และการปฏิวัติของเคนส์เป็นอย่างไร?


วันปีใหม่…เมื่อเจ็ดสิบห้าปีก่อน นับถอยหลังจากปี พ.ศ. 2553

1 มกราคม พ.ศ. 2478 จอห์น เมนาร์ด เคนส์ กล่าวกับนักเขียนและนักทำละครเวทีชื่อดังของอังกฤษ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ โดยไม่ได้ประหยัดถ้อยคำ(=ไม่ถ่อมตัว)แม้แต่น้อย ว่า

“ผมว่า อีกราวสิบปีข้างหน้า หนังสือทฤษฎีเศรษฐกิจที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้ จะปฏิวัติวิธีคิด และวิธีเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ ของคนทั้งโลก…”

เคนส์กล่าวต่อไปอีกว่า “ผมไม่ได้พูดแบบพยากรณ์นะ...ผมพูดแบบแน่ใจ”

วันพุธที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

นายกรัฐมนตรีหญิง -เธอตายในรถกันกระสุน นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ตอน 2/3

ज़ुल्फ़िकार अली भुट्टो
ซุละฟิการ์ อะลี ภุทโท -ภุทโทผู้พ่อ
-เป็นเด็กเบิร์คเลย์


เรา ในฐานะชาวต่างชาติ ยากที่จะเห็นภาพ ของ นางสาว เพนะซีระ บนเวทีการเมืองได้เต็มรูป ถ้าเราไม่ได้เห็นเค้าร่างของคุณพ่อเธอ นาย ซุละฟิการ์ อะลี ภุทโท  ผู้เขียนเห็นว่า ท่านผู้นี้เป็นนักการเมืองผู้ยิ่งยงคนหนึ่ง ในดินแดนเอเชียใต้ ยุคหลังอาณานิคม ซึ่งหมายรวม 4 ประเทศ คือ ปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ และศรีลังกา ยากที่จะพบทางเดินชีวิตการเมือง ของนักการเมืองชมพูทวีปผู้ใด จะโชกโชน เข้มข้น มีสีสัน มีเนื้อหาสาระ มีความสำเร็จและมีความล้มเหลว มากไปกว่าท่านผู้นี้ ซึ่งในที่สุด ก็ได้สังเวยชีวิตเซ่นเวทีการเมืองปากีสถาน

วันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โพสต์ที่ 2/2 บทสรุป พลังงานนิวเคลียร์ต้นทุนต่ำ เพื่อความมั่นคงของสหรัฐฯ

บทสรุป ทั้งบท ในต้นฉบับหนังสือแปล "พลังงานนิวเคลียร์"
แปลจาก Nuclear Energy Now
ปรีชา ทิวะหุต แปล

พลังงานนิวเคลียร์: ต้นทุนต่ำเพื่อความมั่นคงของสหรัฐ


คงจะไม่หวังสูงเกินไป ว่าลูกหลานของเรา จะมีความสุขอยู่กับบ้าน ที่พลังงานไฟฟ้า ถูกเสียจนไม่คุ้ม ที่จะติดมาตรวัด แล้วรับรู้เรื่องความอดอยากหิวโหยตามภาคส่วนของโลก เพียงตำนานในอดีต จะเดินทางอย่างสุขสบาย ข้ามขอบฟ้ามหาสมุทร์ หรือแม้ใต้ท้องทะเล อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว แล้วจะมีอายุขัยยืนยาว กว่าช่วงอายุของเรา เมื่อโรคาพยาธิถูกปราบราบคาบ และมนุษย์เริ่มรู้เหตุ แห่งความแก่เฒ่า

-- ลิววิส แอล. สเตราส์ ประธานคณะกรรมการพลังงานอะตอม กล่าวต่อสมาคมนักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์แห่งชาติ นครนิวยอร์ค 16 กันยายน 1954


นัยยะ แฝงในคำปราศรัยของนายลิววิส สเตราส์ นั้น หมายถึงจุติกาลของพลังงานปรมาณู แต่บัดนี้ทราบกันทั่วไปแล้วว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้พัฒนามาถึงจุดได้เปล่า กาลเวลาผ่านไปใบเสร็จค่าไฟฟ้ากลับสูงขึ้น แม้ว่ากฎระเบียบกำกับดูแลจะลดทอนผ่อนคลายลง ราคาค่าไฟฟ้ายังคงเพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลหนึ่งเรื่องต้นทุนค่าเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงขึ้น ราคาเชื้อเพลิงที่สูงมากขึ้นนั้น ทำให้ทางเลือกนิวเคลียร์เป็นเรื่องน่าคิดยิ่งกว่าแต่ก่อน

วันพุธที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

นายกรัฐมนตรีหญิง ถูกฆ่าตาย ในรถกันกระสุน! เอ๊ะ ยังงัย? กรณีสังหาร นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ตอน 1/3 อดีต นายกรัฐมนตรี หญิง ปากีสถาน Killing of another woman prime minister here and soon!

เมื่อ นายกรัฐมนตรีหญิง อีกคนหนึ่ง ถึงคิวโดนสังหาร!

นางสาวเพนะซีระ ภุทโท
बेनज़ीर भुट्टो
ตอน 1/3


ก่อนที่เธอ จะถูกฆ่าตาย

นางสาว เพนะซีระ ภุทโท ( बेनज़ीर भुट्टो ) ได้แสดงความจำนง ขอความคุ้มครองเพิ่มขึ้น จากรัฐบาลสองรัฐบาล คือรัฐบาลปากีสถานและรัฐบาลสหรัฐฯ คำร้องขอของเธอ ระบุด้วยว่า เธอต้องการ การคุ้มครองจากกิจการอารักขาบุคคลสำคัญ ของธุรกิจรปภ.ที่มีชื่อเสียงในสหรัฐฯบริษัทหนึ่ง หรือกิจการรปภ.ที่มีชื่อเสียงในอังกฤษบริษัทหนึ่ง กิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้ ผลปรากฏว่า ทั้งรัฐบาลปากีสถานและรัฐบาลสหรัฐฯ ปฎิเสธคำขอของเธอ

หลังจากที่เธอถูกสังหาร องค์การสหประชาชาติ ได้ดำเนินการสืบสวนคดีอาชญากรรม ตามคำขอของรัฐบาลปากีสถาน โดยมีร.ม.ต.มหาดไทย นายเรมัน มาลิก เป็นเจ้าความคิดต้นเรื่อง สหประชาชาติแต่งตั้ง เอกอัครราชทูตชิลีประจำองค์การสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าคณะ มีอดีตอัยการสูงสุดของอินโดเนเซีย และอดีตนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่จากประเทศไอร์แลนด์ เป็นสมาชิกในทีมงาน

คณะสืบสวนดังกล่าว รายงานว่า “การฆาตกรรม นางสาว เพนะซีระ ภุทโท สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้ามีการรักษาความปลอดภัย อย่างเพียงพอ”

และ ยังระบุเน้นอีก ว่า “...แต่การรักษาความปลอดภัย ที่รัฐบาลปากีสถาน จัดอารักขา นางสาวภุทโท นั้น บกพร่องอย่างมาก และไร้ประสิทธิภาพอย่างยิ่ง”


วันพุธที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

คิดเชิงวิจารณญาณ-Critical Thinking



คิดนอกกรอบ  สุนัขก็คิดเป็น
ถ้าชิ้นกระดูก วางอยู่นอกถาด
มีหรือที่สุนัข จะงมอยู่กับในถาด

"คิดเชิงวิจารณญาณ"  ทั้งตะวันออกและตะวันตก เห็นตรงกันว่า ดี...แต่ มนุษย์ปุถุชน ไม่มีใครคิดเป็น ออกมาจากท้องพ่อท้องแม่ ผู้ปรารถนาจะคิดเป็น ต้องเรียนรู้ที่จะคิด เริ่มด้วยการเรียนรู้ "วิธีคิด"

