"คุณคิดว่า สิทธิเสรีภาพ จะอยู่รอดได้สักกี่น้ำ ถ้าเราเหยียบย่ำทำลาย ความคิดทางศิลธรรมจรรยา และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทิ้งเสียให้หมด?"
-แซมมวล อะดัม Samuel Adams นักปรัชญาการเมืองอเมริกัน ศตวรรษ18

Vive le Roi राजा चिरंजीव

Vive le Roi  राजा चिरंजीव
ทรงพระเจริญ Vive le Roi! ¡Que viva el REY! राजा चिरंजीव

du Contrat social

du Contrat social
แบ่งปัน เพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สัญญาประชาคม


Infos du livre audio - Audiocite.net ฌัง-ฌาค รุซโซ "สัญญาประชาคม" ภาษาฝรั่งเศส

The Prince


Infos du livre audio - Audiocite.net "The Prince" นิโกโล มัคเคียเวลลี ภาษาฝรั่งเศส

วันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓

วิจารณ์บทกวี "อกผายไหล่ผึ่ง" ของ ขรรค์ชัย บุนปาน

โดย เดฟ นาพญา

---------------------------------------------------------------------------------------------------
คำโคลง ที่ถูกวิจารณ์

                     อก ซบอกสั่นสะท้าน สยิวสทก
          ผาย แผ่ผืนแผ่นอก         รับอ้อน
          ไหล่ แบกโลกเข็นครก     เอวคราก
          ผึ่ง แดดผึ่งลมร้อน          เพิ่งรู้ธุรลีเดียว


                               คำโคลง “อกผายใหล่ผึ่ง” ผู้ประพันธ์-คุณขรรย์ชัย บุนปาน
                               ตีพิมพ์ใน นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2552

ถ้าผู้เขียน วิจารณ์เพียงสั้น ๆ ใช้สไตล์ลอกเลียน ท่านศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
“คุณสุจิตต์ วงศ์เทศ” อิงผลงาน มีชื่อของท่าน ประมาณปี 2512 ชื่อ “กูเป็นนิสิตนักศึกษา”

ก็จะสามารถ วิจารณ์เพียงประโยคเดียว ได้ว่า “กูสงสัย ฉิบหายเลย มันเป็นบทกวี ตงไหนวะ?”
หรือวิจารณ์เป็นคำโคลง แบบโคลงเคลง ไม่ได้ดีไปกว่า โคลงที่ถูกวิจารณ์ ดังนี้ ครับ

               กู โคตรกังขานะน้า  ว่ายังงัย
          สง สารตัวเองไป่           บอดเดี้ยง
          สัย ยะเวทอันใด            ชักอ่าน
          ฉิบ หายแน่โอมเพี้ยง    มึงอย่าเขียนอีกนะ

แต่ เนื่องจากเราอยู่ในยุค ที่ไกลจากปี 2512 มานาน ประมาณใกล้จะ 50 ปี หรือครึ่งศตวรรษแล้ว
ก็เลย ต้องเขียนวิจารณ์ เป็นบทความสั้น ๆ ถึง 3 ตอน

ตามลิงก์ ด้านล่าง ครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------
มีอะไรใหม่หรือ?

มีอะไรใหม่เกี่ยวกับการวิจารณ์งานศิลป์?

ในการวิจารณ์คำวิจารณ์ภาพยนตร์ไทยเรื่อง โหมโรง ซึ่งจะได้เสนอในอนาคตนั้น ผู้เขียนได้เชิญชวนท่านผู้อ่านขยายความคำว่า “วิจารณ์” ออกไปอีกเล็กน้อยให้เกินกว่า “การติชม” โดยเสนอว่า แม้แต่การตินั้นก็ดี หากเป็นการวิจารณ์งานศิลป์ ผู้เขียนก็จะพยายามติเพื่อก่อ...หรือถ้าติเพื่อก่อไม่ได้ ก็จะติอย่างขอให้มีความเมตตาปรานีต่อกันและกันทั้งสองฝ่าย หมายความว่า จะติแบบที่คนโดนติ เขาจะยังสามารถแผ่เมตตาให้แก่เราผู้ติได้อยู่ต่อไป ไม่ใช่ประกาศเลิกเผาผีกัน ทั้งนี้เพราะเราได้พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งแปลหยาบ ๆ เป็นภาษาฝรั่งว่ามี compassion มิใช่สักแต่จะ “รู้เขา-รู้เรา” ซึ่งแปลว่าเป็นเรื่องของ game theory หรือยุทธศาสตร์แห่งการได้เสีย อันเป็นคนละเรื่องกันกับ compassion

ที่ตั้งคำถามว่า มีอะไรใหม่ เกี่ยวกับการวิจารณ์งานศิลป์หรือ? นั้นคืออย่างไร? แปลว่า มันต้อง มีอะไรเก่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ล่ะซี? ใช่เปล่า?

ในเมืองไทย ผู้วิจารณ์กับผู้ถูกวิจารณ์ขี้มักจะมีเรื่องกันเสมอ แทบจะกลายเป็นอนิจจังแห่งความสิ้นหวังทางสังคมของงานศิลปะ คู่ที่คลาสสิคที่สุดคู่หนึ่งคงจะไม่พ้นคู่ระหว่างพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ กับ ม.จ.อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เมื่อครั้งพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ วิจารณ์นวนิยายเรื่อง “ละครแห่งชีวิต” ของ ม.จ.อากาศดำเกิง ต่อจากนั้นมา ก็ยังมีอีกหลายคู่หลายกรณี เรื่อยมาจนถึงยุควิจารณ์กันแหลกใกล้เหตุการณ์ตุลาคมอันโด่งดัง เรื่อยมาจนกระทั่งถึงกรณีของนักเขียนผู้มีชื่อเสียงและมีผลงานมากมายอย่าง“เจ๊ทม” ผู้เขียนจะขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อจริงนามสกุลจริงของเธอ เพราะไม่อยากจะเปลืองตัว โปรดอย่าถามเค้นเอาคำตอบว่า เธอคือใคร?

-โปรดติดตามอ่านบทความเนื้อเต็มในนิตยสาร MBA ฉบับพฤษภาคม 2553

หรือ คลิกอ่านเต็มบท ที่นี่ครับ
คลิกอ่านตอน ๑ ทั้งหมด
คลิกอ่านตอน ๒ ทั้งหมด
คลิกอ่านตอน ๓ ทั้งหมด

หรือ คลิกโหลดรวมทุกตอน ๑-๒-๓
https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=explorer&chrome=true&srcid=0B1pqd2WJcbO3NjQ2OWMzYjYtN2ZhOC00YTBlLTk0ZWItODI4NDMwNTIzMzdh&hl=th
&hl=th