....สักวันหนึ่ง จะทำให้ง่าย หยิบใช้สะดวก นำมาเผยแพร่ที่นี่ แต่-มีแต่มนุษย์เท่านั้น ที่จะคิดเชิงวิจารณญาณเป็น และมีโอกาสที่จะเรียนรู้ได้ เท่าเทียมกันทุกผู้ทุกนาม จะต่างก็แต่ช้าเร็วกว่ากัน วันสองวัน เท่านั้น

ท่านจะรู้จักตัวเอง เพิ่มขึ้น เช่นรู้ว่า การที่ท่านรู้จักที่จะสมมติสถานการณ์ขึ้นมาในศีรษะ เป็นการทดลองทางความคิด ซึ่งการทดลองคิด ผิดกับการทดลองในวิชาฟิสิคส์ หรือเคมี หรือสังคมศาสตร์ใด ๆ เพราะว่า เราทดลอง “ในห้วงมโนนึก” เท่านั้น ไม่มีวิธีอื่นหรอก ทั้งนี้โดยที่เราไม่ต้องสร้างห้องแลบส์แบบวิชาฟิสิคส์ หรือลงทุนสร้างกลุ่มตัวอย่างแบบวิชาสังคมศาสตร์ ขึ้นมาทำการทดลอง นี่...เป็นความเท่ห์ ของการทดลองคิด(เชิงปรัชญา) เพราะว่า แม้ขณะที่กำลังนั่ง อึ เราก็ทำการทดลองไปพร้อม ๆ กันได้

ระยะนี้ โปรดชมวีดีโอ ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง ไปพลาง ๆ ก่อนครับ


คำคม-คำคัด เพื่อยุคปัจจุบัน
"You can lead a whore to culture but you can’t make her think."
-Oscar Wilde นักเขียนอังกฤษ ศตวรรษที่ 19
"คุณอาจชักนำโสเภณี สู่ความมีวัฒนธรรมได้ แต่คุณจะไม่มีวันทำให้เธอรู้จักคิด"

วีดีโอ เตือนสติเราบางอย่าง เช่น ขอปลามากิน กับ ขอให้ช่วยสอนวิธีหาปลา
และเรื่อง การนั่งบนคาคบไม้ แล้วนั่งเลื่อยกิ่งไม้ใหญ่ ที่ตัวนั่งอยู่ โดยไม่มีความคิด
เชิงวิจารณญาณ critical thinking ว่า  ถ้ากิ่งไม้ใหญ่ขาดลงมา ตัวเองก็ตายด้วย
http://www.youtube.com/watch?v=6OLPL5p0fMg&feature=player_detailpage#t=160s
<--คลิกชม ช่วงกิ่งไม้ ขาด

อันที่จริง ตายไม่ตาย อาจจะไม่ใช่เรื่องสำคัญ 
ถ้า เป็นคนตีประเด็นชีวิตแตก -ด้วยปัญญา
ที่สำคัญ สำหรับคน-น่าจะทุกคน ไม่ว่าตีประเด็นชีวิตแตกหรือไม่
-ก็คือ critical thinking
ที่จะช่วย ไม่ให้เรา กลายเป็น "คนสิ้นคิด" อันน่ารังเกียจ

bye-bye โอกาสดี ๆ คงได้พบกัน ที่นี่ครับ-คงจะต้นปีหน้าโน่นแหละ
-ขอบคุณล่วงหน้า สำหรับท่านที่สนใจ
----------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ:  อย่างไรก็ดี จนถึงสิ้นปีนี้ จะโพสต์เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ในชีวิตคน
คือ เรื่องความสำนึกในความยุติธรรม ทั้งในชีวิตส่วนตัวและชีวิตส่วนรวม
เรื่อง "ความสำนึกในความยุติธรรม - สิ่งที่ถูกที่ควรอันพึงทำ"

ที่จริงก็เป็น "วิธีคิด" ชนิดหนึ่ง  แต่ตีกรอบแคบลง
เป็นวิธีคิด เชิงศิลธรรมทางแพ่ง (-ไม่ใช่ศิลธรรมในศาสนา ใด ๆ)
สนใจเชิญที่ บล็อก หน้า-ความสำนึกในความยุติธรรม-สิ่งที่ถูกที่ควรอันพึงทำ
หรือ คลิกข้างล่างเลยครับ

ความสำนึกในความยุติธรรม-สิ่งที่ถูกที่ควรอันพึงทำ

"รายการข่าว น้ำเน่ากว่าละคร" news programs are more of sewage than telenovela

เจตนา-เพื่อทำความเข้าใจ เชิงวิจารณญาณ กับข่าวทุกข่าว

แรงบันดาลใจ-ได้จาก เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงศึกษาธิการ ฝรั่งเศส
ทำ คู่มือการรับฟังข่าวสาร ให้นักเรียนมัธยมฝรั่งเศส ได้ศึกษา


--งานสั้น ๆ เขียนประเด็นละสองย่อหน้า เรื่อง "รายการข่าว น้ำเน่ากว่าละคร"
เริ่มเผยแพร่เมื่อ 15 เมษายน 2554
อ่านตอนหนึ่งตอนใด ก่อนหลังก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอ่านเรียงลำดับ ครับ

-ข้อเขียนบทก่อน ๆ รวมไว้-ข้างล่าง รวม 14 ตอน ดังต่อไปนี้ ครับ

วันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

(นางสาวอินทิรา ตอน 3/3 “ถ้าคนดี มิได้ช้ำ ระยำยับ” -สุนทรภู่) สังหารโหด นักการเมืองสตรีเอเชีย women politicians in Asia murdered กรณี इंदिरा प्रियदर्शिनी - นางสาว อินทิรา ปริยัทรศินี

women politicians in Asia murdered
กรณี इंदिरा प्रियदर्शिनी - นางสาว อินทิรา ปริยัทรศินี

คุณงามความดี

นักการเมืองบางคน ก็มีคุณงามความดี ไม่ได้เลวไปเสียทั้งหมด หรือเลวทั้งตัว นักเขียนผู้หนึ่ง ผู้เขียนชีวประวัติชีวิต นางสาว อินทิรา ปริยัทรศินี กล่าวไว้ว่า “ถ้าแม้นบัญชีหางว่าว แสดงข้อเสียของอินทิรา จะยืดยาว แต่บัญชีบันทึกข้อดีของเธอ อันกอปรด้วยหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าพิศวง ยาวกว่านั้นอีก...” ซึ่งคนอินเดียรุ่นใหม่ จะเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ กันเป็นส่วนมาก

คืนหนึ่ง ใต้แสงจันทร์เสี้ยวเล็กบาง ผู้เขียนกับมิตรอีกสองคน พากันลอยเรือลำน้อย ตะคุ่ม ๆ ไปในความมืดมิดและเงียบเชียบ ของแม่น้ำคงคา เพื่อไปจอดเรือกลางน้ำ ตรงหน้าท่าน้ำแห่งหนึ่ง โดยผูกเรือโยงเข้ากับหมู่เรือใหญ่น้อยลำอื่น ๆ ที่ลอยกันเป็นตับ ใต้ฟ้าคืนเดือนมืด รอชมพิธีบูชา ร่ายรำคบเพลิง ที่จัดขึ้นบริเวณชายฝั่ง พระจันทร์เสี้ยวเล็ก ๆ ค้างอยู่บนฟ้าสีดำ ชวนให้นึกถึงเครื่องหมาย จันทระพินทุ รูปพระจันทร์เสี้ยว ที่เขียนไว้บนอักขระเทวะนาครี โดยเฉพาะตามคำยืม ที่ดาวน์โหลดตรงจากสันสกฤต มิตรชาวภารตะเล่าว่า สมัยเด็ก ๆ ครูจะดุเสมอ เรื่องลืมเขียนเครื่องหมายจันทระพินทุ  นี้

วันจันทร์ที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

(นางสาว อินทิรา ตอน 2/3) สังหารโหด นักการเมืองสตรีเอเชีย The murder of woman politicians in Asia กรณีของ इंदिरा प्रियदर्शिनी - นางสาว อินทิรา ปริยัทรศินี การเมืองระหว่างเป็นนายกฯ รอบแรก 2509-2520

นางสาว อินทิรา ปริยัทรศินี ตอน 2/3
murder of woman politicians

ตัดภาพให้ชัดขึ้น

เพื่อตัดให้ภาพ คุณอินทิรา ปริยัทรศินี เด่นขึ้น บุคคลที่เราน่าจะยกขึ้นมาเทียบน่าได้แก่ นาย मोरारजी देसाई หรือนายโมรา รชี เทสาย ต่อไปจะเรียกสั้น ๆ ว่า นายโมรา ส่วนคุณอินทิรานั้น เพื่อให้ทันสมัย ก้าวหน้า และสร้างสรรค์ จะใช้คำนำหน้านามเธอเสียใหม่ เป็น นางสาว อินทิรา เพราะว่า ในโลกตะวันตก ทั้งอังกฤษและสหรัฐฯทุกวันนี้ ท่านผู้อ่านก็ทราบกันดีโดยทั่วว่า เขาจะเรียกสตรีว่า นางสาว ไว้ก่อน เว้นแต่ว่าเจ้าตัว จะบอกกล่าวให้ทราบชัดเจนว่า โปรดเรียกฉันว่า นาง ยิ่งในภาคธุรกิจของสหรัฐฯด้วยแล้ว การไปเรียกสตรีในธุรกิจว่า นางนั่นนางนี่ นอกจากจะเป็นการเสียมารยาทแล้ว ยังอาจทำให้การเจรจาธุรกิจล้มเหลว ได้ด้วย

โอม ภะคะวัน(=พระผู้เป็นเจ้า หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้า) ส่งข้ามาเกิดแล้ว ทำไมต้องให้นายโมรา มาเกิดด้วย

วันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สังหารโหด นักการเมืองสตรีเอเชีย The murder of woman politicians in Asia กรณีของ इंदिरा प्रियदर्शिनी गांधी - อินทิรา ปริยัทรศินี คานธี (อินทิราตอน 1/3)

อินทิรา ปริยัทรศินี คานธี इंदिरा प्रियदर्शिनी गांधी


อึ้งกิมกี่ ถึงแก่อึ้งกิมกี่


เมื่อรู้ว่าลูกสาว จะแต่งงานกับแขกปาร์ซีค่อนข้างจะโนเนมผู้หนึ่ง ชวาหระลาล เนห์รู ซึ่งเป็นนักการเมืองชั้นแนวหน้า กำลังรุ่ง ผู้เคลื่อนไหวด้วยวิธีอหิงสา เพื่ออิสรภาพอินเดียอยู่ในเวลานั้น จึงได้ติดต่อกับครูใหญ่ของท่าน คือ มหาตมะ คานธี นามสกุลซ้ำกันกับฝ่ายผู้จะมาเป็นเจ้าบ่าว แต่มิได้เป็นเครือญาติกันแต่ประการใด ขอให้ช่วยที ให้สองคนนี้เปลี่ยนใจ แต่ว่า โอ ศิวะนารายณ์ ไม่มีใครช่วยได้

การแต่งงานกับ ฟิโรช ชาฮังคีร์ คานธี แขกปาร์ซีที่มาตั้งรกรากในเมืองอะละหะบัด เมืองภูมิลำเนาของเนห์รู อันเป็นตระกูลพราหมณ์ อาจจะพอเทียบได้คล้ายกับตระกูลพราหมณ์เมืองพัทลุง หรือนครศรีธรรมราช หรือถ้าในกรุงเทพฯ ก็อาจเทียบได้กับสกุล “มกรานนท์” อะไรประมาณนั้น ผิดพลาดขออภัย ผู้เป็นบิดาย่อมยากจะยอมรับได้ เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เป็นการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ฮึดฮัดแข็งขืน อย่างออกหน้าออกตาครั้งแรกของ อินทิรา ปริยัทรศินี เนห์รู

วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ลอบสังหาร นักการเมืองสตรีเอเชีย-นางสาว จันทริกา กุมาระตุงคะ The murder of woman politicians in Asia (จันทริกาตอน 2/2)

ลอบสังหาร นักการเมืองสตรีเอเชีย-จันทริกา กุมาระตุงคะ อดีตประธานาธิบดี ศรีลังกา
The murder of woman politicians in Asia (ตอน 2/2)
โดนระเบิดพลีชีพ แบบเรียลลิตี้ ทีวี รอดตาย แต่เสียตาข้างขวา

ณ บัดนี้ เราตระหนักแล้วว่า ถ้ามองจากฝ่ายคนสิงหลข้างเดียว ไม่ยอมรับรู้ความเป็นมาของปัญหา ด้านคนทมิฬเสียเลย ทำให้เราตอบคำถามไม่ได้ว่า ทำไมจันทริกาถูกปองร้ายถึงชีวิต

แนะนำทมิฬ สองสามคำ

การมองทมิฬ เราก็ต้องเดินถนนพระราม และว่ายน้ำข้ามฟากจากเกาะลังกา ไปมองมาจากประเทศอินเดีย คนทมิฬมีพื้นเพอยู่ทางใต้ของอินเดีย คือ ตั้งแต่เมืองมัทราส หรือเชนไน ลงมา ผู้คนในพื้นที่นี้เคลื่อนไหวยืนยันเอกลักษณ์ของตนเอง มาตั้งแต่อินเดียยังอยู่ใต้อำนาจอังกฤษ เมื่ออินเดียเป็นอิสระแล้ว คนทมิฬก็ได้รณรงค์ขอตั้ง รัฐ “ทมิฬ นาดู” แปลว่า ดินแดนทมิฬ หรือ เมืองทมิฬ ขึ้นเป็นผลสำเร็จเมื่อพ.ศ. 2512 มีพื้นที่ประมาณภาคอีสาน หักด้วยจังหวัดนครราชสีมา คือ 130,000 ตารางกิโลเมตร

วันเสาร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ชะตากรรมนักการเมืองสตรีเอเชีย ที่ถูกลอบสังหาร -นางสาว จันทริกา กุมาระตุงคะ (จันทริกาตอน 1/2) The murder of Asian women politicians: case of Jandarika

นางสาว จันทริกา กุมาระตุงคะ
อดีตประธานาธิบดีศรีลังกา รอดตาย แต่เสียตาข้างขวา

“ซิ อ็อง โป” ที่ปารีส สถาบันศึกษาการเมือง มีชื่อของฝรั่งเศส กับเวลาหลายปีที่นั่น ทำให้ จันทริกา กุมาระตุงคะ คล่องแคล่วทั้งภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ และสิงหล เธอเป็นนักศึกษาต่างชาติผู้หนึ่ง ที่มีประสบการณ์จริงจัง กับขบวนการนักเรียนนักศึกษา ระหว่างที่ฝรั่งเศสเกิดขบถนักเรียน ปี 1968

จบจาก “ซิ อ็อง โป” แล้วเข้าเรียนปริญญาเอก สาขาพัฒนาการเศรษฐกิจ ที่มหาวิทยาลัยปารีส จันทริกา พักการศึกษาเดินทางกลับลังกา ทำงานเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ต่อมา ระหว่างที่คุณแม่เป็นนายกรัฐมนตรีรอบที่สอง และกำลังปฏิรูปประเทศและเศรษฐกิจ จันทริกา เข้าทำงานการเมืองเต็มตัว คุณพ่อของเธอ นายพันธระไนยเก บางทีเขียนภาษาไทยว่า บันดาราไนเก ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สี่ของลังกา ถูกภิกษุ-คนสิงหล-รูปหนึ่งลอบสังหาร

วันพฤหัสบดีที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ผลการเลือกตั้ง ครั้งประทับใจในอดีต (ตอนที่ 2/2) impression of a French presidential election

ผลการเลือกตั้ง ครั้งประทับใจในอดีต

ตอนที่ 2/2 an impression of a French presidential election
โดย ปรีชา ทิวะหุต

ผลการเลือกตั้งที่ประทับใจอีกครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดขึ้นหลังจากครั้งแรกหลายปี ในโอกาสที่ปะเหมาะได้ใช้ชีวิตนักเรียนอีกรอบ โดยเดินทางไปเป็นนักเรียนที่ฝรั่งเศส ก็เลยมีผลพลอยได้เป็นการท่องเที่ยวทางการเมืองอีกรูปแบบหนึ่ง การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสครั้งนั้น แข่งขันกันระหว่างพรรคแอเปแอ อันเป็นพรรครวมพลคนนิยมอดีตประธานาธิบดี ชาร์ล เดอโกล และพรรคนี้ได้ส่ง นายฌาค ชีรัค เข้าประกวด เพื่อประชันกับพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส หรือสั้น ๆ ว่า พรรคเปแอสแอฟ(PSF) มีฟร็องซัวส์ มิตแตรังด์ เป็นผู้ลงสมัคร

ที่โรงอาหารมหาวิทยาลัย ปีนั้นช่วงฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย ๆ เพื่อนฝรั่งเศสบอกกับผู้เขียนว่า ให้ติดตามการเมืองฝรั่งเศส ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งให้ดี จะสนุกกว่าการเมืองอเมริกันมาก เขาว่าอย่างนั้น เทียบกันไม่ได้หรอก เขาย้ำว่า “Tu vas voir.” (แล้วเอ็ง จะเห็นเอง) คำว่า “ตู” เป็นสรรพนามบุรุษที่สอง ใช้กับเพื่อนฝูง หรือญาติสนิท

แม้ผู้เขียนจะเชื่อกาลามสูตร เพราะได้รับการอบรมสั่งสอนมาอย่างนั้น และเพราะโดนต้มมาเยอะ ซึ่งหมายความว่า ตัวเองก็เคยต้มคนอื่นเหมือนกัน แต่ก็พยักหน้ารับคำ ว่าจะติดตาม ทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ระหว่างช่วงปีแรกของชีวิตในฝรั่งเศส สิ่งแวดล้อมทุกสิ้งทุกอย่างยังใหม่มากและใหม่หมด แต่การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในฤดูโลต็น –l’automne - ฤดูใบไม้ร่วงปีนั้น ก็ช่วยให้ผู้เขียน เข้าใจแง่มุมการเมืองเชิงปฏิบัติของฝรั่งเศส ได้ไวขึ้น ดีกว่าที่จะศึกษายามปกติ เพราะว่าข้อมูลข่าวสารมีพร้อม ประดังกันมารอบด้าน ไม่ต้องไปค้นคว้าแสวงหา นอกจากนั้นเหตุแห่งความประทับใจอีกเหตุหนึ่ง ก็คือ เพราะว่าเป็นระบบการเมืองใหม่อีกแบบหนึ่ง ที่ผิดไปจากระบบอเมริกัน ผู้เขียนจึงต้องเรียนรู้ใหม่ ทำความเข้าใจกันใหม่ พูดภาษาประสาทวิทยาสมัยนี้ ท่านบอกว่า ต้องปรับวงจรเซลสมอง หรือ นู-ร็อน เสียใหม่ เป็นการ re-wire ซึ่งในความเป็นจริง กว่าที่ผู้เขียนปรับแยกวงจรนู-ร็อน เด็ดขาดเป็นสองวงจร คือวงจรภาษาอังกฤษวงจรหนึ่ง แยกกันเด็ดขาดกับวงจรภาษาฝรั่งเศส ผู้เขียนต้องใช้เวลาถึงสองปี ซึ่งเมื่อปรับเรียบร้อย เห็นคำว่า address ก็จะดีดอัตโนมัติไปเข้าวงจรอังกฤษ แต่ถ้าเห็น adresse ก็จะดีดเข้าวงจรฝรั่งเศส เป็นต้น

วันพุธที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ผลการเลือกตั้ง ครั้งประทับใจในอดีต (ตอนที่ 1/2) impression of an American presidential election

โดย ปรีชา ทิวะหุต
[writing about my first hand impression of an American presidential election]

นอกจากคนเราจะเที่ยวเชิงอนุรักษ์แล้ว การท่องเที่ยวเชิงการเมืองก็เป็นไปได้ ผู้เขียนถือเอาเองว่า เคยผ่านการท่องเที่ยวเชิงการเมืองฤดูเลือกตั้ง ที่เป็นครั้งประทับใจมาสองครั้ง จดจำความรู้สึกในแวดวงมิตรสหาย และจำทิวทัศน์ภูมิประเทศการเมืองที่ไปท่องเที่ยวมา ได้ติดตาติดใจจนบัดนี้

ท่องเที่ยวเชิงการเมืองฤดูเลือกตั้งครั้งแรก ที่ตัวเองรู้สึกเกี่ยวข้องและตั้งใจติดตาม ได้แก่การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกัน เพื่อวาระที่สองของประธานาธิบดีนิกสัน พรรครีพับบลิกัน โดยมีคู่แข่งคือวุฒิสมาชิก จอร์จ แมคโกเวอร์น จากพรรคดีโมแครต

วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔

ห้าอันดับแรก-นักการเมืองสวะสังคม สารเลวสุด ๆ

นักการเมืองสวะสังคม สารเลวสุด ๆ ห้าอันดับแรก
[……ในละตินอเมริกา………………………………..]

จะเติมคำในช่องว่าง (เติมแล้วว่า...ในละตินอเมริกา)
และประกาศ ชื่อจริงนามสกุลจริง ที่นี่ ศุกร์ที่ 24 มิถุนายน นี้! (ประกาศแล้ว โปรดคลิกที่ "อ่านเพิ่มเติม" ด้านล่าง)
ฉลองการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
-เป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
รักจะโพสต์ซะอย่าง คุกตะรางเรื่องเล็ก! (-พูดเล่นครับ แต่โพสต์จริง)

-คำว่า “สวะสังคม” เป็นคำที่ รัฐบุรุษปรีดี พนมยงค์ เคยใช้ ท่านแปลมาจากคำ
ว่า social scum

ประเทศนิคารากัว อะนาสตาซิโอ โซโมซา การฺเซีย ระยำสุด ๆ
โดดเด่น ระยำสุด ๆ ตะกวดยังอาย ในบรรดานักการเมืองละตินอเมริกา รุ่นแรก ๆ นายอะนาสตาซิโอ ซ. การฺเซีย กับลูกชายสองคน ยึดอำนาจการเมืองในประเทศนิคารากัว พื้นที่ประมาณเท่าภาคอิสานเอาไว้


วันพุธที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔

News Mandala – an obsolete, absurd, tout à fait démodé, and out-of-place mediaval, pre-enlightment European perspective on mainland Southeast Asia วิวาท-วิจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย Australian National University (=the top spy school in southern hermisphere, that fails) ปรีชา ทิวะหุต วิจารณ์ video no.6

What a waste of Australian taxpayers' money! Tons of money to create an ounce of STUPIDITY.
And since so many kilogrammes of stupidity hv been produced, we could not imagine how many tons and tons of Australian tax money was wasted.

"We must abandon the prevalent belief in the superior wisdom of the ignorant." -Boorstin
Remark: prof. Boorstin is a polite guy, if HE were ME, the term "the ignorant" would be repaced by "the stupid", 'cause the two is seperated by Big waters as wide as the south Pacific. Don't you know that, oh you did? But you ain't a rude person?

I didn’t intend to offend Australian National University or Australia-the land abounds with delicate exotic plants, animals and people that I adore all. Moreover, I’m an admirer of Lady Bracknell, in Oscar Wilde’s The Importance of Being Earnest, said she:
 “I do not approve of anything that tempers with natural ignorance. Ignorance is like a  delicate exotic fruit. Touch it and the bloom is gone”

โหลดบทวิจารณ์ วีดีโอ 6 ได้ที่ลิงก์นี้ครับ
https://docs.google.com/leaf?id=0B1pqd2WJcbO3NDVkOTkwY2EtY2IwNy00Mzg5LWEwY2MtZjI4ZTQ2NDZkNjQ3&hl=th

หรือโหลดบทวิจารณ์ วีดีโอทั้งหมด 1-2-3-4-5-6 ที่นี่-ขอบคุณครับ
https://docs.google.com/leaf?id=0B1pqd2WJcbO3NDBhNWQwNmMtNDI5Zi00MzgzLTllZTYtNGM4YTc0MDFjYjUx&hl=th
*all misspellings are intended to show spontaniety of my writing and ideas

วันจันทร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

“freely elected Prime Minister of…กระบือแลนด์”

บทความเรื่อง  “freely elected Prime Minister of…กระบือแลนด์

แดง ใบเล่
เผยแพร่แล้ว ทางสื่อสิ่งพิมพ์
เมื่อ มกราคม 2551

บ้านเมืองที่ระบบกฎหมายเจริญวัย มีวุฒิภาวะ ราษฎร์-พลเมืองมีระดับวัฒนธรรมสูงกว่าทารก เข้าใจที่จะใช้วิธีอหิงสา(civility) แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างกันและกัน ทั้งข้อขัดแย้งที่เป็นงานเมืองและงานส่วนตัว ไม่ใช่เอะอะอะไร ก็จะกระโดดเข้าขย้ำคอกัน แบบไอ้ตูบข้างถนนเลย สองสิ่งนี้ ระบบการใช้กฎหมายเจริญวัย และราษฎร-พลเมืองมีวัฒนธรรมสูงกว่าทารก คือองค์ประกอบในโครงสร้าง(configuration)ของระบบการเมืองการปกครองของประเทศ ที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และสองสิ่งนี้เป็นหลักประกันให้แก่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (พอสมควร)

ศาล(ส่วนหนึ่งของระบบกฎหมาย)จะประนีประนอมความเป็นจริงทางสังคม กับ การเมืองการปกครอง ได้อย่างไร?

ศาลจะหาสมดุล ระหว่างตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับเสรีภาพ(liberty-bearing provisions) กับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับความยุติธรรม(justice-bearing provisions) ในรัฐธรรมนูญได้อย่างไร?

การเมืองการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคนจำนวนมากเห็นว่าดี และผู้เขียนก็เห็นว่า ดีกว่าระบบ “เผด็จการเสรี” พาราสาวัตถี ตามอำเภอใจ ใครมือยาวสาวได้สาวเอา เยอะเลย

อย่าหลงถือ ซื่อสัตย์ มักขัดสน

จงคิดกล ให้ได้ดัง หนึ่งกังหัน

ลมพัดกล้า มาทางไหน ไปทางนั้น

หมุนให้มัน รอบตัว กลัวทำไม

แม้นมีมิตร แล้วจงคิด ทำลายล้าง

ตัดหนทาง โกงเจ้า เอาแต่ได้

สละซื่อ ถือดังนี้ ดีสุดใจ

อย่าเลือกหน้า ว่าผู้ใด ใส่ให้พอ

-เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)


อะไรเป็นปัญหาหรือ การเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีปัญหาใหญ่เกี่ยวกับการที่ชัดเจนเรื่อง “สิทธิ” แต่ไม่ชัดเจนเรื่อง “ความยุติธรรม”

ในห้วงมหาสมุทร์แห่ง “สิทธิ” นั้น ในที่สุดแล้ว ก็จะจบลงกับเรือลำน้อยของ “สิทธิตามกฎหมาย” ซึ่งผู้นิยมระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย ต่างก็รู้สึกมีความสุขที่ “สิทธิ” จบลงได้เช่นนั้น แม้จิตใจจะประหวั่นพรั่นพรึง กับการขึ้นเรือลำน้อยลำนั้น อยู่บ้างก็ตาม (เช่น ณ เดือนพฤษภาคม 2554 ตัวอย่างคือ อดีต ผ.อ. ไอเอ็มเอฟ เป็นต้น)

วันอาทิตย์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

dev napya ปรีชา ทิวะหุต: Prof.Thongchai Winichakul openly criticised.

dev napya ปรีชา ทิวะหุต: Prof.Thongchai Winichakul openly criticised.: "โจมตี ธงชัย วินิจจะกุล โดยตรง: This guy knows nothing of Thai history."




"We must abandon the prevalent belief in the superior wisdom of the ignorant,"
Daniel J. Boorstin, a Chicago's historian.


หรือโหลดบทวิจารณ์วีดีโอ ทุกตอน ได้ที่
https://docs.google.com/leaf?id=0B1pqd2WJcbO3ODQzYTUxYWMtZjhkYi00OGRjLWJhNGItNzQ0ZmMxOWY1NDFl&hl=th

วันพุธที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔

Prof.Thongchai Winichakul openly criticised.

โจมตี ธงชัย วินิจจะกุล โดยตรง: This guy knows nothing of Thai history.
----------------------------------------------------------------------------------
 Thailand in Crisis - 4- Andrew Walker
http://youtu.be/krVmgT1gycU วีดีโอตอน 4 คลิกขวา Open In New Window
ปรีชา ทิวะหุต คอมเมนต์ วีดีโอตอน 4:
---------------------------------------------------------------------------------

It would be unfair to ask Prof. Nicholas Farrelly whether he knows about what khun Thongchai Winichakul uttered most of the time (=65% of the time). However it is obvious that the people of Wisconsin, the State, and the University have taken generous care of him; he is obese! And the fact of his obesity is more true than most of the historical facts he talked about. The U of Wisconsin is well-kown for mind-body mindfulness holistic healing which contributes to obesity cure, just go to the University health centre. Khun Tongchai isn’t aware of this info close at hand, the proof? His obesity. The University and the people of Wisconsin should fire him and replace him with myself, who will work for FREE, and I’m not fat. I think my comment isn’t a sort of “Lese majeste” to the legal person or the juristic personality or, in Latin, persona ficta of Khun Thongchai, which I understand that Wisconsin jurisdiction doesn’t cover southern Thailand where I live.

Ps: I looked up those legal terms in Wiki.

วาทะของวอลแตร์ สำหรับธงชัย วินิจจะกุล อ่านวันละหลาย ๆ ครั้งนะ
«Les bavards sont les plus discrets des hommes : ils parlent pour ne rien dire.»  [ Voltaire ]

คำคัดของ บูร์สติน นักประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก

"We must abandon the prevalent belief in the superior wisdom of the ignorant,"

วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔

วิวาท-วิจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย Australian National University(=the top spy school in southern hermisphere) ปรีชา ทิวะหุต วิจารณ์ video no.6 “nettement supérieure” ? –ดีกว่าชัดเจน But, really?

Thailand in Crisis - 6- Andrew Walker
http://youtu.be/6SbUfYbMdOI  วีดีโอตอน 6 คลิกขวา Open In New Window
here is my comment with concluding remarks:
------------------------------------------------------------------------------------

 Watching Thongchai Winichakul’s high quality ranting and original unimaginative point-scoring was a time-wasting error that’d taught me to hold my breath for whatever will be, will be, from video number 6: Thailand’s Future. But it turned out to be “nettement supérieure,” did it really?

Stressors thrown into the session by the moderator: inequality at 0614, terrorist at 0955, participation in politics at 2136, future life at 2540, failed to produce any stresses among the Thai guests. Was it a result of mindful meditation practice or just a plain disregard of impertinent curiosity?

On the other hand, their contributions evolved around familiar mediatique trivialities. The banality of their remarks put me to sleep three times. It raised the mandala (that is, the show) to state-of-the-art dull gossip. Such thing does exist. But, I reveled in the three experts’ good English which is far better than mine and that of my generation of old mandala (here, it means nothing). Another thing delighted me, and it was sublime: their cynical optimism. However, when compared their language command to the disastrous English of Prof. Thongchai Winichakul, he enjoys no benefit of doubt here – please click http://youtu.be/krVmgT1gycU , theirs shine like cool mandala as contrast to the obsolete, tout à fait démodé, mandala of his.

In concluding my critique of the whole program, video 1 to 6, for its overall performance, as I subscribed to Benjamin Disraeli that you cannot go higher than you think, and therefore I have chosen the following two French quotes which I can go no higher, and let them do my holistic comments on my behalf.

1st concluding remark:
“La bêtise est nettement supérieure à l'intelligence car toute l'intelligence du monde ne permettra jamais de comprendre la bêtise universelle, tandis qu'un peu de bêtise suffit amplement à ne pas comprendre quoi que ce soit d'intelligent.”
เมื่อเทียบกับสติปัญญา ความงี่เง่ายิ่งใหญ่กว่าเสมอ เนื่องจากสติปัญญาทั้งปวงในโลก ก็ไม่อาจจะเข้าใจความงี่เง่าได้ แต่ว่าความงี่เง่าเพียงน้อยนิด ก็เหลือเฟือพอจะทำให้ไม่เข้าใจอะไรก็ตาม ที่ฉลาด ๆ
Philippe Geluck
Extrait de Et vous, chat va

2nd concluding remark:
“Tout le rêve de la démocratie est d'élever le prolétaire au niveau de bêtise du bourgeois. Le rêve est en partie accompli.”
ความฝันของประชาธิปไตย ก็คือ การยกกรรมาชนขึ้นให้ได้ระดับความโง่เง่าเดียวกัน กับพวกกระฎุมพี ซึ่งเพียงแค่เริ่มคิดก็สำเร็จไปครึ่งค่อนแล้ว
Gustave Flaubert

End of comments. Thank u for your read. Maybe u follow by mistake, anyhow “khob khun krub”. Bye.

--------------------------------------------------------------------------------------------------
โหลดบทวิจารณ์ วีดีโอ 6 ได้ที่ลิงก์นี้ครับ (ถ้าโหลด กูเกิ้ล-ด็อค ไม่ได้ เว้นสองสามชั่วโมง แล้วลองใหม่ครับ)
https://docs.google.com/leaf?id=0B1pqd2WJcbO3NDVkOTkwY2EtY2IwNy00Mzg5LWEwY2MtZjI4ZTQ2NDZkNjQ3&hl=th

วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔

Thailand's future by Australian National University(=the top spy school in southern hermisphere, that fails),criticised in English by Preecha-a Thai writer ปรีชา ทิวะหุต กำลังเขียนคำวิจารณ์ครับ

คลิกเดียว โหลดคำวิจารณ์ได้ทั้ง 5 ตอน จากกูเกิล ด็อค ครับ

ปรีชา ทิวะหุต วิจารณ์รายการ การเมืองไทย ของมหาวิทยาลัยออสเตรเลีย <<-- click download here วิจารณ์วีดีโอ ตอนที่ 1-2-3-4-5


คำวิจารณ์ตอนสุดท้าย ตอนที่ 6 ซึ่ง มีคนไทยร่วมรายการ 3 คน
จะโพสต์ประมาณต้นเดือนหน้า พฤษภาคม 54 ครับ
critique of Video no. 6 will be posted here around early May 2011.

วันพุธที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔

ปรีชา ทิวะหุต สรรเสริญมหาวิทยาลัยออสเตรเลีย

แต่-ประนามโคกระบือที่เริ่มหัดคิด
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิจารณ์ รายการ Thailand in Crisis ของมหาวิทยาลัยออสเตรเลีย Andrew Walker
http://youtu.be/yJfCoVzXLuM วีดีโอตอน 5 คลิกขวา OpenIn NewWindow
my 3 short paragraphs comment:
-----------------------------------------------------------------------------------

๑. Overwhelmed by all sorts of lies in Cyberspace about politics in Thailand i.e . compulsive lies and paid lies, I breathed fresh air of truth in watching video no. 5. Thailand of all coloring should be grateful to Prof. Walker, if they still know what gratitude means. Documentary no. 5 is an accurate impression. Yes, a mere 200 baht vote buying is not the cause of un-democratic election; just as the French economic problem at the time being the only one cause of the French revolution is simplistic, if not baloney. [But, world wide Thai politics fans are…………….]

๒. But, world wide Thai politics fans are true to form: video no. 5 is the least viewed! Too many enthusiasts of Thai politics, local and international, are addicted to liars and haters if they aren’t themselves liars or haters, or both. No? Yes, I said it with good reasons. Having watched the presentation of hard facts and made my presumably wise judgement about it, I gleefully went on to check number of eyeballs: it hit the bottom 6,700 compared to the top watched video of 22,200 as at Mar 28, 2011. No surprise, bad stats belongs to it as one might expect. [Hence my reasoning must be………..]

๓. Hence my reasoning must be good. This video is the best one. Once the eyeballs count had approved my mindful judgement, I feel safe and happy to be able to humbly differentiate myself (not to say “distinguish”) from “des vaches qui commencent à penser.” Please excuse my very original French, which is a parody of Voltaire, meaning in Thai – พวกโคกระบือที่เริ่มหัดคิด

Nota Bene: my originality authenticated, because the most powerful search engine in cyberworld at the moment renders “vache qui rit”, “vache qui pisse”, and “vache qui pète”. Therefore “les vaches qui commencent a penser.” is truly mine (up to here and now).

 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โพสต์ต่อไป.....วิจารณ์วีดีโอที่ 6 my next post will criticize video 6.

ปรีชา ยกย่องวีดีโอที่ 6 ว่า “nettement supérieure”? =ยิ่งใหญ่กว่าเสมอ ?
Comment on video no. 6 will follow shortly. It has a cute title in French:
“nettement supérieure”? – ยิ่งใหญ่กว่าเสมอ Please follow, if you enjoy some French.

วันจันทร์ที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

Thailand politics ปรีชา ทิวะหุต ตอบโต้รายการ เมืองไทยวิกฤต -มหาวิทยาลัยออสเตรเลีย Australian National University

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Thailand in Crisis - 1- Andrew Walker
http://youtu.be/2liXe3dIYIA วีดีโอตอน 1 คลิกขวา Open In New Window
Thailand politics ปรีชา ทิวะหุต-ประท้วง วีดีโอตอนที่ 1:

"Watching the video, I desperately chant a sacred mantra so that my next life will again be spent in GINI-ugly Thailand, instead of GINI-beautiful Philippines. Perhaps professor Andrew Walker and Nicholas Farrelly <@ 07:27 > could shade some light on this irrational and insane prayer of mine."

------------------------------------------------------------------------------------


Thailand in Crisis - 2- Andrew Walker
http://youtu.be/G94uSuQxSA0 วีดีโอตอน 2 คลิกขวา Open In New Window
Thailand politics ปรีชา ทิวะหุต-ขัดแย้ง วีดีโอตอนที่ 2:

"Being a French intellectual (philosophe) i.e. M. Bernard-Henri Lévy you can freely favour the use of forces. If I were Prof. Des Ball I would be jealous of M. Bernard-Henri Lévy and the French intellectual class, because they need no excuses in expressing their protesting ideas as at <@ 11:27>. However, the problem is this: if Prof. Des Ball were a French intellectual, which group of protesters of the authority, case in point - Colonel Gadafi & co., would he join: the one in Bengazi or the one in Paris?"

M. Bernard-Henri Lévy on TV5 , Thursday 17 March 2011
http://www.tv5.org/cms/chaine-francophone/Revoir-nos-emissions/L-invite/Episodes/p-15040-Bernard-Henri-Levy.htm
-----------------------------------------------------------------------------------


Thailand in Crisis - 3- Andrew Walker
http://youtu.be/eL-jWO8di44วีดีโอตอนที่ 3 คลิกขวา Open In New Window
Thailand politics ปรีชา ทิวะหุต-งัดข้อ วีดีโอตอนที่ 3:

"To those who appeared in this video, and those who’ve watched it, I dare not keep secret a cool good read about criminal justice in Thailand ;


AN ANALYSIS OF THE RELATIONSHIP BETWEEN THE CRIMINAL JUSTICE EDUCATIONAL PROCESS AND THE ATTITUDE OF THE STUDENTS TOWARD THE RULE OF LAW.
-A Dissertation Presented to the Faculty of the Institute of Contemporary Corrections and the Behavioral Sciences. Sam Houston State University, May, 1979


However, some might need a Ph.D to understand only the title! "

------------------------------------------------------------------------------------


comments on Video 4-5-6 will follow shortly.
ต้องการอัพเดทอัตโนมัติ โปรดทิ้งอีเมลไว้ในกรอบ "โปรดแจ้งที่นี่ ให้ส่งข่าวให้ท่าน ทางอีเมล" อยู่ที่คอลัมน์ขวามือของท่าน ด้านล่างของ ABOUT ME -ขอบคุณครับ

วันพุธที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

French Revolution ปฏิวัติฝรั่งเศส <<-คลิก โหลดทั้งเล่ม ฟรี!

การปฏิวัติสร้างสรรค์สังคมเพียงครั้งเดียวที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์โลก  ส่วนเหตุการณ์อื่น ๆ ภายหลังจากนั้นที่เรียกกันว่า ปฏิวัติ เช่น  การปฏิวัติรัสเซีย  การปฏิวัติจีน  เป็นต้น  เป็นเพียงการเรียกขานที่ทำซ้ำและดัดแปลง  มิใช่งานสร้างสรรค์โดยแท้  หรือเป็นการทำหุ่นจำลองจากการปฏิวัติฝรั่งเศส 

วิธีโหลดทั้งเล่ม 2 ทางเลือก 1)คลิกบนแท็ป "ปฏิวัติฝรั่งเศส-ฟรี!" ด้านบน-ใต้ชื่อบล็อก
แล้วสโครล ลงมาที่โพสต์ เพื่อคลิกโหลด หรือ 2) คลิกเลย ที่ชื่อหัวข้อบนโพสต์นี้ "French Revolution ปฏิวัติฝรั่งเศส" ฟรี!

OBAMA's economics<<--คลิก โหลดฟรีทั้งเล่ม

"มาตรการเศรษฐกิจ" ของประธานาธิบดีโอบามา                
เพื่อฟื้นฟูอเมริกาหลังวิกฤต -เอกสารแปล

  • เป็นหนังสือแสดง “วิธีทำนโยบายเศรษฐกิจ”
  • แม้จะเป็นระดับชาติ แต่ในระดับ อบต.ก็อ่านดูเป็นตัวอย่างคร่าว ๆ ได้
  • เพราะ อบต.บางแห่งในเวลานี้ ก็อับจนนโยบายเพื่อปฏิบัติในเขตตน
  • สร้างถนน ขุดบ่อน้ำ ลอกคลอง ทำหมดแล้ว...
วิธีโหลดทั้งเล่ม 1)คลิกบนแท็ป "มาตรการเศรษฐกิจ OBAMA" ด้านบน-ใต้ชื่อบล็อก
แล้วสโครล ลงมาที่โพสต์ เพื่อคลิกโหลด หรือ 2) คลิกเลย ที่ชื่อหัวข้อบนโพสต์นี้ "OBAMA's economis" ฟรี!

วันอังคารที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ฤาโลกจะทรุด สุนามิถล่มกรุงลิสบอน ปี 1755



ฤๅโลกจะทรุด?
โดย แดง ใบเล่

จำได้ว่าหลังวันคริสต์มาส 2547 มีกิจธุระมาพักอยู่ชานกรุงด้านตะวันออก แถวบางนา ใกล้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหงวิทยาเขตบางนา ช่วงบ่าย ๆ ในล็อบบี้โรงแรมโนโวเตลที่พำนัก เสียงผู้คนพูดกันฮือฮาเรื่องเกิดคลื่นยักษ์ถล่มแถวภูเก็ตและชายฝั่งทะเลอันดามัน คนที่ยังไม่ได้ชมข่าวต่างก็ฟังเรื่องราวจากปากของแขกโรงแรมและพนักงาน คาดเดากันไปต่าง ๆ นานา ไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไรกันแน่ ผู้เขียนซึ่งมีชีวิตปกติไปมาอยู่ทั้งสองฝั่งทะเล โดยที่ฝั่งอ่าวไทยอยู่ห่างจากบ้านประมาณเจ็ดกิโลเมตร ส่วนฝั่งทะเลอันดามันอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 50 กิโลเมตร ที่ฝั่งอันดามันมีบ้านน้าอยู่ตำบลราชกรูด จังหวัดระนอง และบ้านเพื่อนอยู่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

วันเสาร์ที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์-มีสิทธิพัง เปล่า?

คัดจากต้นฉบับหนังสือแปล ชื่อ "พลังงานนิวเคลียร์"
ปรีชา ทิวะหุต  แปลจาก Nuclear Energy Now
http://www.amazon.com/Nuclear-Energy-Now-Worlds-Misunderstood/dp/0470051361

คัดมาบทเดียวจาก บทที่ 5 "ไม่ต้องสวมชุดตะกั่วกันอีกแล้ว-พลังงานนิวเคลีย์ปลอดภัย" ที่เกี่ยวโดยตรงกับอุบัติเหตุนิวเคลียร์

-เพื่อเน้น เรื่องอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ ทรี ไมล์ ไอส์แลนด์ ในสหรัฐอเมริกา กับที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชิร์น โนบิล ในอดีต ประเทศสหภาพโซเวียต

-เพื่อมิตรสหายในเฟสบุค และเพื่อนของบล็อคนี้ บางท่าน ที่ต้องการทำความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ เช่น กรณีโรงไฟฟ้าปรมาณูที่ญี่ปุ่น ระเบิดในขณะนี้

-เพื่อให้บางท่าน ทำความเข้าใจข่าวสารจากสื่อ กรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นระเบิด และเพื่อถ่ายทอด ในแวดวงของตน

-โพสต์คัดจากต้นฉบับแปลของตนเอง ไม่มีตารางที่มีในหนังสือ แต่-คิดว่าน่าจะได้ใจความ 90%
แม้รูปแบบ จะไม่สวยเท่าในหนังสือ


-คัดมาบทเดียว บทที่ 5 "ไม่ต้องสวมชุดตะกั่วกันอีกแล้ว-พลังงานนิวเคลีย์ปลอดภัย" ที่เกี่ยวโดยตรงกับอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ไม่ได้ขออนุญาติสำนักพิมพ์ที่พิมพ์งาน ก็เลยขออนุญาตเดี๋ยวนี้เลย ครับ -ขออภัย

คลิก "อ่านเพิ่มเติม > " เพื่ออ่านบทแปล ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวมประมาณ 40-50 หน้ากระดาษ







สำหรับท่านที่สนใจอ่าน มาจนถึงจุดนี้ มีของแถม ที่ไม่มีในหนังสือ คือ รายการที่สถานีโทรทัศน์อินเดีย สัมภาษณ์ ผู้จัดการใหญ่คนปัจจุบัน ซึ่งเป็นสุภาพสตรี ของบริษัท อะเร-วา อันเป็นกิจการรัฐวิสาหกิจฝรั่งเศส ผู้ผลิตอุปกรณ์ พลังงานนิวเคลียร์ ครบวงจร (ไม่ใช่ เลี้ยงไก่-ครบวงจร ครับ) ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าปรมาณู และเตาปฏิกรณ์ รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย -สัมภาษณ์เป็น ภาษาอังกฤษ ครับ




วันอังคารที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

"ปฏิวัติฝรั่งเศส-เล่าเรื่อง" หนังสือดิจิทัล-โหลดฟรี!

คลิกที่นี่-อ่านตอน 1 ก่อนครับ สนใจ-ค่อยคลิกด้านล่าง โหลดทั้งเล่ม
คลิกที่นี่-โหลดทั้งเล่ม รวม 8 ตอน ฟรี!

ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ทำไมต้องรู้เรื่องปฏิวัติฝรั่งเศสด้วย?
ตอบ 1) จะได้รู้ทางของพวกที่ต้องการใช้ความรุนแรง 2) ทำให้ไปเที่ยวฝรั่งเศสและปารีสสนุกขึ้น 3) เพื่อสามารถลำดับศักราชโลกสมัยใหม่ได้ ไม่เป็นคนเบลอ ๆ ทั้งนี้โดยใช้ปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นจุดทิ้งสมอ

วิธีโหลดทั้งเล่ม อีกทางเลือกหนึ่ง - คลิกบนแท็ป "หน้าปฏิวัติฝรั่งเศส-ฟรี!"ด้านบน -ใต้ชื่อบล็อก แล้วสโครล ลงมาที่โพสต์ เพื่อคลิกโหลด

วันเสาร์ที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ปฏิวัติฝรั่งเศส ตอน 8 ยุคสยองขวัญ

โดย ภูพาเนช มะเด็ง

ความตายของหลุยส์ที่ 16 มารี อังตัวแนต กามีส์ เดส์มูแล็ง ฌัง-ปอล มาราต์ โรเบสปิแยร์ และหลุยส์ที่ 17

คำพูดของ จู เอนไล อดีตผู้นำจีนผู้ล่วงลับไปแล้ว  และเคยเป็นนักเรียนฝรั่งเศส  ที่กล่าวไว้เกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศส  เมื่อประมาณหกสิบหรือเจ็ดสิบปีก่อน  ว่ายังด่วนเกินไปที่จะสรุปเรื่องการปฏิวัติฝรั่งเศส  น่าจะเป็นความจริงในยุคสมัยที่ท่านแสดงความเห็น....

เมื่อเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว 2009 (2552) นี่เอง  องค์กรเอกชนแห่งหนึ่งในฝรั่งเศส  ได้ซื้อเอกสารต้นฉบับ  "Déclaration à tous les Français"  หรือ ถ้อยแถลงต่อชาวฝรั่งเศสทั้งมวล   อันเป็นต้นฉบับลายมือจริงของหลุยส์ที่ 16  จำนวน 16 หน้า  เขียนแถลงความในใจที่ต้องหนีออกจากวังตุลเลอรีส์  โดยองค์กรเอกชนในฝรั่งเศสซื้อจากนักสะสมเอกสารเก่าในสหรัฐอเมริกา  ในราคาหลายล้านยูโร...

ยามที่มีอำนาจล้นฟ้า โรเบสปิแยร์ เริ่มควบคุมความประพฤติตนเองไม่อยู่ และแสดงออกแบบ “ออกนอกตู้”(coming out of the closet) คนที่เป็นกลางชักจะเริ่มสงสัยกันว่า “โรเบสปิแยร์ คุณคิดว่าคุณคือใคร?”


แซงต์-จุสต์ ตายด้วยกิโยตินพร้อมกับโรเบสปิแยร์ เมื่ออายุเพียง 27 ปี ในยุคต้นกรุงเทพฯ ค.ศ.1794 เล่ากันว่า แซงต์-จุสต์ เดินขึ้นแท่นประหารที่ตั้งเครื่องกิโยตินอย่างไม่สะทกสะท้าน เขากวาดสายตา สบตากับฝูงชนที่มาดูเขาตาย

แซงต์-จุสต์ เป็น คู่เกย์ ของโรเบสปิแยร์ ที่เป็นโฮโมเซ็กชวลประเภทอยู่ในตู้ (in the closet)  เราสามารถค้นพบข้อมูลประเด็นนี้ได้ทั่วไปในภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ...
------------------------------------------------------------------------------------------
ความเห็นของ วอลแตร์ เกี่ยวกับชาติยุโรปที่ก่อนนั้น บนหัวมีแต่เขา ต่อมาเริ่มรู้จัก "คิดเป็น"

Mais il n’en est pas ainsi. Plusieurs nations qui longtemps n’ont eu que des cornes, et qui ont ruminé, commencent à penser.
แต่ว่า ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะว่าประเทศชาติหลายต่อหลายชาติ ซึ่งแต่ก่อนบนหัวมีแต่เขา และยืนเคี้ยวเอื้อง มาบัดนี้ พากันรู้จักคิดกันแล้ว  -วอลแตร์
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
....ผู้เขียนจะขอยุติการกล่าวถึงวลี มือสกปรก  กับการอ้างถึงวลีเศรษฐกิจที่ว่า มือที่มองไม่เห็น ไว้แต่เพียงเท่านั้น  เนื่องจากทางตะวันออก  โดยเฉพาะเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยทางปฏิบัติทั่วไปไม่ถือว่าความคิดของ มัคเคียเวลลี เป็นสุดยอดปรัชญาการเมือง  ทางทิศนี้นั้นจะมีตำราการเมืองไว้ใช้เอง  ซึ่งผู้รู้ท่านว่าเมื่อเทียบกันแล้ว เดอะ ปริ๊นซ์ ของมัคเคียเวลลี  น่าจะเป็นเพีหนังสืออ่านประกอบการเรียนการเมืองระดับชั้นประถมเท่านั้น  ตำราการเมืองที่ผู้เขียนกำลังกล่าวถึง  และรู้จักกันแพร่หลายมานานนับพันปี  ในเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ชื่อ   
  


ในที่สุด  ก็สามารถจบข้อเขียนได้ด้วยอักขระเทวะนาครี!  สวัสดีครับ-และขอบคุณที่ท่านติดตามอ่าน  ตลอดจนขอขอบคุณนิตยสารเอ็มบีอี  ที่กรุณาให้โอกาสในการเล่าเรื่อง 

(ท่านสามารถอ่านบทความเนื้อเต็ม โดยคลิกแท็ป "วิจารณ์-บทกวี-หนัง" ด้านบน ใต้ชื่อบล็อค)